ผลลัพธ์การใช้นวัตกรรมนุ่มนิ่มอโรม่าคลายเครียดในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยสยาม

ผู้แต่ง

  • Sukrita Takaree -
  • พิชาภรณ์ จันทนกุล
  • ิอรทิพา ส่องศิริ
  • ธัญลักษณ์วดี ก้อนทองถม
  • ธัญญลักษณ์ ดีชาติธนากุล

คำสำคัญ:

นวัตกรรมนุ่มนิ่มอโรมา, นักศึกษาพยาบาลศาสตร์, คลายเครียด

บทคัดย่อ

           

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมนุ่มนิ่มอโรมาคลายเครียด ในกลุ่มนักศึกษาที่มีความเครียดในระดับปานกลาง-เครียดสูง จำนวน 215 ราย ดำเนินการวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 108 ราย และกลุ่มควบคุม 107 ราย ดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ ในเดือน กรกฎาคม -ธันวาคม พ.ศ. 2565  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี Selye (1976) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ นวัตกรรมนุ่มนิ่มที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต (SPST-20) แบบสอบถามการใช้นวัตกรรมนุ่มนิ่มอโรมา และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมนุ่มนิ่มอโรมา  มีค่าความตรง 0.85, 0.83, 0.86 และ 0.83 มีค่าความเที่ยง 0.85, 0.78, 0.71, และ0.67 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการทดลองใช้สถิติ t-test และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้นวัตกรรมนุ่มนิ่มอโรมา กลุ่มทดลองมีระดับความเครียดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) คือปัจจัยด้านครอบครัว รองลงมา คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเรียนด้านทฤษฎี และด้านสัมพันธภาพ (p < 0.05)

References

กรมสุขภาพจิต โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. 2563. คู่มือแบบประเมินคัดกรองโรคจิตและปัญหาสุขภาพจิต. สืบค้นจาก http://1.179.139.229/upload/2021-02-17-1010.pdf

ฉัตรมณี เจริญธนะรุ่งเรือง. (2561). การสร้างงานประติมากรรมร่วมกับการใช้แสงไฟเพื่อศึกษาการบำบัดโรคเครียดส่วนบุคคล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิศากร โพธิมาศ, สุนทรีภรณ์ มีพริ้ง, และมาลินี อยู่ใจเย็น. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนออนไลน์ ความยืดหยุ่นทางอารมณ์และการเผชิญความเครียดของนิสิตพยาบาล ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 37(3), 142-152.

ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2561). จิตวิทยาศิลปะสุนทรียศาสตร์เชิงประจักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 . โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร, และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2560). การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรYamane (Determining the sample size by the Yamane’s formula.). สืบค้นจาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf

สุกฤตา ตะการีย์, พิชาภรณ์ จันทนกุล, รัตนาภรณ์ นิวาศานนท์, กาญจนา งามจันทราทิพย์ และศิริพร สามสี.(2565). ผลลัพธ์การจัดการเรียนภาคปฏิบัติออนไลน์ในนักศึกษาพยาบาลช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019: กรณีศึกษารายวิชาปฏิบัติการพยาบาลรวบยอดสาขาผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 23(45), 73-87.

สุรพจน์ วงศ์ใหญ่. (2543). นิยามของสุคนธบำบัด. ตำราวิชาการสุคนธบำบัด. กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 1-7.

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์, ณิชกานต์ ฝูงดี, ณัฐธิดา ยานะรมย์, ณัฐนรี น้อยนาง, ณัฐมล อาไนย์, ตุลาภรณ์ บุญเชิญ, ทริกา จอดนอก, ทัตติยา สุริสาร และธัญญาเรศ พ่อยันต์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร มฉก.วิชาการ. 21(42), 93-106.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล, และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2561). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 9(1), 81-90.

Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Selye. (1976). The stress of life. (Rev.ed). New York: McGraw Hill Book Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-12

How to Cite