Guidelines for Health Promotion: Body Composition of the Elderly Members of the Health Promotion and Rehabilitation Center, Faculty of Nursing, Prince of Songkhla Univers

Authors

  • Pattarasiri Potjamanpong Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University

DOI:

https://doi.org/10.14456/jnsu.v20i39.198110

Keywords:

body composition, elderly

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพโดยแบ่งตามลักษณะองค์ประกอบด้านร่างกายของผู้สูงอายุสมาชิกศูนย์ผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างมีจํานวน 100 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามทั่วไป และเครื่องวัดองค์ประกอบทางด้านร่างกาย ยี่ห้อทานิตา รุ่น SC-330 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 มิถุนายน – 31 กรกฏาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบด้านร่างกายของกลุ่มตัวอย่างสามารถแบ่งตามระดับโภชนาการได้ 3 กลุ่ม คือ ภาวะโภชนาการต่ำกว่ามาตรฐาน (BMI < 18.5 kg/m2) ร้อยละ 3 มาตรฐาน (BMI 18.5 – 24.9  kg/m2)  ร้อยละ 58 และโภชนาการเกินมาตรฐาน (BMI >25 kg/m2)  ร้อยละ 39  ดังนั้นผู้วิจัยได้เสนอแนวทางสำหรับสร้างเสริมองค์ประกอบด้านร่างกายให้แต่ละกลุ่ม เน้นด้านการรับประทานอาหาร การออกกําลังกาย และการปรับด้านอารมณ์ ดังนี้

            ภาวะโภชนาการต่ำกว่ามาตรฐาน เน้นกิจกรรมเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ไทเก็ก และเน้นให้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน กากใยและน้ำอย่างเหมาะสม โดยอาจเพิ่มมื้ออาหาร เพิ่มอาหารเสริม กลุ่มโภชนาการมาตราฐาน เน้นหลักโภชนบัญญัติ 9 ประการ และเน้นการออกกำลังกาย 3 อย่างให้สมดุล คือ เพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มโภชนาการเกิน แนะนำออกกำลังกายทุกวันหรืออย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์อย่างต่อนื่อง โดยเลือกการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน ด้านการรับประทานอาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคลอเรสเตอรรอลสูง รสหวาน และอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียม

             ผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม ส่งเสริมการมีคุณค่าในตนเอง เน้นทางด้านการสร้างความสุขและความเพลิดเพลิน การจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม ได้แก่ กิจกรรมด้านศิลปะบำบัด การจัดกิจกรรมกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). หลัก 3 อ. ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สร้างความรักในครอบครัว. เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=10486&filename=index
กัตติกา ธนะขว้าง และจันตนา รัตนวิฑูรย์. (2556). ผลของการรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่าน ต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. พยาบาลสาร, 40(2), 148 - 161.
เจ๊ะยารีเย๊าะ เจะโซ๊ะ. (2556). ความต้องการบริการสุขภาพและแบบแผนบริการสุขภาพของผู้สูงอายุที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพ คณะพยาบาลศาสตร์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ชวิศา แก้วอนันต์. (2561). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 112-119.
ฐิติชญา ฉลาดล้น, สุทธีพร มูลศาสตร์ และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ คลังปัญญา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(2),154-167.
บุญวาส สมวงศ์ และปริญญา หรุ่นโพธิ์.(2560). การดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ เขตบางแค จังหวัด กรุงเทพมหานคร. เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จากhttps://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/777/rmutrconth_131.pdf?sequence=1&isAllowed=y
ประไพศรี ศิริจักรวาล. (2560). Healthy Diet for Elderly: ข้อแนะนำการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุไทย. ประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะด้านโภชนาการ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุตลอดช่วงชีวิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย” 14-15 ธ.ค. 2560.
ปัทมา ผาติภัทรกุล, ผุสดี ก่อเจดีย์, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ศิริธร ยิงเรงเริง, ชุติมา บูรพา และประภาส จักรพล.(2561). ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผ้สููงอายุในชุมชน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12 (ฉบับพิเศษ), 52-60.
ปัทมาวดี สิงหจารุ. (2559). การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พรรณวดี พุธวัฒนะ และนพวรรณ เปียซื่อ. (2560). การจัดการดูแลทางการพยาบาลในผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาทุพโภชนาการ. ใน วีรศักดิ์ เมืองไพศาล(บรรณาธิการ), การจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ (118-121) นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
ภาวดี วิมลพันธุ์ และขนิษฐา พิศฉลาด. (2559).การพัฒนาแนวปฏิบัติในการจัดการกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในผู้สูงอายุ. วารสารทหารบก, 17(1), 115-123.
เมธี วงศ์วีระพันธ์. (2559). การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุของชุมชนต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 47(1), 38-47.
วรรณวิมล เมฆวิมล. (2555). รายงานการวิจัย เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 23 ตุลาคม 2557, จาก https://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/689/1/079-55.pdf
วิรดา อรรถเมธากุล*วรรณี ศรีวิลัย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 7 (2), 18-28.
สมชาย ต่อเพ็ง. (2552). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา) สาขาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สรญา แก้วพิทูลย์. (2555). ภาวะโภชนาการผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี:นครราชสีมา.
สกุลรัตน์ อัศวโกสินชัย, จารุวรรณ แสงเพชร, และ วราภรณ์ รุ่งสาย. (2554). ผลของการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 28(2), 110 – 124.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556) จำนวนประชากร การเกิด และการตาย ทั่วราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2536 -2553 สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2558, จาก .https://social.neS.Db.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=68&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=1
กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.
ศรินยา สุริยะฉาย. (2552). การประเมินควมต้องการจำเป็นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลบางไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม.ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.(2553). ที่ระลึกครบรอบ 17 ปีและทำเนียบสมาชิก. สงขลา: บันลือการพิมพ์.
ศักดิ์ชัย ถิรวิทยาคม, ดลินพร สนธิรักษ์ และจันทนงค์ อินทร์สุข. (2554). คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน. กรุงเทพฯ: บริษัทบียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.
อัจฉรา ปุราคม. (2558).การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ.นครปฐม: บริษัทเพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
Aekplakorn, W., Chariyalertsak, S., Kessomboon, P., Sangthong, R., Inthawong, R., Putwatana, P., ... & Thai National Health Examination Survey IV Study Group. (2011). Prevalence and management of diabetes and metabolic risk factors in Thai adults: the Thai National Health Examination Survey IV, 2009. Diabetes care, 34(9), 1980-1985.
Balcombe, N.R., Ferry, P.G., & Saweirs, W.M. (2001). Nutritional status and well being. Is there a relationship between body mass index and the wellbeing of older people?. Current Medical Research and Opinion, 17, 1–7
Boonphadung, S. (2011). Developing the Life Quality of the Elderly by Applying Sufficiency Economy- Based Schooling (Phase I). Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)
Buonani, C., Rosa, C. S., Diniz, T. A., Christofaro, D. G., Monteiro, H. L., Rossi, F. E.,…Forte, I. (2013).Physical activity and body composition in menopausal women.Rev Bras Ginecol Obstet, 35, 153-158.
Colditz, G. A., Willett, W. C., Rotnitzky, A., & Manson, J. E. (1995). Weight gain as a risk factor for clinical diabetes mellitus in women. Annals of internal medicine, 122(7), 481-486.
Han, T. S., Tajar, A., & Lean, M. E. J. (2011). Obesity and weight management in the elderly. British medical bulletin, 97(1), 169-196.
Kim, T. N., & Choi, K. M. (2014). Sarcopenia: Definition, Epidemiology, and Pathophysiology. Journal of Bone and Mineral Metabolism, 20, 1-10.
Lee, B. A., Kim, J. G., & Oh, D. J. (2013). The effects of combined exercise intervention on body composition and physical fitness in elderly females at a nursing home. Journal of exercise rehabilitation, 9(2), 298.
Oh, C., No, K.J. & Kim, S.H. (2014). Dietary pattern classifications with nutrient intake and body composition changes in Korean elderly. Nutrition Research and Practice, 8, 192-197.
Regitz-Zagrosek, V., Lehmkuhl, E., & Weickert, M. O. (2006). Gender differences in the metabolic syndrome and their role for cardiovascular disease. Clinical Research in Cardiology, 95(3), 136-147.

Downloads

Published

2020-01-23

How to Cite

Potjamanpong, P. (2020). Guidelines for Health Promotion: Body Composition of the Elderly Members of the Health Promotion and Rehabilitation Center, Faculty of Nursing, Prince of Songkhla Univers. Journal of Nursing, Siam University, 20(39), 73–87. https://doi.org/10.14456/jnsu.v20i39.198110