กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อค: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • lumyoun Prateepmaeung -

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ความเป็นมา:การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะฉุกเฉินทางนรีเวชที่มีความเสี่ยงสูง ในสตรีวัยเจริญพันธุ์หากเกิดการแตกของท่อนำไข่จะทำให้เกิดภาวะช็อคจากการตกเลือดในช่องท้อง อาจทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงต้องมีการดูแลและสังเกตอาการโดยพยาบาลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องในการดูแลหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกให้ได้ตามมาตรฐานการพยาบาล

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก จำนวน 2 ราย

วิธีการศึกษา:เป็นกรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นปี2565 โดยศึกษาจากประวัติการรักษาพยาบาล ข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติและเวชระเบียน ใช้แบบประเมิน 11 แบบแผนของกอร์ดอน นำมากำหนดข้อวินิจฉัยของกาพยาบาล และแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอนตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย

ผลการศึกษา:กรณีศึกษาที่1 หญิงไทยวัยเจริญพันธุ์อายุ31ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่4มาด้วยอาการปวดท้องน้อยด้านขวามาก หายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย ท้องเสีย เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลชุมชนตรวจอัลตร้าซาวด์พบการตั้งครรภ์นอกมดลูกบริเวณท่อนำไข่ข้างขวาแตกมีภาวะช็อค ใส่เครื่องช่วยหายใจแล้วส่งตัวมารักษาโรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับการผ่าตัดด่วน หลังผ่าตัดฟื้นดี รู้ตัวดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆรวมระยะการรักษาตัวในโรงพยาบาล 4วัน กรณีศึกษาที่2 เป็นหญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ อายุ36ปีตั้งครรภ์ที่3 มาด้วยอาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายมา 3วันปวดไม่รุนแรงจึงไม่มาโรงพยาบาลต่อมามีอาการเวียนศรีษะหน้ามืดล้มกระแทกพื้น ปวดท้องน้อยรุนแรงขึ้นจึงไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์และมีอาการช้อคร่วมด้วยให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะแท้งคุกคามช่วยเหลือเบื้องต้นจึงส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลขอนแก่น ซึ่งการพยาบาลที่สำคัญอันดับต้นในผู้ป่วยทั้ง 2 รายคือ เสี่ยงต่อการเกิด hypovolemic shock เนื่องจากภาวะตกเลือดในช่องท้องจากการแตกของถุงท้องนอกมดลูก มีโอกาสเลือดออกซ้ำในช่องท้อง ในผู้ป่วยทั้ง 2 รายต้องได้รับการผ่าตัดด่วน รายแรกมีชีพจรเร็วก่อนเกิดภาวะช็อค(shock) ในรายที่2 มีภาวะช็อค(shock)และได้รับการแก้ไข  ซึ่งการพยาบาลที่สำคัญรองลงมาคือการพยาบาลหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยรายแรกต้องใช้เครื่องช่วยหายใจต่อเนื่อง จากเสียเลือดมากร่วมกับมีตัวนำออกซิเจนน้อย การพยาบาลจึงต้องเฝ้าระวังการแลกเปลี่ยนออกซิเจน การพยาบาลทั้ง2รายที่สำคัญในระยะนี้คือ การประเมินภาวะช็อคและความปวดเพื่อแก้ไขภาวะช็อคและบรรเทาความไม่สุขสบายจากอาการปวดให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและกระตุ้นambulationในวันที2เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น อีกทั้งยังต้องเฝ้าระวังสัญญาณชีพ เนื่องจากมีโอกาสเกิดเลือดออกในช่องท้องซ้ำได้อีก

สรุป:หญิงตั้งครรภ์ 2 ราย มีการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ตำแหน่งท่อนำไข่ส่วนที่เป็น Ampulla part ซึ่งรายที่1 ได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินเร่งด่วนและ รายที่2ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ทักษะความชำนาญเป็นพิเศษ ในการประเมินอาการ การประสานงานในทีม ให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและถูกต้อง รวดเร็วตามกระบวนการพยาบาลได้มาตรฐาน ประเด็นสำคัญในการพยาบาลคือ ให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะวิกฤตฉุกเฉิน ผลลัพธ์การพยาบาลคือ ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ขณะรับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล

คำสำคัญ : ท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูกแตก    ภาวะช็อคจากการเสียเลือดหรือขาดสารน้ำ

 

References

เอกสารอ้างอิง

ธีระ ทองสม,จตุพล ศรีสมบูรณ์,อภิชาต โอฬารรันชัย. นรีเวชวิทยาฉบับสอบบอร์ด (พิมพ์ครั้งที่ 3)กรุงเทพฯ: พีบี ฟอเรนบุ๊คเซยเตอร์,2551

นันทนาธนาโนวรรณ.ตำรวจพยาบาลนรีเวช(ฉบับองค์รวม). กรุงเทพ:วี.เจ.พริ้นติ้ง,2553.

ปริญญา ราชกิจ. การตั้งครรภ์นอกมดลูกในโรงพยาบาลลำปลายมาศ.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ-สุรินทร์-บุรีรัมย์,

จันทร์เพ็ญ สัตนวาจา, อภิญญา เพียรพิจารณ์, รัตนาภรณ์ศิริวัฒน์ชัยพร. (2553). แนวคิดพื้นฐาน

ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการ วิชาการ

สถาบันพระบรมราชชนก.

หอผู้ป่วยนรีเวช.รายงานตัวชี้วัดประจำปี 2565-2566. โรงพยาบาลขอนแก่น(สำเนาถูกต้อง).

Information Technology & Communication Center Khon Kaen Hospital. medical record and statistics Khon Kaen Hospital 2021 [Internet]. Khon Kaen: medical record and statistics Khon Kaen Hospital; 2022 [cited 2022 Aug 27]. from: http://192.168.0.222/data-center/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-12