การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสุขภาวะในชุมชนตามกลุ่มวัย ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ชัยพร กาญจนอักษร
ณภัทร พรหมจรรย์
ฮันนา ดินเตบ
อาทิตยา พิพัฒน์สุริยะ
ธีราภรณ์ ศรีอุ่น
อติญาณ์ ศรเกษตริน
ชุลีพร หีตอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น   เพื่อพัฒนาสุขภาวะในชุมชนตามกลุ่มวัย กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่ม แบบชั้นภูมิตามสัดส่วน จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และแบบวัดการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสุขภาวะในชุมชนตามกลุ่มวัย ทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบราค (Cronbach’alpha coefficient) แบบวัดความรู้ เท่ากับ 0.62 และแบบวัดการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติวิเคราะห์ ได้แก่  t-test และ F-test


          ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมของการประยุกต์ใช้องค์ความรู้อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบตัวแปรด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพปัจจุบัน รายได้ ระยะเวลาในการเป็น อสม. และความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน พบว่าการประยุกต์ใช้องค์ความรู้นั้นไม่มีความแตกต่างกัน สำหรับตัวแปรด้านหน่วยบริการที่สังกัดของ อสม. ที่ต่างกัน มีผลต่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


           จากการศึกษา ควรมีการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อพัฒนาศักยภาพการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพให้กับ อสม. และภาคีเครือข่ายภายใต้บริบทของ อสม.นักจัดการสุขภาพชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข. (2555). หลักสูตรการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ ปีพุทธศักราช 2555. กรุงเทพมหานคร: เอ็นย์ ดีไซน์.
กองสุขศึกษา. (2556). วิธีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เล่มที่ 4. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข. (2557). หลักสูตรฝึกอบรม มาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) นักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย ปีพุทธศักราช 2557. กรุงเทพมหานคร: เอ็นย์ ดีไซน์.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และ ปารณัฐ สุขสิทธิ์. (2550). อาสาสมัครสาธารณสุข: ศักยภาพและบทบาท ในบริบทสังคมไทยที่เปลี่ยนไป. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1(3), 268 – 279.

คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ. (2555). แผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.

งานแพทย์แผนไทย เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอวิภาวดี. (2559). เอกสารประกอบการนิเทศงานแพทย์แผนไทย เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอวิภาวดี ประจำปี 2559. สุราษฎร์ธานี: โรงพยาบาลวิภาวดี.

ชัยพร กาญจนอักษร อาทิตยา พิพัฒน์สุริยะ และธีราภรณ์ ศรีอุ่น. (2558). บทคัดย่อประกวดผลงานวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร.

ชิตสุภางค์ ทิพย์เที่ยงแท้ กฤษณา เปรมวงค์ และทิพวรรณ ผ่องศิริ. (2558). ทีมหมอครอบครัว เห็นทุกข์ สร้างสุข ด้วยจิตอาสา. กรุงเทพมหานคร: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

ชัชวาล นฤพนธ์จิรกุล. (2557). การมีส่วนร่วมในโครงการอำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋วของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(2), 262 – 271.

ประชิด วามานนท์ และคณะ. (2548). ผักพื้นบ้านกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา.

ภูดิท เตชาติวัฒน์ และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2557). การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(1), 16 – 28.

วรนารถ ดวงอุดม. (2555). การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและจังหวัดแพร่. วารสารจันทน์เกษมสาร, 34(18), 13 – 22.

วรรณชนก จันทชุม วรรณภา นิวาสะวัต บุศรา กาญจนบัตร และธนพงศ์ จันทชุม. (2545). การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพร เพื่อการดูแลสุขภาพเบื้องต้นกรณีศึกษาใน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2555). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของ พ.ศ. 2552 ประชากรไทย. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์.

สำนักบริหารการสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ (รสอ.) ฉบับประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. (2557). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยภูมิปัญญาไทย. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 250 – 262.

Benjamin, S Bloom. (1986). ‘Learning for mastery’. Evaluation comment. Center for the study of instruction program. University of California at Los Angeles. 2, 47 – 62.

Best, J. W. (1970). Research in Education. Englewood Clift. New Jersy: Printice – Hall.