รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในโรงพยาบาลสงขลา

Main Article Content

ฐิติมา ปลื้มใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง และ 3) ศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบการบริหารจัดการฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองจากหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสงขลา จำนวน 12 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพบริการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการคุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง คือ โครงสร้างและการบริหารจัดการไม่ชัดเจน บุคลากรมีความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองไม่เพียงพอ ขาดการกำกับ นิเทศการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีข้อจำกัดด้านภาระงานและการประสานการส่งต่อ

  2. รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล “SK-PCN-CARE Model” ประกอบด้วย โครงสร้างกระชับ ผลลัพธ์ต้องกำหนด ถือกฎมาตรฐาน ผสานแนวทางปฏิบัติ พัฒนาทักษะและความรู้ ดูแลแบบองค์รวม ร่วมเรียนรู้จากการปฏิบัติ จัดการตรวจสอบทบทวน ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีแนวทางสื่อสาร ทำงานเป็นทีมและเครือข่าย มอบหมายการนิเทศหน้างาน ทำการวางแผนการดูแล แชร์ทรัพยากร สร้างสัมพันธ์ ร่วมกันประเมินผลและพัฒนาคุณภาพ

  3. พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่สามารถบูรณาการให้เข้ากับบริการพยาบาลที่ง่ายต่อการปฏิบัติ มีความรู้เพิ่มขึ้นคู่กับการปฏิบัติ ดูแลผู้ป่วยองค์รวม เพิ่มคุณค่าในตนเองและวิชาชีพ หน่วยงานมีคุณภาพบริการพยาบาลในภาพรวม อยู่ในระดับดีและดีมาก รวมทั้งผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการพยาบาลระยะท้ายแบบประคับประคองในระดับมาก (M = 4.21, SD = .53)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จอนผะจง เพ็งจาด. (2557). บทบาทพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(1), 100-107.

ชุติกาญจน์ หฤทัย, อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, และโศภิษฐ์ สุวรรณเกศาวงษ์ (บ.ก.). (2559). ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. นนทบุรี: สื่อตะวัน.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์, พิมลรัตน์ พิมพ์ดี, ศศิพินทุ์ มงคลไชย, พวงพยอม จุลพันธ์, และยุพยงค์ พุฒธรรม. (2556). การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(2), 80-90.

ประชุมสุข โคตรพันธ์, อังศุมาลิน โคตรสมบัติและ สุพัตรา บัวที. (2557). การพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายผู้ดูแลรายกรณีในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จังหวัดยโสธร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(3), 102-108.

พิกุล นันทชัยพันธ์, และประทุม สร้อยวงค์. (2558). แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก: การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยผู้ใหญ่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สภาการพยาบาลและสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ.

ละเอียด แจ่มจันทร์, และ สายสมร เฉลยกิตติ. (2560). แนวโน้มการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 22-28.

วินัย สวัสดิวร. (2558). เครือข่ายดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารก้าวใหม่หลักประกันสุขภาพ, 8(30), 1-2.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49.

ศศิวิมล ปานุราช, เยาวรัตน์ มัชฌิม, และบวรลักษณ์ ทองทวี. (2561). ความรู้ในการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลในพื้นที่เครือข่ายสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขตบริการที่ 4 และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. ใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, การประชุมวิชาการระดับชาติ มศว วิจัยครั้งที่ 11 (น. 1070-1082). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริเพ็ญ ชั้นประเสริฐ, ทัศนีย์ เชื่อมทอง, และสุปรานี ศรีพลาวงษ์. (2559). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคองกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(4), 326-339.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).

สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, อุไรพร จันทะอุ่มเม้า, พัชรีย์ กลัดจอมพงษ์, และชัชนน เทพวงค์ (บ.ก.). (2562). แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: สื่อตะวัน.

สมจิตร ประภากร, ศิริพร สวยพริ้ง, อัญชลี สุขขัง, ศุภรักษ์ มั่นน้อย, วราภรณ์ พันธุ์อร่าม, และสุจิรา ฟุ้งเฟื่อง. (2558). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ. วารสารกองการพยาบาล, 42(3), 50-66.

สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2554). เครื่องมือประเมินคุณภาพการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: สามเจริญ.

สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดำเนินงานตามประเด็นหลักการพัฒนาการพยาบาลภาพรวมประเทศ ปีงบประมาณ 2558. สืบค้นจาก https://www.nursing.go.th/ Meeting_documents/2014-12-11/scan109.pdf

สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. กรุงเทพฯ : สื่อตะวัน.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2557). แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ.2556-2559 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามดี พริ้นติ้งอีควิปเมนท์.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สามเจริญ.

อัมภา ศรารัชต์. (2557). คุณภาพและการรับรองคุณภาพการพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล, 41(1), 1-6.

อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. (2556). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ใน สมาคมพยาบาลโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย, การประชุมฟื้นฟูวิชาการ วิทยาการก้าวหน้าในการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลกรุงเทพ.

Ayed, A., Sayej, S, Harazneh, L., Fashafsheh, I., & Eqtait, F. (2015). The nurses' knowledge and attitudes towards the palliative care. .Journal of Education and Practice, 6(4), 91-99.

Cooper, J., & Hewison, A. (2002). Implementing audit in palliative care: An action research approach. Journal of Advanced Nursing, 39(4), 360–369.

Dobrina, R., Tenze, M, & Palese, A. (2014). An overview of hospice and palliative care nursing models and theories. International Journal of Palliative Nursing, 20(2), 75-81.

Hagan, T. L., Xu, J., Lopez, R. P., & Bressler, T. (2017). Nursing’s role in leading palliative care: A call to action. Nurse Education Today, 61, 216-219.

Mororo, D. D. S., Enders, B. C., Lira, A. L. B. C., Silva, C. M. B., & Menezes, R. M. P. (2017). Concept analysis of nursing care management in the hospital context. Acta Paulista de Enfermagem, 30(3), 323-332.

Okaisu, E.M. (2014). Improving the quality of nursing documentation: An action research project. Curationis, 37(2), e1-11. doi: 10.4102/curationis.v37i2.1251.

Prem, V., Karvannan, H., Kumar, S. P., Karthikbabu, S., Syed, N., Sisodia, V., & Jaykumar, S. (2012). Study of nurses’ knowledge about palliative care: A quantitative cross-sectional survey. Indian Journal of Palliative Care, 18(2), 122–127.

Ramsbottom, K., & Kelley, M. L. (2014). Developing strategies to improve advance care planning in long term care homes: Giving voice to residents and their family members. International Journal of Palliative Care, 1-8. doi: 10.1155/2014/358457 2014.

Sekse, R. J. T., Hunskår, I., & Ellingsen, S. (2017). The nurse's role in palliative care: A qualitative meta-synthesis. Journal of Clinical Nursing, 17(1-2), 21-38.

Sierko, E., Werpachowska, M. T., Sokół, M., & Wojtukiewicz, M. Z. (2011). Quality of nursing care of colorectal cancer patients undergoing first line palliative chemotherapy- A questionnaire study in a single institution in Poland. Advances in Palliative Medicine, 10(2), 65-72.

Stewart, K., Doody, O., Bailey, M., & Moran, S. (2017). Improving the quality of nursing documentation in a palliative care setting: A quality improvement initiative. International Journal of Palliative Nursing, 23(12), 577-585.

World Health Organization. (2016). Planning and implementing palliative care services: A guide for programme managers. Geneva: World Health Organization. Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/250584/9789241565417-eng.pdf.