การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ)
  • The submission file is in Microsoft Word document file format.
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้ส่งบทความลงพิมพ์
ประเภทของเรื่องที่จะตีพิมพ์
1. รายงานผลการวิจัย หรือรายงานการค้นคว้าและการสำรวจในด้านการพยาบาลหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ทำขึ้นใหม่ (original article) ทั้งนี้จะต้องเป็นการศึกษาที่ส่งประโยชน์ ทางการพยาบาล การศึกษาพยาบาลหรือการดูแลสุขภาพ
2. บทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและการดูแลสุขภาพสาขาต่างๆ หรือวิชาชีพการพยาบาลฯที่มีเนื้อหาทันสมัย นำเสนอองค์ความรู้ละข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ


การเตรียมต้นฉบับ
1. ต้นฉบับที่จะส่งมาลงพิมพ์ในวารสารการพยาบาลโรงพยาบาลขอนแก่น ต้องไม่เป็นเรื่องที่เคยตีพิมพ์หรือ
กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น
2. ต้นฉบับ ต้องส่งเข้าในฐานข้อมูล ICT Thaijo ของวารสารการพยาบาลโรงพยาบาลขอนแก่น และส่งเข้าใน E-mail: NJKKH_nso@gmail.com
3. จัดเตรียมต้นฉบับโดยมีเนื้อหาบทความที่มีความยาวไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 14 ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า เว้นระยะขอบบน ล่าง ซ้าย และขวา 2.54 ซ.ม.พร้อมทั้งเบอร์โทรและ E-mail ของเจ้าของต้นฉบับที่สามารถติดต่อได้

4. บทคัดย่อภาษาไทยและ Abstract ภาษาอังกฤษจะต้องมีความยาวไม่เกินอย่างละ 250 คำ
5. ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความเพื่อขอตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ต้องสมัครเป็นสมาชิกวารสารการพยาบาลโรงพยาบาลขอนแก่น

รูปแบบของการเตรียมต้นฉบับ
1. บทความวิชาการ เรียงลำดับดังนี้
1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ควรจะสั้นได้ใจความและสอดคล้องกับเนื้อหาในเรื่อง ต้องไม่ระบุสถานที่ และคำเฉพาะในหัวข้อและเนื้อเรื่อง โดยพิมพ์ไว้หน้าแรกและมีชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ
1.2 ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมงาน (Author and Co-authors) ต้องระบุชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมวุฒิการศึกษาสูงสุด ตัวอย่างเช่น กรัณย์พิชญ์ โคตรประทุม ปร.ด.*, Karunpich Kotpratum PhD* และผู้ร่วมงานอยู่ใต้ชื่อเรื่อง โดยเยื้องไปทางขวามือ ส่วนตำแหน่งและสถาบันหรือสถานที่ทางานของผู้เขียน พิมพ์ไว้เป็นเชิงอรรถของหน้าแรก
2. รายงานผลการวิจัย เรียงลำดับดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย วุฒิการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเช่นเดียวกับรูปแบบการเขียนบทความข้างต้น
2.2 บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ไม่เกินอย่างละ 250 คำ ให้ครอบคลุมหัวข้อดังนี้ ที่มาและความสำคัญ (introduction), วิธีดำเนินการศึกษา (methods), ผลการศึกษา (results), สรุป


ผลการวิจัยและการนาไปใช้ (conclusion and application)
2.3 คำสำคัญ (Keywords) เป็นคำหรือข้อความ สั้น ๆ ที่เป็นจุดสำคัญของเนื้อเรื่องทั้งหมดรวมกันแล้วไม่เกิน 5 คำ อยู่ในหน้าเดียวกันกับบทคัดย่อเหนือเชิงอรรถ (Foot note) ต้องกำหนดคำสำคัญที่เป็นสากลสามารถสืบค้นได้ เช่น กำหนดตาม Medical subject headings (MeSH)
2.4 บทนำ (Introduction) กล่าวถึง ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยอย่างสั้นๆ ที่ครอบคลุมตัวกระตุ้นจากความรู้ (knowledge trigger) จากการปฏิบัติงาน (practice trigger) และ/หรือจากผู้ใช้บริการ (patient trigger) มีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแบบบูรณาการเกี่ยวกับเรื่องที่ทาอย่างย่อๆ สะท้อน

สถานะองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการศึกษาและจุดอ่อนในองค์ความรู้ (gap of knowledge) และ/หรือจุดอ่อนในการปฏิบัติงาน (gap of practice) และวัตถุประสงค์การวิจัย ขอบเขตการวิจัย และกรอบแนวคิดในการวิจัย

