ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อภาวะหกล้มในผู้สูงอายุเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ
ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง
วีระพงษ์ เปรมสถิตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม ในผู้สูงอายุเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ในการศึกษาคือจังหวัดที่มี Index of Aging ระหว่าง 100.0-119.9% เลือกมาจังหวัดละ 2 ชุมชน ได้แก่ อุบลราชธานี ขอนแก่น จังหวัดที่มี Index of Aging 80.0-99.9% เลือกมาจังหวัดละ 2 ชุมชน ได้แก่ มหาสารคาม อุดรธานี นครราชสีมา สุรินทร์ ศึกษาในประชากรที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปีขึ้นไปทุกคนในชุมชนนั้น เครื่องมือคือแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามปัญหาการกลั้นปัสสาวะในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุโดยใช้สถิติ K-Mean Cluster และใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหกล้ม


ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีอายุเฉลี่ย 70.47 ปี (SD = 7.65, อายุต่ำสุด-สูงสุด = 60-96) เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.1 ร้อยละ 96.40 เป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 3.00 เป็นกลุ่มติดบ้าน และร้อยละ 0.60 เป็นกลุ่มติดเตียง ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.001 การคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมทางคลินิกในการประเมินข้อเข่าฝืดตึงหลังตื่นนอนตอนเช้านานมากกว่า 30 นาที เสียงดังกรอบแกรบ ในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว กดเจ็บที่กระดูกข้อเข่า ข้อใหญ่ผิดรูป และไม่พบข้ออุ่น มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001


ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อภาวะการหกล้มพบว่าความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และอาการที่สัมพันธ์กับโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ อาการข้อเข่าฝืดตึงหลังตื่นนอน       ตอนเช้า  อาการกดเจ็บที่กระดูกข้อเข่า เสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว ไม่พบข้ออุ่น และข้อใหญ่ผิดรูป ปัจจัยดังกล่าวร่วมกันทำนายภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้ร้อยละ 20.7

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์. (2561). การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, 5(2), 119-131.

ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์, จีราพร ทองดี, และจิตติยา สมบัติบูรณ์. (2561). อุบัติการณ์ของ การหกล้ม และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัด สุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(3), 123-138.

นงนุช วรไธสง. (2551). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในชุมชนจังหวัดขอนแก่น วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เปรมกมล ขวนขวาย. (2550). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รังสิยา นารินทร์, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์, และวราภรณ์ บุญเชียง. (2556). รายงานการศึกษาวิจัยการ พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในชุมชน กรณีศึกษาตำบลไชยสถานอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, และกนกพร นทีธนสมบัติ. (2557). การศึกษาแนวทางการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 122-129.

ลัดดา เถียมวงศ์, และจอม สุวรรณโณ. (2557). ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวบกพร่องของผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 56-69.

วิภาวี กิจกำแหง, นิพัธ กิตติมานนท์, และศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. (2549). ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข,15(5), 787-799.

สุกัลยา อมตฉายา, เยาวราภรณ์ ยืนยงค์, และวัณทนา ศิริธราธิวัตร. (2553). การทรงตัว การล้ม และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 25(2), 103-108.
ทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2542). การวิเคราะห์ผู้สูงอายุ ใน หลักสำคัญทางเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Bird, M. L., Pittaway, J. K., Cuisick, I., Rattray, M., & Ahuja, K. D. (2013). Age-related changes in physical fall risk factors: Results from a 3year follow-up of community dwelling olderadults in Tasmania, Australia. International Journal of Environmental Research and Public Health, 10(11), 5989-5997.

Bloch, F., Thibaud, M., Dugué, B., Brèque, C.,Rigaud, A. S., & Kemoun, G. (2010). Episodes of falling among elderly people: A systematic review and meta-analysis of social and demographic pre-disposing characteristics. Clinics, 65(9), 895-903.

Chang, C.M., Chen, M.J., Tsai, C.Y., Ho, L.H., Hsieh, H.L., Chau, Y.L., Liu C.Y. (2011). “Medical conditions and medications as risk factors of falls in the inpatient older people: a case-control study,” Int J Geriatr Psychiatry. 26, 602-607.

Dong, C.P.,& Seung, G.Y. (2013). “Aging,” The Korean Audio logical Society. 17, 39-44.

El Haber, N., Erbas, B., Hill, K. D., & Wark, J. D.(2008). Relationship between age and measures of balance, strength and gait: Linear and non-linear analyses. Clinical science,114(12), 719-727.

Hochberg, M.C., et al. (2012). American College of Rheumatology (ACR) 2012: Recommenda-tions for the use of non-pharmacologic and pharmacologic therapies in Osteoarthritis of the hand, hip, and knee. Arthritis Care & Research.64(4) : 465-474.

Legters, K., Verbus, N. B., Kitchen, S., Tomecsko, J., & Urban, N. (2006). Fear of falling, balance confidence and health-related quality of life in individuals with postpolio syndrome. Physiotherapy theory and practice, 22(3), 127-135.

Mahoney, F. I., & Barthel, D. W. (1965). FUNCTIONAL EVALUATION: THE BARTHEL INDEX. Maryland state medical journal, 14, 61-65.

Pillemer, K., Burnes, D., Riffin, C., & Lachs, M. S. (2016). Elder abuse: global situation, risk factors, and prevention strategies. The Gerontologist, 56(2), 194-205.

Pereira, V. V., Maia, R. A., & Silva, S. M. C. (2013).The functional assessment Berg Balance Scale is better capable of estimating fall risk in the elderly than the posturographic Balance Stability System. Arquivos de Neuro-Psiquiatria,71(1), 5-10.


Public Health Agency of Canada. (2014). Seniors ‘falling in Canada second Report. Retrieved 20, January 2018 from, https://www.phacaspc.gc.ca/seniorsaines/ publications/public/injuryblessure/seniors_falls-chutes_aines/assets/pdf/seniors_ falls- chutes_aines-eng.pdf.

Viswanathan, A., & Sudarsky, L. (2012). Balance and gait problems in the elderly. Handbook of Clinical Neurology, 103, 623-634.

Yoo, J. S., Kim, C. G., Yim, J., & Jeon, M. Y. (2016). Factors influencing falls in the frail elderly individuals in urban and rural areas. Aging Clinical and Experimental Research, 28(4), 687-697.