ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ณัฐพร อุทัยธรรม
ภูษณิศา ไทยสงฒ์
ปวีณา ศรีขิริยะกุล
สุภาดา พุ่มพวง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2559 จำนวน 55 คน จากวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตลอดหลักสูตรและผลการสอบขอขึ้นทะเบียนฯ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนสอบ 3) แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบัณฑิต และ 4) แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในการเตรียมความพร้อม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค .90, .79, .91 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า (Eta coefficient) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


ปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเตรียมตัวก่อนสอบ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบัณฑิตและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในการเตรียมความพร้อมให้กับบัณฑิต มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีขนาดสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .45, .25, .28, และ .22 ตามลำดับ


ผลการวิจัยนี้ จะเป็นข้อมูลให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนำไปวางแผนและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพของบัณฑิตพยาบาลในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในการสอบครั้งแรกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

งานหลักสูตรการเรียนและการสอน กลุ่มงานวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (2560). ผลการสอบขึ้นทะเบียน เพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. สืบค้น 27 กันยายน 2560 จาก https://202.129.46.119/pckpb/resources/views/static.

จารุณี วาระหัส, พิมพา กายประสิทธิ์, และเทิดศักดิ์ นำเจริญ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบประเมินความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่งของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.

พรทิพา ทักษิณ, ศุกร์ใจ เจริญสุข, และอุบล สุทธิเนียม. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการเตรียมความพร้อมและผลการสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารสภาการพยาบาล, 26(3), 117-129.

พรพรรณ ภูสาหัส, สมสุข ภาณุรัตน์, และยุวดี แตรประสิทธิ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ผลการสอนเสมือนจริง กับผลการสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(1), 153-159.

วิจิตร ศรีสุพรรณ, สุปราณี อัทธเสรี, และนพรัตน์ ราษฎร์นุ้ย. (2551). การสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ. วารสารสภาการพยาบาล, 23(3), 10-15.

วิภาดา คุณาวิกติกุล, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, รัตนาวดี ชอนตะวัน, และสุปราณี อัทธเสรี. (2555). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล, 27(3), 11-28.

สภาการพยาบาล. (2542). พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540. นนทบุรี:บริษัทศิริยอดการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด

สุพัตรา จันทร์สุวรรณ, สุภาวดี นพรุจจินดา, และอุมากร ใจยั่งยืน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(2), 81-92.

อัจฉรา จั่นเพ็ชร์, และสิรินกร ศุกรวรรณ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลของสภาการพยาบาลในการสอบครั้งแรกของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. ยะลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา.