ผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

สถาพร แถวจันทึก

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี รุ่นที่ 18 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 10 ขั้นตอน แบบบันทึกการใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ.2560 โดยใช้การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และศึกษาจากรายงานการใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการจัดการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 10 ขั้นตอน ผู้เข้ารับการอบรมฯ มีการเปลี่ยนโลกทัศน์ตนเองในด้านการพยาบาลและในชีวิตประจำวัน โดยใส่ใจต่อความต้องการของผู้รับบริการมากขึ้น เกิดแนวคิดเชิงนวัตกรรมในการดูแลผู้รับบริการ และสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยวิธีการใหม่ที่แตกต่างจากเดิม


          ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ควรมีการส่งเสริมและบูรณาการการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในหลักสูตรอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง ทำการศึกษาวิจัย และติดตามการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงวิชาชีพต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรฤดี นิธิรัตน์, ดาราวรรณ รองเมือง, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, ศรีสกุล เฉียบแหลม, และจันทร์เพ็ญ อามพัฒน์. (2561). การพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสู่การเป็นนักจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 21-30.

ยงยุทธ พงษ์สุภาพ. (2557). การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สถาพร แถวจันทึก, ธานี กล่อมใจ, จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, ธัญพร ชื่นกลิ่น, และสุทธดา บัวจีน. (2559). สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพิ่มคุณภาพการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ เครือข่ายจังหวัดเพชรบุรี–ประจวบ (เอกสารอัดสำเนา). เพชรบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.

ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2556). นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2559). กลไกสมองกับการเรียนรู้. ใน วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กลไกสมองกับการเรียนรู้: Learning how to learn. เพชรบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.

องค์อร ประจันเขตต์. (2557). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: มุมมองในการศึกษาทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 179-184.

Bandura, A. (2004). Health promotion by social cognitive means. Health Education & Behavior, 31(2), 143-164.

Bass, J., Fenwick, J., & Sidebotham, M. (2017). Development of a model of holistic reflection to facilitate transformative learning in student midwives. Women Birth, 30(3), 227-235.

Christen, E., & Petra, B. (2017). A hands-on guide to doing content analysis. African Journal of Emergency Medicine, 7(3), 93-99.

Epstein, R. M., Siegel, D. J., & Silberman, J. (2008). Self-monitoring in clinical practice: A challenge for medical educators. Journal of Continuing Education in the Health Professions, 28(1), 5-13.

Fletcher, K. A., & Meyer, M. (2016). Coaching model + clinical playbook = transformative learning. Journal of Professional Nursing, 32(2), 121-129.

Knaak, S., Karpa, J., Robinson, R. & Bradley, L. (2016). They are us-We are them: Transformative learning through nursing education leadership. Healthcare Management Forum, 29(3), 116-120.

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. California: Sage Publications.

McAllister, M., Venturato, L., Johnston, A., Rowe, J., Tower, M., & Moyle, W. (2006). Solution focused teaching: A transformative approach to teaching nursing. International Journal of Nursing Education Scholarship, 3(1), 1-16.

Mezirow, J. (2000). Learning as transformation: Critical perspectives on a theory in progress. San Francisco: Jossey Bass.

Peterson, B. L. (2017). Thematic analysis/interpretive thematic analysis. In J. Matthes, C.S. Davis, & R. F. Potter (Eds.), The international encyclopedia of communication research methods (pp. 1-9.). New Jersey: John Wiley & Sons.

Purtzer, M. A., & Overstreet, L. (2014). Transformative learning theory: Facilitating mammography screening in rural women. Oncology Nursing Forum, 41(2), 176-184.

Siegel, D. J. (2007). Mindfulness training and neural integration: Differentiation of distinct streams of awareness and the cultivation of well-being. Social Cognitive and Affective Neuroscience, 2(4), 259-263.

Smith-Miller, C. A., & Thompson, C. (2013). Transformative learning and graduate nurses' understanding of the complexities of diabetes self-management. Journal for Nurses in Professional Development, 29(6), 325-332. doi: 10.1097/NND.0b013e31829e6dbc

Springfield, E. C., Smiler, A. P., & Gwozdek, A. E. (2015). Measuring curricular impact on dental hygiene students' transformative learning. Journal of dental education, 79(12), 1418-1428.

Wittich, C. M., Reed, D. A., McDonald, F. S., Varkey, P., & Beckman, T. J. (2010). Perspective: Transformative learning: A framework using critical reflection to link the improvement competencies in graduate medical education. Journal of the Association of American Medical Colleges, 85(11), 1790-1793. doi: 10.1097/ACM.0b013e3181f54eed.

World Health Organization. (2010). Monitoring the building blocks of health systems: A handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: World Health Organization. Retrieved from https://www.who.int/healthinfo/systems/WHO_MBHSS _2010_full_web.pdf?ua=1

Zanchetta, M. S., Bailey, A., Kolisnyk, O., Baku, L., Schwind, J., Osino, E., . . . Yu, L. (2017). Mentors' and mentees' intellectual-partnership through the lens of the transformative learning theory. Nurse Education in Practice, 25, 111-120. doi: 10.1016/j.nepr.2017.05.009.