การพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษาของผู้ให้คำปรึกษาโดยใช้กระบวนการสะท้อนคิด ในรายวิชาการสื่อสาร การสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษาของผู้ให้คำปรึกษาโดยใช้กระบวนการสะท้อนคิดของกิ๊บส์ ในรายวิชาการสื่อสาร การสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ปีที่ 2 จำนวน 100 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามผลการพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .96 แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกการสะท้อนคิดหลังการฝึกทักษะให้คำปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้กระบวนการตีความเพื่อการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีทักษะการให้คำปรึกษาหลังจากการใช้กระบวนการสะท้อนคิด อยู่ในระดับมาก (M = 3.86, SD = .11) โดยทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะพฤติกรรมใส่ใจ (M = 4.11, SD = .04) และต่ำที่สุดคือ ทักษะการเงียบ (M = 3.50, SD = .01) ขั้นตอนการให้คำปรึกษาที่ได้รับการพัฒนามากที่สุดคือ ขั้นตอนการวางแผนและแก้ไขปัญหา (M = 3.95, SD = .19) และน้อยที่สุดในขั้นการสร้างสัมพันธภาพและตกลงบริการ (M = 3.69, SD = .35) ผลการสนทนากลุ่มพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับการพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษาในด้านพฤติกรรมการใส่ใจ ทักษะการฟัง และทักษะการถาม ตามลำดับผลการวิจัยนี้ แสดงถึงประโยชน์ของการนำกระบวนการสะท้อนคิด มาใช้ในการพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษาให้มีประสิทธิภาพต่อไป
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
ขวัญธิดา พิมพการ, สุนทรี ภานุทัต, พรภิรมย์ หลงทรัพย์, เฉลิมศรี นันทวรรณ, และสุวิมล พนาวัฒนกุล. (2560). การให้คําปรึกษาทางสุขภาพรายบุคคลแบบบูรณาการ. วารสารสุขศึกษา, 40(2), 1-9.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุจเดือน เขียวเหลือง, วารีรัตน์ แก้วอุไร, พูลสุข หิงคานนท์, และสายฝน วิบูลรังสรรค์. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(4), 9-21.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.
ปิยาณี ณ นคร, ดนุลดา จามจุรี, ดรุณี ชุนหะวัต, และมนัส บุณประกอบ. (2560). คิดอย่างมีวิจารณญาณในนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 22(2), 206-221.
มัลลวีร์ อดุลวัฒนศิริ (2554). เทคนิคการให้คำปรึกษา: การนำไปใช้. ขอนแก่น: คลังนานา.
รัตติกร เหมือนนาดอน, ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล, และสันติ ยุทธยง. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 13-25.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. (2560). มคอ.2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560). อุดรธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี.
วีรติ พงษ์ทิพย์พัฒน์. (2553.) ความรู้เกี่ยวกับการให้การปรึกษา. อุดรธานี: ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์.
อรัญญา บุญธรรม, โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ, ธันยาพร บัวเหลือง, เชษฐา แก้วพรม, และคมวัฒน์ รุ่งเรือง.(2558). การพัฒนาพฤติกรรมสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 32(3), 244-255.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2553). การให้คำปรึกษาทางสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Burleson, B. R. (2011). A constructivist approach to listening. International Journal of Listening, 25(1-2), 27-46.
Gibbs, G. (1988). Learning by doing: A guide to teaching and learning methods. Oxford, FE: Unit Oxford Polytechnic.
Janusik, L. A. (2002). Teaching listening: What do we do? What should we do?. International Journal of Listening, 16(1), 5-39.
Ozdemir, G., & Kaya, H. (2013). Midwifery and nursing students’ communication skills and life orientation: Correlation with stress coping approaches. Nursing and Midwifery Studies, 2(2), 198-205.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2008). Nursing research: Generating and assign evidence for nursing practice (8th ed). Philadelphia: Lippincott.
Tsang, A. K. L. (2011). In-class reflective group discussion as a strategy for the development of students as evolving professionals. International Journal for the Scholarship of Teaching and Learning, 5(1), 1-20.
Wolvin, A. D., & Cohen, S. D. (2012). An inventory of listening competency dimensions. International Journal of Listening, 26(2), 64-66.