การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ:การปฏิบัติการพยาบาล Nursing Practice
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปฏิบัติการพยาบาลจำเป็นต้องมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการพยาบาลโดยการพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ พยาบาลวิชาชีพควรทำการวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานพยาบาลจากปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องการพัฒนาการปฏิบัติงานโดยมีการเปลี่ยนกระบวนการคิดร่วมกับใช้วิธีการใหม่ๆ กับปัญหาที่เกิดจากการทำงานที่ปฏิบัติเป็นประจำ ฉะนั้นพยาบาลวิชาชีพต้องได้รับการพัฒนาความคิดเชิงระบบและเชิงเหตุผลโดยใช้กระบวนการวิจัยที่มีคุณภาพทุกขั้นตอนร่วมกับการใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ใช้ในการตัดสินใจ พยาบาลต้องเห็นคุณค่าของการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีชีวิตที่คิดบวกกับการทำงาน ร่วมกับการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นควรมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีเผยแพร่ในเวทีวิชาการ หรือตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร หากผลงานได้รับการยอมรับจะช่วยสร้างความภาคภูมิใจ และการคงอยู่ของพยาบาลผู้วิจัย และส่งผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์กับผู้รับบริการได้รับบริการที่ดีและสุขภาวะที่ดี
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง
References
จรวยพร ศรีศศลักษณ์. (2552). การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยในระบบสุขภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 3(3), 465-468.
เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ และอัครินทร์ นิมมานนิตย์. (2555). เคล็ดไม่ลับอำนวย ฟันเฟืองขับเคลื่อน R2Rเล่ม 2. กรุงเทพฯ: ยูเนียน ครีเอชั้น จำกัด.
ปรียนุช ชัยกองเกียรติ และมาลี คำคง. (2560). งานวิจัยจากงานประจำ: สู่การใช้ประโยชน์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 259-270.
มุกดา สีตลานุชิต. (2558). R2R: Routine to Research กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 5(1), 223-228.
วรรณพร บุญเรือง. (2552). กลยุทธ์ส่งเสริมงานวิจัยจากงานประจำในบริบทสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 3(4), 618-621.
วรรณรัตน์ ศรีกนก และพัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะ. (2557). การปฏิบัติการพยาบาลสู่การวิจัย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 15-32.
วิจารณ์ พานิช. (2554). เชื่อมพลังเครือข่าย ขยายคุณค่างานประจำ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 5(3), 392-397.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล และอรุณ จิรวัฒน์กุล. (2553). วิจัยจากงานประจำเรียนแบบทีละขั้น R to R step by step.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2552). การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพพยาบาล. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.
Patton, M.R. (2002). Qualitative research and evaluation methods. 3rd edition. California: Sage Publications.
Portney, L.G., & Watkins, M.P. (2000). Foundations of clinical research: Applications to practice. New Jersey: Prentice Hall.
Shi, L. (2008). Health services research methods. 2nd edition. New York: Thomson Delmar Learning.