การพัฒนานวัตกรรมผ้าผืนสุดท้ายห่อร่างกายของผู้เสียชีวิตมุสลิม ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของผ้าผืนสุดท้าย และศึกษาความพึงพอใจของญาติและพยาบาลต่อการใช้ผ้าผืนสุดท้าย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ ญาติผู้ป่วยมุสลิมที่เสียชีวิต จำนวน 12 ราย และพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้ผ้าผืนสุดท้าย จำนวน 12 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพผ้าผืนสุดท้ายสำหรับพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจญาติผู้เสียชีวิตมุสลิม และแบบสอบถามความพึงพอใจพยาบาลที่ใช้ผ้าผืนสุดท้าย ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.97 และคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลประเมินประสิทธิภาพผ้าผืนสุดท้าย อยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการห่อได้มิดชิดเรียบร้อย ไม่เปิดเผยร่างกายผู้เสียชีวิตมุสลิม ( = 3.00, S.D. = 0.60) ซึ่งผ้าห่อผู้เสียชีวิตแบบเดิม อยู่ในระดับควรปรับปรุง ( = 1.67, S.D. = 0.65) ญาติมีความพึงพอใจต่อผ้าผืนสุดท้ายอยู่ในระดับดีมากในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านความถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม ( = 3.42, S.D. = 0.90) สำหรับพยาบาลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ในด้านความมีประโยชน์ ( = 3.25, S.D. = 0.75) และอยู่ในระดับดี 3 ด้าน ในขณะที่ความพึงพอใจของพยาบาลต่อผ้าห่อศพผู้เสียชีวิตแบบเดิม พบว่า มีเพียงด้านความถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลามที่อยู่ในระดับพอใช้ ( = 1.92, S.D. = 0.67) ในขณะที่ด้านอื่นๆ อยู่ในระดับควรปรับปรุง
Downloads
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2560). รูปแบบการวิจัยเชิงนวัตกรรม (R&D, D&D, AR, R2R) โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 5. สืบค้น 2 ธันวาคม 2561 จาก kitt_w_2000@yahoo.ie.
จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. (2556). การดูแลอย่างเอื้ออาทร: หัวใจสำคัญของการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 29(2), 134-142.
ดานียา เจ๊ะสะนิ. (2555). การจัดการศพในบทบัญญัติอิสลาม. สืบค้น 12 มีนาคม 2561 จาก https://www.saaid.net/rasael/janasah/index.htm.
มณี คำคง. (2557). การพยาบาลด้านจิตวิญญาณ: มิติความเชื่อต่อชีวิตหลังความตายตามแนวปฏิบัติของ ผู้นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 1(2), 60-67.
รจนา ทองดำ, วราภรณ์ คงสุวรรณ, และกิตติกร นิลมานัต. (2558). การตายอย่างสงบตามมุมมองของพยาบาลไทยมุสลิม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 21-34.
เวชสถิติโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. (2561). สถิติผู้ป่วยมุสลิมที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2561 จาก ฐานข้อมูลโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2556). มาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุข. สืบค้น 10 มีนาคม 2561 จาก https://www.google.co.th/search?q=หลักการให้การบริการผู้ป่วยในสถานบริการสาธารณสุข&rlz=1C1CHBD_enTH813TH813&oq.
อิสมาอีลลุตฟ จะปะกียา. (2555) คู่มือผู้ป่วยและการจัดการตามหลักการอิสลามเพื่อแสวงหาความเมตตาจากอัลลอฮฺ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ยะลา: มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา.
อุไร หัถกิจ และวารีรัตน์ ถาน้อย. (2555). การพยาบาลองค์รวมและการดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน: การบูรณาการแนวคิดสู่การจัดการศึกษาพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 27(ฉบับพิเศษ), 5-17.
อังคณา วังทองอนุชิต, วังทอง ต่วนฮานาณี วัดเส็น, และวันดี สุทธรังษี. (2556). มุมมองผู้รับบริการต่อการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในพื้นที่ต่างวัฒนธรรมบริบทอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(3), 35-44.
Granda-Cameron, C., & Houldin, A. (2012). Concept analysis of good death in terminally ill patients. American Journal of Hospices & Palliative Medicine, 29(8), 632-639.
Muslim Funeral Services Ltd ©. (2010). Funeral Director & Savings Plan Manager. Retrieved February 20, 2018 from, https://www.mfs.asn.au/ghusl--burial-steps.html.