กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เข้ารับการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
To study the nursing process for patients with coronary artery disease who undergo coronary angiography using a computerized x-ray machine before the examination, during the examination, and after the examination.
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยโรคโรคหลอดเลือดหัวใจ, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดหัวใจ, สารทึบรังสีบทคัดย่อ
บทนำ: โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบมากอันดับต้นๆ ของโลก หากเกิดโรคซ้ำอีกจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ง่าย การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นสามารถวินิจฉัยได้แม่นยำรวดเร็ว แต่ในการตรวจต้องควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจไม่ให้เร็วเกิน 65 ครั้งต่อนาทีเพื่อให้การตรวจสำเร็จและต้องฉีดสารทึบรังสีด้วยความเร็วสูง จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายรุนแรงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ก่อนตรวจ ขณะตรวจ และหลังตรวจ
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงรายกรณีในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โรงพยาบาลขอนแก่นศึกษาในช่วงมิถุนายน 2566 ถึง พฤศจิกายน 2566 จำนวน 2 ราย ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ประเมินภาวะสุขภาพตาม 11 แบบแผนของกอร์ดอน ให้การพยาบาลตามทฤษฎีการพยาบาล
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาทั้ง 2 รายในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ให้การพยาบาลเป็น 3 ช่วงระยะการตรวจ คือก่อนตรวจ ขณะตรวจ และหลังตรวจ ในการพยาบาลช่วงก่อนตรวจ มีขั้นตอนการเตรียมตัวที่เหมือนกัน แต่จากการประเมินก่อนเข้าตรวจพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ความดันโลหิตปกติ 132/95 mmHg ชีพจร 72-88 ครั้งต่อนาทีไม่สม่ำเสมอ แพทย์ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจและให้การพยาบาลตามอาการ หลังจากนั้น 30 นาที ชีพจรลดลงเป็น 65-75 ครั้งต่อนาที กรณีศึกษารายที่ 2 ความดันโลหิตสูง 168/72 mmHg ชีพจร 72 ครั้งต่อนาที ให้กินยาลดความดันที่กินเป็นประจำและให้การพยาบาลตามอาการหลังจากนั้น 30 นาที ค่าความดันโลหิตลดเป็น 140/82 mmHg ชีพจร 65 ครั้งต่อนาที ซึ่งในขั้นตอนนี้ให้การพยาบาลแตกต่างกันตามอาการที่ประเมินได้ และเมื่ออาการผู้ป่วยคงที่จึงสามารถเข้าตรวจได้ ขณะเข้าตรวจและหลังการตรวจให้การพยาบาลเหมือนกันทั้ง 2 รายกรณี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และได้รับการวินิจฉัยทันเวลา
References
Thaiheart.org [Internet]. Coronary artery disease. [updated 2020 Dec 9; cited 2023 Dec 27]. Available from: http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/CADGuideline.pdf
World Health Organization [Internet]. The top 10 causes of death. [updated 2020 Dec 9; cited 2023 Dec 27]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death
Epidemiology Division, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Coronary Artery Disease (CAD) Report 2022.
Medical Informatics Subdivision, Khon Kaen Hospital [Internet]. Annual Report 2018-2023. [updated 2023 May 31; cited 2023 Dec 27]. Available from: https://www.kkh.go.th/mig_category/migkkh-manage/
Charin Auewilaijit. Angiography. 1st Edition. Bangkok: Holistic Publishing; 1999.
Thanongchai Siriaphisit. Cardiovascular Computed Tomography. 1st Edition. Bangkok: Siriwat Interprint; 2011.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ กลุ่มภารกิจด้านพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลขอนแก่น หรือบุคลากรในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว