การศึกษาความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยต้อกระจก โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยอง

Main Article Content

วงเดือน ธรรมสุนทร

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยต้อกระจก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อกระจกและได้รับการนัดผ่าตัดต้อกระจกแบบผู้ป่วยใน ด้วยวิธีการระงับความรู้สึกเฉพาะที่และได้รับการเยี่ยมก่อนผ่าตัด จำนวน 56 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยต้อกระจก มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดโดยรวม อยู่ในระดับมาก (M = 2.72, SD = .59) โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ รายละเอียดของโรคที่เป็น (M = 2.79, SD = .45) รองลงมาคือ ด้านรายละเอียดเกี่ยวกับการผ่าตัด (M = 2.78, SD = .52) และต่ำสุดในด้านข้อมูลชื่อแพทย์และพยาบาลผู้ให้การดูแล (M = 2.62, SD = .56)


          จากผลการวิจัยข้างต้น หน่วยงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัดสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และข้อมูลที่เหมาะสมกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก แบบการมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยและญาติต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร อริยภูวงศ์, ศุภพร ไพรอุดม, และทานตะวัน สลีวงศ์. (2562). ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(3), 17-30.

กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยอง. (2562). รายงานการผ่าตัดต้อกระจกในโครงการพิเศษ. ระยอง: โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยอง.

ชุลีพร วชิรธนากร, และปุณยนุช จุลนวล. (2560). ความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูลของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดทางนรีเวช. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(4), 51-59.

ดวงดาว อรัญวาสน์, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์,เทพกร สาธิตการมณี, และกชกร พลาชีวะ. (2555). ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวล ของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนาวรรณ ศรีกุลวงศ์. (2556). ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกในผู้ใหญ่ (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยู แอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

พรชัย ดีไพศาลสกุล. (2557). ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาล. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(1), 573-592.

สายสวาท ปาจินะ. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลและความต้องการข้อมูลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.

สุภาพรรณ นิตยสุภาภรณ์, นภาพร แก้วนิมิตชัย, และรัชนี นามจันทรา. (2557). ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดกับความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก , 25(1), 2-15.

เอื้องพร พิทักษ์สังข์, จุฑาไล ตัณฑเทิดธรรม, สุกัญญา ศุภฤกษ์, และอรทัย วรานุกูลศักดิ์. (2554). การศึกษาความวิตกกังวลความเครียดและความต้องการข้อมูลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดทางตาแบบผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลศิริราช, 4(1), 35-42.

Bailey, L. (2010). Strategies for decreasing patient anxiety in the perioperative setting. Association of Perioperative Registered Nurses, 92(4), 445-460.

Bourne, R. R. A., Flaxman, S. R., Braithwaite, T., Cicinelli, M. V., Das, A., Jonas, J. B.,…Vision loss Expert Group. (2017). Magnitude, temporal trends, and projections of the global prevalence of blindness and distance and near vision impairment: A systematic review and meta-analysis. Lancet Global Health, 5(9), 888–897.

Jlala, H. A., French, J. L., Foxall, G. L., Hardman, J. G., & Bedforth, N. M. (2010). Effect of preoperative multimedia information on perioperative anxiety in patients undergoing procedures under regional anesthesia. British Journal of Anesthesia, 104(3), 369- 374.

Khairallah, M., Kahloun, R., Bourne, R., Limburg, H., Flaxman, S. R., Jonas, J. B.,…Vision Loss Expert Group. (2015). Number of people blind or visually impaired by cataract worldwide and in world regions, 1990 to 2010. Investigative Ophthalmology & Visual Science, 56(11), 6762–6769.

Khan, F., & Nazir, S. (2007). Assessment of preoperative anxiety in patients for elective surgery. Journal of Anesthesiology Clinical Pharmacology, 23(3), 259-262.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activity. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Lazarus, R. S., & Cohen, F. (1983). Coping and adaptation in health and illness. In D. Mechanic (Ed.), Handbook of health and health services (pp. 608–628). New York, NY: Free Press.

Pritchard, M. J. (2011). Using targeted information to meet the needs of surgical patients. Nursing Standard, 25(51), 35-39.

Rao, G. N., Khanna, R., & Payal, A. (2011). The global burden of cataract. Current Opinion in Ophthalmology, 22(1), 4-9.

World Health Organization. (2013). Universal eye health: A global action plan 2014-2019. Geneva, Switzerland: World Health Organization.