ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการบันทึกสัญญาณเตือนภาวะวิกฤติในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ยุพดี ธัมมิกะกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการบันทึกสัญญาณเตือนภาวะวิกฤติในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลท่ายาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 30 ราย และกลุ่มทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ จำนวน 30 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยใน จำนวน 24 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลการบันทึกสัญญาณเตือนภาวะวิกฤติในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด  แบบบันทึกสัญญาณเตือนภาวะวิกฤติ และแบบสอบถามความเป็นไปได้และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดในกลุ่มทดลองหลังจากใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด มีภาวะอวัยวะล้มเหลวลดลง และไม่พบการเสียชีวิต ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มควบคุมก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. พยาบาลวิชาชีพมีความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ (M = 3.79, SD = .33) และความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ (M = 3.73, SD = .38) อยู่ในระดับมาก

          ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการบันทึกสัญญาณเตือนภาวะวิกฤติในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในการป้องกันก่อนการเกิดอันตรายได้ดี สามารถรายงานแพทย์และให้การรักษาได้ทันท่วงที เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา สิริแสน. (2558). ประสิทธิผลของการใช้ระบบสัญญาณเตือนในการพยาบาลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.

กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลเวชสถิติ โรงพยาบาลท่ายาง. (2562). รายงานสถิติผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ปีงบประมาณ 2562. เพชรบุรี: โรงพยาบาลท่ายาง.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ไกรศร จันทร์นฤมิตร, อรพรรณ โตสิงห์, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, และทิพา ต่อสกุลแก้ว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา อายุ โรคร่วมกับผลลัพธ์การจำหน่ายออกจากห้องฉุกเฉิน ในผู้ป่วยฉุกเฉินผู้ใหญ่. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 123-132.

ฑิตยา วาระนัง. (2562). ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร, 11(1), 1-8.

ดาวเรือง บุญจันทร์, และเปรมฤทัย น้อยหมื่นไทย. (2557). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. พุทธชินราชเวชสาร, 31(3), 385-395.

มนตรี สังข์ทอง. (2014). ความแกร่งและอำนาจการทดสอบของสถิติอิงพารามิเตอร์ และสถิติไม่อิงพารามิเตอร์ ในการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางระหว่างประชากรสองกลุ่มสำหรับข้อมูล แบบลิเคิร์ท 5 ระดับ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(5), 605-619.

มัณฑนา จิระกังวาน, ชลิดา จันเทพา, และเพ็ญนภา บุบผา. (2258). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Severe sepsis) ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล, 42(3), 9-33.

รัฐภูมิ ชามพูนท, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, และบุญส่ง พัจนสุนทร (บ.ก.). (2558). การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock (ฉบับร่าง) แนวทางเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชบำบัดวิกฤต.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้าม. (2559). ผลของการใช้แนวทางการประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตต่อการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตโดยไม่ได้วางแผนและอัตราการเสียชีวิตในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 1(1), 1-12.

ศิรดา ทวีวัน. (2561). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 26(3), 153 -163.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center: HDC). สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th

สาคร เสริญไธสง. (2562). ผลของการใช้ระบบ Modified Early Warning Scores (MEWS) ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลบ้านผือ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 27(2), 223-230.

สุภาภรณ์ บุณโยทยาน, ฉวีวรรณ ธงชัย, และมยุลี สำราญญาติ (2554). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวด ในผู้ป่วยวิกฤตหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม. วารสารสภาการพยาบาล, 26(4), 82-95.

AL-Jubori, R. H. K., Hindi, N. K. K., Shaker, A. S., DawoodJadah, S., Karim, Z. A., Gleidan, Z. A., & MalihRadhi, M. (2019). Prevalence of septicemia among under five years children during the last 5 years ago in Hilla city. Indian Journal of Public Health Research & Development, 10(4), 649-652.

Burch, V. C., Tarr, G., & Morroni, C. (2008). Modified early warning score predicts the need for hospital admission and in hospital mortality. Emergency Medicine Journal, 25(10), 674-678.

Cei, M., Bartolomei. C., & Mumoli N., (2009). In-hospital mortality and morbidity of elderly medical patients can be predicted at admission by the Modified Early Warning Score: A prospective study. International Journal of Clinical Practice, 63(4), 591- 600.

Çıldır, E., Bulut, M., Akalın, H., Kocabaş, E., Ocakoğlu, G., & Aydın, Ş. A. (2013). Evaluation of the modified MEDS, MEWS score and Charlson comorbidity index in patients with community acquired sepsis in the emergency department. Internal and Emergency Medicine, 8(3), 255-260.

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic Press.

Dallinger, R. P., Levy, M. M., Rhodes, A., Annane, D., Gerlach, H., Opal, S. M., . . . Moreno, R. (2013). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2012. Critical Care Medicine, 41(2), 580-637.

Baines, E., & Kanagasundaram, N. S. (2008). Early warning scores. British Medical Journal, 16(7), 294-336.

Kleinpell, R. M., Schorr, C.A., & Balk, R. A. (2016).The new sepsis definitions: Implications for critical care practitioners. American Journal of Critical Care, 25(5), 457-464.

Kleinpell, R., Blot, S., Boulanger, C., Fulbrook, P., & Blackwood, B. (2019). International critical care nursing considerations and quality indicators for the 2017 surviving sepsis campaign guidelines. Intensive care medicine, 45(11), 1663-1666.

National Health and Medical Research Council (NHMRC). (1999). A guideline to the development, implementation and evaluation of clinical practice. Retrieved from https://www.ausinfo.gov.au.

Titler, M. G., Kleiber, C., Steelman, V. J., Rakel, B. A., Budreau, G., Everett, L. Q., . . . Goode, C. L. (2001). The Iowa model of evidence-based practice to promote quality care. Critical Care Nursing Clinics of North America, 13(4), 497-509.

World Health Organization. (2017). Seventieth World Health Assembly Update, 26 May 2017. Retrieved from https://www.who.int/news-room/detail/26-05-2017-seventieth-world-health-assembly-update-26-may-2017/