ทำนายความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก: การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

Main Article Content

พวงเพ็ญ พัวพันธ์พงษ์

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและทำนายความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกของแผนกวิสัญญี โรงพยาบาลมะการักษ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2561 จำนวน 371 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกการพยาบาลวิสัญญีและแบบบันทึกการพยาบาลห้องพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกภายใน 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้


1. ปัจจัยที่มีผลต่อความเจ็บปวดของผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก ได้แก่ ความเสี่ยงต่อการได้รับการระงับความรู้สึก พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่ 2 หรือผู้ป่วยมีพยาธิสภาพของร่างกายเล็กน้อย จำนวน 194 ราย (ร้อยละ 52.30) และมีความเจ็บปวดส่วนใหญ่คือระดับ 0 จำนวน 121 ราย (ร้อยละ 32.60) อายุเฉลี่ย 42.91 ปี (SD = 17.73) น้ำหนักเฉลี่ย 61.02 กิโลกรัม (SD = 14.11) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบน 131.11 มิลลิเมตรปรอท (SD = 17.25) ความดันโลหิตตัวล่างเท่ากับ 75.69 มิลลิเมตรปรอท (SD = 11.97) เวลาที่มีความปวดมากที่สุดเฉลี่ยนาทีที่ 36.45 (SD = 22.59) ระยะเวลาในการได้รับการระงับความรู้สึกเฉลี่ย 116.19 นาที (SD = 57.55) พฤติกรรม/อาการหลังการผ่าตัด ได้แก่ การยกแขนขาได้ ค่าเฉลี่ย 1.95 (SD = .29) การหายใจ ค่าเฉลี่ย 1.99 (SD =  .09) การไหลเวียนของเลือด ค่าเฉลี่ย 2.00 (SD = .05) การรู้สึกตัว ค่าเฉลี่ย 1.20 (SD = .41) ปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด ค่าเฉลี่ย 1.96 (SD = .19) และมีค่าเฉลี่ยของระดับความปวดของผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก 3.79 (SD = 3.46)


2. ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความเจ็บปวดได้ ร้อยละ 10 โดยเวลาที่เจ็บปวดมากที่สุด (Minute) มีอำนาจการทำนายสูงสุด รองลงมาคือ การรู้สึกตัว (Consciousness) การยกแขนขาได้ (Activity) และระยะเวลาในการได้รับการระงับความรู้สึก (Timetotal) (Beta = .190, .148, .145, .138, p < .01) และมีสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Pain = .190ZMinute + .148ZConsciousness + .145ZActivity + .138ZTimetotal อย่างไรก็ตาม ในการทำนายความเจ็บปวดหลังผ่าตัดนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา สำเร็จ, ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล, ทิพยวรรณ มุกนำพร, ธิรดา จิ่มอาษา, จันทร์จิราภรณ์ บำรุง, วราภรณ์ เชื้ออินทร์, และสมบูรณ์ เทียนทอง. (2554). การศึกษาอุบัติการณ์ความเสี่ยงรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่าง ปี 2547-2551. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(3), 183-190.

ปิยมาศ สิริวรารมย์. (2546). การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. ใน วิชัย อิทธิชัยกุลฑล, และปวีณา บุญบูรพงศ์(บ.ก.), ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย (น. 275-285). กรุงเทพฯ: ทองพูลการพิมพ์.

พรทิพย์ ศุภมณี, วิไลพรรณ สมบุญตนนท์, อุมาพร ลัฐฐิกาวิบูลย์, และกิติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์. (2553). ประสิทธิผลของการเยี่ยมเพื่อให้ความรู้ก่อนผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวชกรรม โรงพยาบาลศิริราช. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(1), 47-57.

เพิ่มเพ็ญ น้อยตุ่น, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, ฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์, และศิริลักษณ์ แก้วศรีวงค์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายระยะ 72 โมงแรก หลังผ่าตัดใหญ่ช่องท้อง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(3), 269-283.

ยุพาวดี ขันทบัลลัง, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, และกิตติกร นิลมานัต. (2550). ความรุนแรงความปวดตามการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. สงขลานครินทร์เวชสาร, 25(6), 491-499.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย, และสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย.

ลลิดา อาชานุภาพ, และรุ้งจิต เติมศิริชัยกุล. (2552). การประเมินความปวดและพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15(3), 315-326.

วรณัน ประสารอธิคม, ธันย์ สุภัทรพันธ์, และหทัยกร กิตติมานนท์. (2558). การวิเคราะห์จำนวนวันนอนค่าเสียโอกาส และคุณภาพการดูแล ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 2(1), 16-24.

เสาวนิตย์ กมลวิทย์, และปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาล, 41(2), 23-40.

อุษา เอี่ยมละออ. (2560). การพัฒนาแนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), 184-194.

Aldrete, J. A. (1995). The post-anesthesia recovery score revisited. Journal of Clinical Anesthesia, 7(1), 89 - 91. DOI: 10.1016/0952-8180(94)00001-K.

Aronson, W. L., McAuliffe, M. S., & Miller, K. (2003). Variability in the American society of anesthesiologists' physical status classification scale. AANA Journal, 71(4), 265–274.

Corke, P. (2013). Postoperative pain management. Australian Prescriber, 36(6), 202-205. doi: 10.18773/austprescr.2013.085.

Davis, A., Chinn, D. J., & Sharma, S. (2013). Prediction of post-operative pain following arthroscopic subacromial decompression surgery: An observational study. F1000 Research, 2(31), 1-8. DOI: 10.12688/f1000research.2-31.v1

Halawi, M. J., Vovos, T. J., Green, C. L., Wellman, S. S., Attarian, D. E., & Bolognesi, M. P. (2015). Preoperative pain level and patient expectation predict hospital length of stay after total hip arthroplasty. Journal of Arthroplasty, 30(4), 555-558. DOI:10.1016/j.arth.2014.10.033.

Marmo, L., & Fowler, S. (2010). Pain assessment tool in the critically ill post–open heart surgery patient population. Pain Management Nursing, 11(3), 134-140. DOI: 10.1016/j.pmn.2009.05.007.

Yamane, T. (1973), Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). London: John Weather Hill.