2.5 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) ให้กล่าวถึง
- ชนิดของการวิจัย (research design)
- สถานที่และวันเวลาที่ศึกษา
- กลุ่มประชากร และกลุ่มตัวอย่าง อธิบายลักษณะ การกาหนดขนาดตัวอย่าง และเกณฑ์การเลือกตัวอย่าง
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล อธิบายรายละเอียดเครื่องมือ การแปลผลคะแนน การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทั้งความตรง ความเชื่อมั่นและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- เครื่องมือในการทดลองหรือแนวปฏิบัติ (กรณีการวิจัยแบบทดลอง) อธิบายองค์ประกอบ เนื้อหา วิธีการใช้ และการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
- การเก็บรวบรวมข้อมูล ระบุวิธีการและขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อสะท้อนให้เห็นคุณภาพของข้อมูลและมาตรฐานในการดำเนินการศึกษา
- การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ระบุสถิติที่ใช้และขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเชิงคุณภาพระบุวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผลการวิเคราะห์
- จริยธรรมการวิจัย ระบุองค์กรที่พิจารณาจริยธรรมการวิจัย และรหัสหรือหมายเลขของเอกสารอนุมัติจริยธรรมการวิจัย งานวิจัยที่ไม่ได้ขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยจะไม่ได้รับการลงตีพิมพ์
2.6 ผลการวิจัย (Results) รายงานผลการวิจัยเป็นคำบรรยายและตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย อาจแยกเป็นหัวข้อเพื่อให้เข้าใจง่าย หากมีตารางจะต้องไม่เกิน 2 ตาราง ซึ่งต้องไม่มีเส้นแนวตั้งบรรจุข้อมูล ที่สรุปจากผลอย่างชัดเจนให้พอเหมาะกับหน้ากระดาษในแนวตั้ง หัวข้อของตารางอยู่ด้านบนของตาราง และควรมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลที่นำเสนอ และตัวเลขให้ใช้ทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง กรณีรูปภาพ ใช้ภาพถ่ายที่มีความชัดเจน ที่ผู้นิพนธ์เป็นเจ้าของภาพขนาดโปสการ์ด ใส่คาอธิบายรูปไว้ใต้ภาพ
2.7 การอภิปรายผล (Discussion) เริ่มด้วยการสรุปผลการวิจัยสั้นๆ ทบทวนว่าผลการวิจัยตอบคำถามการวิจัยหรือไม่ อภิปรายแนวคิดที่นามาใช้ในการวิจัย อธิบายเหตุผลที่ผลการวิจัยออกมาดังที่เป็น และเปรียบเทียบผลการวิจัยกับงานวิจัยอื่น ระบุหากผลการวิจัยมีสิ่งค้นพบใหม่และอธิบายที่มาหรือเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ระบุจุดแข็งของการวิจัย ข้อจากัดของการวิจัย (ถ้ามี) และผู้วิจัยได้ดำเนินการอย่างไรเพื่อลดผลกระทบของข้อจำกัดดังกล่าว
2.8 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) เป็นการกล่าวถึงข้อเสนอแนะจากการวิจัย ทั้งในด้านการให้บริการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ หากเป็นวิจัยเชิงทดลอง ระบุว่าการทดลองมีผลมากน้อยเพียงใดต่อสถานการณ์หรือปัญหาของผู้ป่วยที่ต้องการแก้ไข (clinical significance) และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด (practical significance) และข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาต่อไป ผู้วิจัยควรให้ข้อเสนอแนะที่มาจากผลการวิจัยเท่านั้น
2.9 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) เป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนงานวิจัยนั้น ๆ แต่มิได้เป็นผู้ร่วมงาน

2.10 เอกสารอ้างอิง (References) เอกสารอ้างอิงจาเป็นต้องปรากฏทั้งการเขียนบทความและ  รายงานผลการวิจัยมีรายละเอียดในการเขียนดังนี้


การเขียนเอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิงต้องอ้างเฉพาะเอกสารที่ตรงกับสาระในบทความจริงและให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แม้ว่าต้นฉบับเอกสารนั้นจะเป็นภาษาอื่นก็ตาม การเขียนเอกสาร
อ้างอิงต่างๆ ให้ใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouvers’ style) ซึ่งนิยมใช้ในวารสารทั่ว ๆ ไปดังนี้ การอ้างเอกสารในเนื้อเรื่อง ถ้าอ้างผลงานหรือคัดลอกข้อความของผู้แต่งคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ การอ้างอิงให้ใส่หมายเลขกำกับไว้ข้างท้ายข้อความที่คัดลอกมา โดยตัวเลขพิมพ์ด้วยตัวยก หมายถึงลำดับที่ของการเรียงเอกสารอ้างอิงที่อ้างไว้ในท้ายบทความซึ่งต้องเขียนให้ตรงกัน การเรียงหมายเลข ให้เริ่มต้นด้วย เลข 1 แล้วเรียงลำดับไปเรื่อย ๆ หากมีการอ้างอิงหรือคัดลอกข้อความนั้นซ้ำให้ใช้หมายเลขเดิมตามที่อ้างอิงในครั้งแรกกำกับไว้หลังข้อความนั้นด้วยตัวอย่าง แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอ เลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันสำหรับสหสาขาวิชาชีพโดยเน้นการประเมินผู้ป่วยโดยยึดหลัก Air way, Breathing &Circulation (ABC)5 ……… แต่กลับพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยในการได้รับยา rt-PA นับแต่เริ่มมาถึงโรงพยาบาล (Door to needle time, DTN) เพิ่มขึ้น (50, 54, 66 นาที ตามลำดับ)6,7


การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
เอกสารอ้างอิงต้องอ้างเฉพาะเอกสารที่ตรงกับสาระในบทความจริง และให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ
ทั้งหมดแม้ว่าต้นฉบับเอกสารจะเป็นภาษาอื่น
เอกสารอ้างอิงจากวารสาร การเขียนเอกสาร อ้างอิงที่เป็นวารสาร ประกอบด้วย หมายเลขลำดับ
การอ้างอิง
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร ปีที่พิมพ์; ฉบับที่ : หน้า.
หากมีผู้เขียนจำนวน 1-6 คนให้เขียนชื่อทุกคน ถ้ามากกว่านั้นให้เขียนชื่อคนที่ 1 ถึง 6 และคณะ.
แทน
ตัวอย่างการอ้างอิงจากวารสาร
Suwatcharangkoon, S. Management of stroke patients with increased intracranial
pressure. Thai Stroke Society; 2015; 14(2): 94-101.
ตัวอย่างการอ้างอิงจากหนังสือ
Kemmis, S., & McTaggart, R. Participatory action research: Communicative action and
the public sphere. In N. K. Denzin & Y. S. Lincoln (Eds.), The Sage handbook of qualitative
research; 2005; 559–603.
ตัวอย่างการอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต
International Health Policy Programmed, National Economic and Social, National Statistical Office, Ministry of Public Health. National health account in Thailand 1994-2001
[database on the Internet]. 2010 [cited 2010 Jan 2]. Available from:
http://www.ihppthaigov.net/index.php
ข้อตกลง
1. กองบรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกเรื่องเพื่อตีพิมพ์ให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของวารสารฯและต้องได้รับการรับรองจากกรรมการจริยธรรม
2. เรื่องที่ตีพิมพ์แล้วเป็นสมบัติของวารสารและเป็นผู้สงวนลิขสิทธิ์ในทุกประการ

3. ความถูกต้องของข้อความหรือเรื่องราวที่ตีพิมพ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน
4. บทความที่ได้รับตีพิมพ์ทุกชนิด ถือเป็นวิทยาทาน ไม่มีค่าตอบแทน แต่กองบรรณาธิการจะส่ง
วารสารที่ตีพิมพ์บทความนั้นให้ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ

สถานที่ติดต่อปรึกษาและส่งต้นฉบับ
1. กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทร. 043-009900 ต่อ 1125 E-mail : njkkhnso@gmail.com

2.ดร.กรัณย์พิชญ์ โคตรประทุม รองบรรณาธิการวารสารพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทร. 094-5265995 โทร. 043-009900 ต่อ 1403, 3747 E-mail : karunpich19@gmail.com

นิพนธ์ต้นฉบับ

รายงานผลการวิจัย หรือรายงานการค้นคว้าและการสำรวจในด้านการพยาบาลหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพที่
ทำขึ้นใหม่ (original article) ทั้งนี้จะต้องเป็นการศึกษาที่ส่งประโยชน์ ทางการพยาบาล การศึกษาพยาบาล
หรือการดูแลสุขภาพ

บทความวิชาการ

บทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและการดูแลสุขภาพสาขาต่างๆ หรือวิชาชีพการพยาบาลฯ
ที่มีเนื้อหาทันสมัย นำเสนอองค์ความรู้ละข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