การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันจากยากลุ่ม Aminoglycosides ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีจุดประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบซึ่งเป็นการติดเชื้อของผิวหนังชั้นตื้น ภายหลังจากการรักษาภาวะกระดูกข้อมือซ้ายหักและได้รับการผ่าตัดใส่เหล็ก ส่งเพาะเชื้อหนองจากแผลพบเชื้อ Staphylococcus epidermidis ซึ่งตอบสนองดีต่อยาเจนตาไมซิน ซึ่งเป็นยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ หลังได้รับยาประมาณ 1 สัปดาห์ ตรวจพบภาวะแทรกซ้อนไตวายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นพยาธิสภาพที่มีสาเหตุนอกไต ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตไม่เพียงพอ อัตราการกรองของไตลดลง ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที และได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตั้งแต่วันที่ 20 - 27 ธันวาคม พ.ศ.2562 จำนวน 4 ครั้ง
ผลการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับการรักษาของแพทย์ เป็นสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยทั้งในระยะก่อน ระหว่างและหลังฟอกเลือด การประเมินผู้ป่วยตาม 11 แบบแผนทางด้านสุขภาพของกอร์ดอน และให้การพยาบาลแบบองค์รวม จนผู้ป่วยได้รับการดูแล พ้นภาวะวิกฤต ไตฟื้น ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ ตลอดจนให้คำแนะนำในการป้องกัน ดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมในอนาคต
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
พรศิริ พันธสี. (2558). กระบวนการพยาบาลและแบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.
ธนันดา ตระการวนิช, และสาธิต คูระทอง. (2559). Acute complications of Hemodialysis. ใน พงศธร คชเสนี, ขจร ตีรณธนากุล, ทวี ชาญชัยรุจิรา, ธนันดา ตระการวนิช, ทวีพงษ์ ปาจรีย์, และเกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์ (บ.ก.), Essentials in hemodialysis (หน้า 218-252). กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นอล พับลิเคชัน.
บัญชา สถิรพจน์. (2551). Acute complications during hemodialysis. ใน ธนิต จิรนันท์ธวัช, สิริภา
ช้างศิริกุลชัย, ธนันดา ตระการวานิช, และวสันต์ สุเมธกุล (บ.ก.), New frontiers in dialysis (หน้า 119-142). กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอนอล พับลิเคชั่น.
วิศิษฐ์ แก้วพุด. (2561). Catheter access for hemodialysis. ใน บัญชา สถิระพจน์, อำนาจ ชัยประเสริฐ, เนาวนิตย์ นาทา, และอุปถัมภ์ ศุภสินธุ์ (บ.ก.), Manual of dialysis (หน้า 76-89). กรุงเทพฯ : โครงการตำราอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า.
สร้อยสะอาง สร้างสมวงษ์. (2559). Nursing Issue in acute hemodialysis complications. ใน พงศธร คชเสนี, ขจร ตีรณธนากุล, ทวี ชาญชัยรุจิรา, ธนันดา ตระการวนิช, ทวีพงษ์ ปาจรีย์, และเกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์ (บ.ก.), Essentials in hemodialysis (หน้า 256-283). กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นอล พับลิเคชัน.
อุปถัมภ์ ศุภสินธ์. (2561). Acute kidney injury. ใน บัญชา สถิระพจน์, อำนาจ ชัยประเสริฐ, เนาวนิตย์ นาทา, และอุปถัมภ์ ศุภสินธุ์ (บ.ก.), Manual of dialysis (หน้า 11-16). กรุงเทพฯ: โครงการตำราอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า.
Chen, L. F., & Kaye, D. (2009). Current use for old antibacterial agents: Polymyxins, rifamycins, and aminoglycosides. Infectious Disease Clinics of North America, 23(4), 1053-1075.
Hulse, C., & Davies, A. (2015) Acute kidney injury: Prevention and recognition. Nursing Times; 111(30/31), 12-15.
Lopez-Novoa, J. M., Quiros, Y., Vicente, L., Morales, A. I., Lopez-Hernandez, F. J. (2011). New insights into the mechanism of aminoglycoside nephrotoxicity: An integrative point of view. Kidney International, 79(1), 33-45.