ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว ในพื้นที่นำร่องจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว ในพื้นที่นำร่องจังหวัดเพชรบุรี และสรุปข้อเสนอแนวทางการพัฒนาตามกรอบแนวคิดของโมเดลซิป เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่าง 198 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ให้บริการในทีมหมอครอบครัวระดับอำเภอ ตำบล และชุมชน รวม 150 คน และผู้รับบริการหรือญาติ รวม 48 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินผลดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว แบบสอบถามความพึงพอใจผู้รับบริการ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้รับบริการ และแนวทางการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท นโยบายมีความสอดคล้อง เหมาะสม และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน แต่ควรชี้แจงประโยชน์และข้อจำกัดให้ชัดเจน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมที่ดี บุคลากรรับรู้นโยบายและสามารถนำไปปฏิบัติได้ แต่การสนับสนุนงบประมาณ และบุคลากรยังไม่เพียงพอเหมาะสม 3) ด้านกระบวนการ มีการวางแผน และการดำเนินกิจกรรมตามนโยบายที่ดี แต่ยังขาดการกำกับติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4) ด้านผลผลิต ผลที่ได้จากการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.90, SD = .89) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก (M = 4.12, SD = .59) และคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.57, SD = .69) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ มีการบูรณาการประสานประโยชน์ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างมีคุณค่า และการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ผลการศึกษานี้ สะท้อนถึงแนวทางการบริหารเชิงนโยบาย ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ในการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัวที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน การนำกรอบแนวคิดการประเมินผลนี้ไปประยุกต์ใช้ ควรคำนึงถึงบริบทของทีมหมอครอบครัวระดับต่างๆ และบริบทของผู้รับบริการในพื้นที่
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กองยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). คลินิกหมอครอบครัว Primary Care Cluster: แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2560 จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/node/86.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2540). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2560 จาก https://www.dmh. moph.go.th/test/whoqol/.
นิฤมล กมุทชาติ. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภออำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 18(3), 183-193.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ ไอ อินเตอร์มีเดีย.
บุญชัย ธีระกาญจน์ (บ.ก.). (2559). แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
ปิยะ เทพปิยวงศ์. (2558). แนวพัฒนาการดำเนินงานทีมหมอครอบครัวและความพึงพอใจของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลระยะยาว อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขศึกษา, 38(130), 1-15.
ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, สุภา เพ่งพิศ, สมชาย วิริดิรมย์กุล, นภาพร วาณิชย์กุล, และสุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์. (2559). ติดตามประเมินผลนโยบายทีมหมอครอบครัว (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
มูลนิธิแพทย์ชนบท. (2558). คู่มือทีมหมอครอบครัวมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สร้างสื่อ จำกัด.
ยงยุทธ พงษ์สุภาพ. (2557). การจัดการเรียนเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ(District Health System Management Learning: DHML). สมุทรสาคร: APPA Printing Group.
รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์, และณภัทรกฤต จันทวงศ์. (2558). การวิจัยประเมินผลโครงการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุทีมีภาวะพึ่งพิง ตำบลบ้านลำ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(6), 1075-1085.
วัสนา ศรีวิชัย. (2561). การสำรวจการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวในจังหวัดตาก: ความคาดหวัง การได้รับบริการสุขภาพและความพึงพอใจของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแล. บูรพาเวชสาร, 5(1), 64 - 82.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2543). คู่มือการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: เจริญผล.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมยศ ศรีจารนัย, พิชญาภัสสร์ วรรณศิริกุล, ปารณัฐ สุขสุทธิ์, อรณรินทร์ ขจรวงศ์วัฒนา, และสมใจ นกดีวิจัย. (ม.ป.ป.). การวิจัยประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สายพิณ หัตถีรัตน์ (บรรณาธิการ). (2551). คู่มือหมอครอบครัวฉบับสมบูรณ์: Family medicine handbook (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). คลินิกหมอครอบครัว ปฏิรูป สธ.ไทย. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2560 จาก https://www.thaihealth.or.th/.
สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือแนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำเริง แหยงกะโทก. (2560). การดำเนินงานตามมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit=PCU).กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, พฤกษา บุกบุญ, และปิยฉัตร ตระกูลวงศ์. (2557). ผลการสำรวจสถานการณ์การดำเนินงานและความคิดเห็นต่อนโยบายการพัฒนาทีมหมอครอบครัว (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
อุดม อัศวุฒมางกุร, อารยา ประเสริฐชัย, และช่อทิพย์ บรมธนะรัตน์. (2560). การประเมินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(2), 124-134.
อุดมลักษณ์ เวชชพิทักษ์, ศศิพร โลจายะ, และดุจเดือน ตั้งเสถียร. (2561). การประเมินผลการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2560. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(3), 450-466.
Stufflebeam, D.L. (1971). The relevance of the CIPP evaluation model for educational accountability. Journal of research and Development in Education, 5(1), 19-25.