ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

นาตาลี บัวงาม
ธนัญญา ฮวบสมบูรณ์
ภัทรภร ประภาลิมรังสี
อารีรัตน์ บุญส่ง
ศิวพร เกาะเกตุ
กมลพรรณ วัฒนากร

บทคัดย่อ

       ปัจจุบันประชากรวัยรุ่นไทย มีแนวโน้มของการบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเพิ่มมากขึ้น และส่งผลต่อภาวะสุขภาพในอนาคต การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านการบริโภคอาหาร เจตคติต่อการบริโภคอาหาร การรับรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยแวดล้อมของสถานศึกษากับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวน 212 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การรับรู้ด้านสุขภาพ เจตคติต่อการบริโภคอาหารและถามปัจจัยแวดล้อมของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .80, .86, .73 และ .88 ตามลำดับ และแบบสอบถามความรู้ด้านการบริโภคอาหาร มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


       ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 22.64 จากคะแนนเต็ม 45 คะแนน และผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยด้านความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร เจตคติต่อการบริโภคอาหาร การรับรู้ด้านสุขภาพ และปัจจัยแวดล้อมของสถานศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงของนักศึกษาพยาบาล จากพฤติกรรมการบริโภคอาหารนี้ จะเห็นได้ว่านักศึกษาพยาบาลบริโภคอาหารจานด่วนเป็นส่วนใหญ่และขาดการออกกำลังกาย สถานศึกษาควรนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายสำหรับนักศึกษาพยาบาลต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤชภาษร แสวงทรัพย์. (2556). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2553). จิตวิทยาสังคม.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีราพร ตันทีปธรรม. (2554). การใช้เฟสบุ๊คที่มีผลกระทบต่อลีลาชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นวลอนงค์ บุญจรูญศิลป์. (2546). พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นไทย และการพัฒนาโปรแกรมการป้องกัน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุปผาชาติ ทีงาม, เยาวภา ติอัชสุวรรณ, และช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของสถานีอนามัยบ้านโพนม่วง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบ สุขภาพ, 5(3): 127-134.

ปนันดา จันทร์สุกรี, และวศิน แก้วชาญค้า. (2561). สภาพแวดล้อมทางอาหารภายในมหาวิทยาลัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพของนักศึกษาไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ:สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปราโมตย์ มิทชู, และพันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์. (2560). เจตคติเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของพนักงานบริษัทเอกชน ในอาคารเสริมมิตร เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 6(1), 1443-1456.

พร้อมจิต ศรลัมพ์. (2556). บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนลดความอ้วนและไขมันในเลือดสูงด้วยผัก พื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

เพชรรัตน์ จิ๋วแก้ว, เบญจมาศ ชะดาจันทร์, ลัดดา แสงศรี, มณีรัตน์ หินสม, และ อุมาพร ฉัตรวิโรจน์.(2560). การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 นวัตกรรมและเทคโนโลยีการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 (น. 1082-1087). กำแพงเพชร: สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ภิญโญ วิทวัสชุติกุล.(2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม). (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยุภา โพผา,ชฎาภา ประเสริฐทรง, และวนิดา ดุรงฤทธิชัย.(2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 123-130.

เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, และพรพันธุ์ บุญยรัตพันธุ์. (2549). การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546-2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

โรงพยาบาลจุฬาเวช. (2558). รายงานผลการตรวจสุขภาพประจำปี 2558 นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี (เอกสารอัดสำเนา). สมุทรปราการ: โรงพยาบาลจุฬาเวช.

โรงพยาบาลจุฬาเวช. (2559). รายงานผลการตรวจสุขภาพประจำปี 2559 นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี (เอกสารอัดสำเนา). สมุทรปราการ: โรงพยาบาลจุฬาเวช.

วิชัย เอกพลากร (บ.ก.). (ม.ป.ป.) การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วิชัย เอกพลากร. (บ.ก.). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วิไลวรรณ คงกิจ. (2548). พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานดวนของเด็กวัยรุนในกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

สมาคมโรคหลอดแดงแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ.2559. ปทุมธานี: เอ เพลส พริ้น.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). รายงานสถิติรายปี 2556. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ.(2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนคราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 15(1), 33-41.

สุวรรณา เชียงขุนทด, ชนิดา มัททวางกูร, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงษ์ไกรเลิศ, นารี รมย์นุกูล, ฐิติมา อุดมศรี, และคณะ (2556). ความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนภาษีเจริญ (รายงานการวิจัย) .กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม.

Becker, M.H. (1974) The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 324-508.

Best, J. W. (1997). Research in education (2nd ed.). New Jersey: Prentice –Hall.

Janz, N. K., & Becker, M. H., (1984).The health belief model: A decade later. Health Educ Q, 11(1), 1-47.

Ronsenstock, I. M. (1974). Historical origins of health belief model. Health Education Monographs, 2(4), 328-335.

Wilson, P. W. F., Polonsky, T. S., Miedema, M. D., Khera, A., Kosinski, A. S., & Kuvin, J. T. (2018). Systematic review for the 2018 AHA/ACC/AACVPR/AAPA/ABC/ACPM/ADA/ AGS/APhA/ASPC/NLA/PCNA Guideline on the management of blood cholesterol: A report of the American college of cardiology/American heart association task force on clinical practice guidelines. J Am Coll Cardiol. DOI:10.1016/j.jacc.2018.11.004

World Health Organization: WHO. (2011). Global strategy on diet, physical activity and health fact chronic diseases. Retrieved June 22, 2011, from http://www.who.int/ dietphysicalactivity/publiccations/facts/chronic/en/.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.