กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยที่ตรวจการทํางานของระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • Ratiorn Pornkuna -

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 บทนำ   การใช้สารทึบรังสีในการตรวจทางรังสีวิทยาในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในการทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ มีโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้สารทึบรังสี หรือบางรายอาจเสียชีวิตจากการแพ้ได้ การเฝ้าระวังติดตามอาการอย่างใกล้ชิดในทุกระยะของการตรวจ ให้การช่วยเหลือที่รวดเร็ว และปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลได้อย่างถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอนจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย และได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ตรวจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ

วิธีการศึกษา  เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยที่ตรวจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำจำนวน 2 ราย วิเคราะห์การใช้กระบวนการพยาบาล

ผลการศึกษา  กรณีศึกษาทั้ง 2 รายในผู้ป่วยที่ตรวจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย พบว่ามีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่เหมือนกันทั้งหมด 6 ข้อ ในระยะก่อนตรวจ ได้แก่ 1) มีภาวะวิตกกังวลต่อวิธีการตรวจวินิจฉัยโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำเนื่องจากขาดความรู้จากการตรวจวินิจฉัยด้วยสารทึบรังสี  ในระยะตรวจ ได้แก่ 2) มีภาวะเสี่ยงต่อความรุนแรงในการแพ้สารทึบรังสี 3) มีโอกาสเกิดภาวะรั่วซึมของออกนอกหลอดเลือดดําของสารทึบรังสี และในระยะหลังตรวจ ได้แก่ 4) มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ 5) เสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับไตเนื่องจากการทำงานของไตบกพร่องระยะต้น 6) ผู้ป่วยบกพร่องความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องหลังได้รับสารทึบรังสี ส่วนการวินิจฉัยทางการพยาบาลที่แตกต่างกัน จำนวน 2 ข้อคือในระยะก่อนตรวจ ได้แก่ 1) เลื่อนการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินปัสสาวะด้วยการฉีดสารทึบรังสีเนื่องจากการเตรียมตัวด้านร่างกายก่อนตรวจไม่ถูกต้อง ในผู้ป่วยรายที่ 1 ที่เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ที่มีปัญหาการหลงลืมและไตวายเรื้อรัง และ 2) มีความกลัวต่อผลการตรวจวินิจฉัย ในผู้ป่วยรายที่ 2 ที่เป็นผู้ป่วยวัยแรงงานนั้นมีความกลัวต่อผลการตรวจวินิจฉัย  ผลลัพธ์การพยาบาลพบว่าทุกปัญหาได้รับการแก้ไข ผู้ป่วยทั้ง 2 รายไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่เกี่ยวกับไต การได้รับการตรวจวินิจฉัยมีความชัดเจนแม่นยำ และสามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้

การนำไปใช้ประโยชน์ ผลการศึกษานำไปพัฒนาต่อเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาล คู่มือการเตรียมผู้ป่วยและการนิเทศทางคลินิก และการวิจัยเชิงทดลองเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพยาบาลได้

 

คำสำคัญ  การตรวจ X-ray ฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous Pyelography , IVP)

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

References

เอกสารอ้างอิง

Johnston A. Lodinated contrast media. Radiopaedia [Internet]. 2021 [cited 2021 Jun 2].Availablefrom:https://radiopaedia.org/articles/iodinated-contrast-media-1.

ACR Manual on Contrast Media. ACR Manual on Contrast Media. ACR Committee on Drugs and Contrast Media, 2017. [Link].

Caschera L, Lazzara A, Piergallini L, Ricci D, Tuscano B, Vanzulli A. Contrast Agents in Diagnostic Imaging: Present and Future. Pharmacol Res. 2016;110:65-75. doi:10.1016/j.phrs.2016.04.023.

Pattharanitima , Tasanarong A. PharmacologicalStrategies toPrevent Contrast-Induced Acute Kidney Injury. BioMed Research International. 2014; 2014:1–21.

Davenport M, Wang C, Bashir M, Neville A, Paulson E. Rate of Contrast Material Extravasations and Allergic-Like Reactions: Effect of Extrinsic Warming of Low-Osmolality Iodinated CT Contrast Material to 37°C. Radiology. 2012;262(2):475-84. doi:10.1148/radiol.11111282.

Radiology Info.org [Internet]. Radiological Society of North America, Inc.; c2022. X-ray, Interventional Radiology and Nuclear Medicine Radiation Safety; [reviewed 2021 Feb 8; cited 2022 Dec 22]. Available from: https://www.radiologyinfo.org/en/info.cfm?pg=safety-radiation

Mehta SR, Annamaraju P.2022. Intravenous Pyelogram. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK559034/.

Thailand Nursing and Midwifery Council. Nursing and midwifery council announcement. Prohibiting drugs or intravenous solutions [Internet]. 2021 [cited 2021 Jun 1]. Available from: https://www.tnmc.or.th/ images/userfiles/files/H015.pdf.

American College of Radiology (US). ACR manual on contrast media. Washington: The Institute; 2021.

Radiology Info.org [Internet]. Radiological Society of North America, Inc.; c2022. Intravenous Pyelogram (IVP). Available from: https://www.radiologyinfo.org/en/info.cfm?pg=ivp.

Orem, D. (2001). Nursing: Concepts of practice. (6th ed.). In McEwen, M. and Wills, E. (Ed.). Theoretical basis for nursing. USA: Lippincott Williams & Wilkins.

Gordon, M. (1994). Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill.

Stuck AE, Siu AL, Wieland GD, Adams J, Rubenstein LZ. Comprehensive geriatric assessment: a meta-analysis of controlled trials. Lancet. 1993;342:1032–6.

Jittranun K, Poonsap S, and Aunyamanee W. Nursing care of patients with contrast media extravasation. Journal of Nursing Science & Health.2021;44(4):95-106.

McDonald JS, McDonald RJ, Carter RE, Katzberg RW, Kallmes DF, Williamson EE. Risk of intravenous contrast material-mediated acute kidney injury: a propensity score-matched study stratified by baseline-estimated glomerular filtration rate. Radiology 2014;271:65-73.

Orem, D. (1991). Nursing: Concepts of practice. (4th ed.). In George, J. (Ed.). Nursing theories: the base for professional nursing practice. Norwalk, Connecticut: Appleton & Lange.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-12