คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

กองเพชร อิ่มใจ

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงปริมาณนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 174 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .92 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


        ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.35, SD = .37) ความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับมาก (M = 3.51, SD = .48) ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .767, p < .01)


       จากผลการวิจัยนี้ ผู้บริหารควรผลักดันให้มีการเพิ่มค่าตอบแทนให้เป็นไปตามภาระงานที่ปฏิบัติจริง เพิ่มอัตรากำลังทางการพยาบาลให้เพียงพอกับภาระงาน จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพในองค์การ พัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา แสวงดี, เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์, วิชิต หล่อจิรชุณห์กุล, และจิราวัลย์ จิตรถเวช. (2552). ตารางชีพการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารประชากร, 1(1), 73-93.

กฤษดา แสวงดี, และวิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย. (ม.ป.ป.). รายงานการสังเคราะห์ผลการศึกษาความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขในระยะ 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2552-2561). นนทบุรี: คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://phpp.nationhealth. or.th/เกี่ยวกับสถานการณ์ระบบสุขภาพ/tem/download.

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบางเสาธง. (2561). รายงานผลค่าตอบแทนนอกเวลาของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบางเสาธง. สมุทรปราการ: โรงพยาบาลบางเสาธง.

กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2561). ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุข. สมุทรปราการ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานข้อมูลบุคลากรด้านสาธารณสุข ประจำปี 2559. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2544). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

จำเนียร จวงตระกูล. (2552). การแปลงโฉมงานบริหารบุคคลในองค์การ. วารสารการบริหารฅน, 30(4), 62-65.

จุฑามาศ วิเวโก. (2555). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในโรงพยาบาลนายายอาม จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.ชลบุรี.

ดารณี เทียมเพ็ชร์. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.ชลบุรี.

ธนา จินดาโชตินันท์. (2556). อิทธิพลของแรงจูงใจในกิจกรรมและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การต่อความตั้งใจลาออก โดยมีความผูกพันกับองค์การเป็นตัวแปรส่งผ่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

เยาวลักษณ์ บัณฑิตจีน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา (วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

รุ่งอรุณ ศิลป์ประกอบ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปทุมธานี.

ลัดดา อุปพงษ์ (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความยึดมั่นผูกพันในองค์การของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสกลนคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

วารุณี แดบสูงเนิน. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ การเสริมพลังในงานและคุณภาพการให้บริการของพยาบาลระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

วิจิตร ศรีสุพรรณ, และกฤษดา แสวงดี. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ ในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 27(1), 1-12.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจค่าตอบแทนภาคเอกชน พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2561). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2561. สมุทรปราการ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ.

สุรีพร สกุณี, ปิยธิดา ตรีเดช, สุคนธา ศิริ, และศักดา ตรีเดช. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 32(2), 108-125.

อรวรรณ เครือแป้น, ปิยธิดา ตรีเดช, และวงเดือน ปั้นดี. (2556). ความผูกพันองค์กรของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 29(2), 10-19.

อัมภา ศรารัชต์, และนันทรัตน์ ศรีนุ่นวิเชียร. (2558). รายงานข้อมูลสำคัญด้านการพยาบาล ปี 2557 จากระบบข้อมูลสำคัญด้านการพยาบาล สำนักการพยาบาล. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://www.nursing.go.th/Report/2015-02-06/ report_datanurse57.pdf.

อุลัยวรรณ พงศ์ณภัทรสกุล. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

Cascio, W. F. (2003). Managing human resource: Productivity quality of work Life, profit. (10th ed.). Boston: McGrew Hill.

Hinkle, D. E, William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

Hrebinak, L. G. & Alutto, A. J. (1972). Personal and role – related factors in the development of organizational commitment. Administrative Sciences Quarterly, 17(5), 555-573. DOI: 10.2307/2393833.

Lankshear, A. J., Sheldon, T. A., & Maynard, A. (2005). Nurse staffing and healthcare outcomes: A systematic review of the international research evidence. Advances in Nursing Science, 28(2) 163-174.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. The Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-659.

Meyer, J. P., Allen, N. J., & Smith, C. (1993). Commitment to organizations and occupations: Extension and test of a three-component conceptualization. Journal of Applied Psychology, 78(4), 538-551.

Schaufeli, W. B., Salanova, M., Gonzalez- Roma, V., & Bakker, A. B. (2002). The measurement of engagement and burnout: A two sample confirmatory factor analytic approach. Journal of Happiness Studies, 3(1), 71-92.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it?. Sloan Management Review, 15(1), 11-21.