การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม

Main Article Content

วันดี สำราญราษฎร์

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย การผ่าตัดทวารเทียมทางหน้าท้อง (Colostomy) เป็นวิธีการรักษาร่วมกับการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักด้วยวิธีอื่น ซึ่งเป็นวิธีการรักษาเพื่อช่วยระบายอุจจาระผ่านทางหน้าท้อง อย่างไรก็ตามบุคคลที่ได้รับการผ่าตัดทวารเทียมมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์อย่างรุนแรง ร่วมกับผู้ป่วยกลุ่มนี้มีสิ่งกังวลห่วงใยมากมาย จึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในทุกด้าน


ในปัจจุบันมีความยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มขึ้นตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะโรคร่วมที่จำเป็นต้องได้รับการควบคุมให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนอันเป็นผลมาจากโรคร่วมนี้ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องใช้ความรู้ ทักษะ ความชำนาญในการบูรณาการแนวคิดการจัดการตนเองตนเองสู่ผู้ป่วยรวมถึงผู้ดูแล โดยใช้กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม ตามแนวคิด ERAS program ในการผ่าตัดทวารเทียมนั้น ช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการเตรียมความพร้อมเข้ารับการผ่าตัดได้อย่างปลอดภัยและสามารถดูแลตนเอง เมื่อมีทวารเทียมและโรคร่วมได้ ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดทวารเทียมและมีโรคร่วมนี้คือช่วยจัดการกับความยุ่งยากซับซ้อนของโรค การรักษา และผู้ป่วยสามารถวางแผนกิจกรรมการดูแลตนเองได้ดีขึ้น ยอมรับทวารเทียม และการเจ็บป่วยได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

จุฬาพร ประสังสิต. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. ใน สุวรรณี สิริเลิศตระกูล และ เนตร์สุวีณ์ เจริญจิตสวัสดิ์. บทความวิชาการ การศึกษาต่อเนื่องสาขาการพยาบาลศาสตร์ เล่มที่ 18 การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. กรุงเทพ: ศิริยอดการพิมพ์.

จุฬาพร ประสังสิต และกาญจนา รุ่งแสงจันทร์. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลำไส้และรูเปิดทางหน้าท้อง: ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

ชนุตพร รัตนมงคล, ศิริอร สินธุ, ทิพา ต่อสกุลแก้ว และเชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งชนิดปฐมภูมิของกระเพาะอาหาร ตับ ทางเดินน้ำดี ลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง. วารสารสภาการพยาบาล, 31(3), 97-109.

บุศรา ชัยทัศน์. (2559). การดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ผ่าตัดเปิดทวารใหม่: บทบาทพยาบาลเฉพาะทางบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(1), 19-33.

โรงพยาบาลสมุทรปราการ. (2560). สถิติโรงพยาบาลสมุทรปราการ. รายงานสถิติประจำปี 2560. อัดสำเนา.

ศิริพรรณ ภมรพล. (2559). บทบาทพยาบาลในการส่งเสริม การลุกเดินจากเตียงโดยเร็วภายหลังผ่าตัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 14-23.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2561). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2559. กรุงเทพ: พรทิพย์การพิมพ์.

สราวุฒิ สีถาน. (2560). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อการฟื้นตัวในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วารสาร มฉกวิชาการ, 20(40), 101-113.

อนุชตรา วรรณเสวก. (2561). โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง. ใน สุวรรณี สิริเลิศตระกูล และเนตร์สุวีณ์ เจริญจิตสวัสดิ์.บทความวิชาการ การศึกษาต่อเนื่องสาขาการพยาบาลศาสตร์ เล่มที่ 18 การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. กรุงเทพ: ศิริยอดการพิมพ์.

อรปรียา บุปผาวัลย์. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนตามกรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน: กรณีศึกษา โรงพยาบาลนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7, 13(3), 20-33.

อารีย์ เสนีย์. (2557). โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 129-134.

Agrawal, D. (2016). American Society of Anesthesiologist Classification—Higher Incentives for Higher Scores. JAMA internal medicine, 176(10), 1577-1578.doi:10.1001/jamainternmed .2016.5448

Arends, J., Bachmann, P., Baracos, V., Barthelemy, N., Bertz, H., Bozzetti, F…. & Preiser, J. C. (2017). ESPEN guidelines on nutrition in cancer patients. Clinical Nutrition, 36(1), 11-48. doi:10.1016/j.clnu.2016.07.015.

Alexander, T.H., David, L.B., Paul, C.S., Patrica, S., & Liliana, B. (2014). Wound dehiscence after APR for low rectal cancer is associated with decreased survival. DisColon Rectum, 7(2), 143–150.

Bryan, S., & Dukes, S., (2010). The enhanced recovery programmed for patients: An audit. British Journal of Nursing, 19, 831-834. doi:10.12968/bjon.2010.19.13.48859

Kittinouvarat S. (2014). A study of difficulties experienced by Thai ostomate after hospital discharge. WCETJ, 34(4), 7-12.

Lorig, K.R., & Holman H. (2003). Self-management education: History, definition, outcomes, and mechanisms. Ann Behav Med. 26(1), 1-7. doi:10.1207/S15324796ABM2601_01

Vonk-Klaassen S. M., Vocht, H. M., Ouden M. E., Eddes, E. H., & Schuurmans, M.J., (2016). Ostomy–related problems and their impact on quality of life of life colorectal cancerostomates: A systematic review. Qual Life Res, 25(1), 125-133. doi: 0.1007/ s11136-015-1050-3.

Wilmore, D., & Kehlet, H. (2001). Management of patients in fast track surgery. BMJ, 332, 473-476.