Mental Health of Caregiver in Bed–Bound Elders in Wapipathum District, Mahasarakham Province.
DOI:
https://doi.org/10.14456/jnsu.v20i39.152288Keywords:
Caregivers/ Mental Health/ Bed-Bound EldersAbstract
การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและประเมินปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ศึกษาในกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 106 ราย เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2561 ถึง 30 เมษายน 2561 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.4 มีอายุระหว่าง 40–49 ปี ร้อยละ 29.3 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 78.3 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 56.6 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 57.6 มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท ร้อยละ 52.0 รายได้ส่วนใหญ่มีไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ร้อยละ 76.4 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 67.0 มีระยะเวลาการนอนหลับน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 50.0 มีความรู้สึกไม่เป็นภาระในการดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 56.6 ไม่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในอดีต ร้อยละ 59.4 มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ร้อยละ 94.3 กลุ่มที่มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ได้รับแหล่งความรู้มาจากแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทีมสุขภาพ ร้อยละ 41.4 และความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุติดเตียงกับผู้ดูแล ส่วนใหญ่เป็นบุตร ร้อยละ 41.5 และภาวะสุขภาพจิต ของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง พบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงไม่มีปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 59.4 และมีปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 40.6
เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการประเมินติดตามสุขภาพจิตของผู้ดูแล ตลอดจนให้กำลังใจ สร้างภาคีเครือข่าย ให้การช่วยเหลือสนับสนุนกับผู้ดูแลที่มีเพศหญิง กลุ่มวัยกลางคนที่มีอายุระหว่าง 40–49 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้น้อย รายได้ส่วนใหญ่มีไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ไม่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในอดีต และกลุ่มที่มีความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ดูแลที่น่าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าผู้ดูแลกลุ่มอื่น
References
2. ทรงลักษณ์ เกตุอังกุล. (2551). ภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร. การค้นคว้าแบบอิสระ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3. บุษรา ศรีสุพัฒน์. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาก่อนการจำหน่าย. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
4. ฐานข้อมูลเวชระเบียนโรงพยาบาลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. (2559). จำนวนประชากรอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ปี 2559. โรงพยาบาลวาปีปทุม.
5. อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ ปราโมทย์ ประสาทกุลและปัญญา ชูเลิศ. (2553). สถานการณ์สุขภาพจิตคนไทย ภาพสะท้อนสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: บริษัท จรัสสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด
6. ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2539). ความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 41(1), 2–17.
7. Goldberg DP. (1978). Manual of the General Health Questionnaire. Windsor, England: NFER-NELSON Publishing Co. Ltd.
8. Goldberg, DP. (1988). A user's guide to the General Health Questionnaire. Windsor, England: NFER-NELSON Publishing Co. Ltd.
9. Stajduhar KI. Factors influencing family caregivers’ ability to cope with providing end of life cancer care at home. Cancer Nursing 2008; 31(1): 77-85.
10. เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
11. Choi KS, Kim HS, Kwon SU, Kim JS. (2005). Factors Affecting the burden on caregivers of stroke survivors in South Korea. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation. 86(5), 1043–1048.
12. ธงชัย คูเพ็ญวิจิตตระการ. (2553). บทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลตำบลบ้านปลวกแดง อำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยอง. การศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
13. วราภรณ์ จิธานนท์. (2547). สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
14. Barreto Belasco AG, Sesso R. (2002). Burden and quality of life of caregivers for hemodialysis patients. American Journal of Kidney Diseases. 39(4), 805–812.
15. Cameron JI, et al. (2006). Stroke survivors behavioral and psychologic symptoms are associated with informal caregivers experiences of depression. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation. 87(2), 177–183.
16. รสรณ์รดี ภาคภากร. (2554). ความชุก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17. Ana Soto-Rubio, et al. (2017). Frail elderly with and without cognitive impairment at the end of life: their emotional state and the wellbeing of their family caregivers. Archives of Gerontology and Geriatrics.
18. สมพร ปานผดุง, กิตติกร นิลมานัต และ ลัพณา กิจรุ่งโรจน์. (2556). ความผาสุกทางจิตวิญญาณของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวชระยะลุกลาม ในโรงพยาบาล. บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4.
19. Honda A, et al. (2014). Caregiver burden mediates between caregiver’s mental health condition and elder’s behavioral problems among Japanese family caregivers. Aging and Mental Health. 18(2), 248–254.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Content and information published in the Journal of Nursing, Siam University is the comment and responsibility of the authors.
Articles, information, images, etc. published in the Journal of Nursing. Siam University is the copyright of the Journal of Nursing, Siam University. If any person or entity wants to take all or part of it for publication for any purposes, please reference the Journal of Nursing, Siam University.