กรณีศึกษา การพยาบาลเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยการโค้ชผ่านสื่อมัลติมีเดีย ในสถานการณ์โคโรน่าไวรัส 2019: กรณีศึกษา 2 ราย
Nursing care for children with early developmental delays by coaching through multimedia in the coronavirus disease 2019 situation: 2 case studies
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
เด็กที่พัฒนาการล่าช้าควรได้รับการกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่เริ่มแรก ยิ่งเร็วยิ่งจะเป็นประโยชน์กับเด็กมากที่สุดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า2019 ทำให้การมารับบริการกระตุ้นพัฒนาการ ในโรงพยาบาลขอนแก่นลดลง จากสถิติปี2562-2564 จำนวน 1,684 ราย,1,520ราย และ 1,212 รายตามลำดับ เนื่องจาก ผู้ปกครองมีความวิตกกังวลเรื่องการสัมผัสเชื้อโรค และประกอบกับปัญหา การบริการ ที่ต้อง เว้นระยะห่างในการบริการ ตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ กรณีศึกษานี้ จึงได้ปรับรูปแบบและบทบาทการให้บริการ กระตุ้นพัฒนาการเด็กที่ล่าช้าตั้งแต่เริ่มแรกที่บ้าน โดยใช้แนวคิดการโค้ช(Coaching) ผู้ปกครอง ผ่านสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมพัฒนาการ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ Early interention โดยใช้การโค้ช( coaching )ผ่านสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมพัฒนาการ ในเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019 ได้แก่ ระดับพัฒนาการของเด็ก พฤติกรรมและอารมณ์ ระดับความเครียดและซึมเศร้าของผู้ปกครอง โดยเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการฝึก วิธีดำเนินการเป็นการศึกษารายกรณี จำนวน 2 ราย ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน 2564 – กรกฎาคม 2565ขั้นตอน ได้แก่ เลือกกรณีศึกษาแบบสมัครใจตามเงื่อนไขที่กำหนด ทบทวนเอกสารและวรรณกรรม ประเมินภาวะสุขภาพ ตรวจประเมินพัฒนาการ รวบรวมข้อมูลประวัติครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูล ปฏิบัติการตามแผน อภิปรายผลสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่าเด็กทั้ง 2 ราย มีระดับพัฒนาการดีขึ้น จากแบบประเมิน Denver II , TEDA4I และ DSPM โดยรายที่1 มีพัฒนาการสมวัย รายที่2 ยังมีปัญหาการพูดล่าช้ากว่าอายุจริง 6 เดือนแต่คะแนนการประเมิน PDDSQ ปกติ ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ สามารถลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้ปกครองได้ ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้ ควรนำไปพัฒนารูปแบบ Early Intervention ในคลินิกกระตุ้นพัฒนาการในรายที่มีความล่าช้าอย่างชัดเจน และเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และทักษะการโค้ช(Coaching)ให้พยาบาลคลินิกพัฒนาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำสำคัญ Early intervention การโค้ช(Coaching) เด็กพัฒนาการล่าช้าสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมพัฒนาการ
References
เอกสารอ้างอิง (Reference )
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จุฬารัตน์ ห้าวหาญ และอรชร อินทองปาน. (2558). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนา
ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข,
(1), 166-177.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2559). หน่วยที่ 3 การคัดกรองเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ. ใน: เอกสารการสอนชุดวิชา การดูแลเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ 21010 (10203010) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1-7. สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี; หน้า 3-(1-51).
รุ่งอรุณ บุตรศรี และคณะ.(2563). ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน,26(2),84-95.
รายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปี 2562 . เสนอโดยคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่ม กระทรวง คณะที่ 2
รายงานการรวิเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยปี2564 .สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
วิตมอร์, จอห์น. (2010). โค้ชชิ่งกลยุทธ์การโค้ชเพื่อพิชิตเป้าหมายอย่างมืออาชีพ.[Coaching for performance] (วุฒินันท์ ชุมภู, ผู้แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2562).คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (Thai Early Developmental Assessment for Intervention : TEDA4I).กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.(2563).รายงานประเมินผลโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็กพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ดำเนินการเป็น เวลา 5 ปีในปี 2563
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). พัฒนาการเด็ก. จาก https://www.happyhomeclinic.com/sp02-development.htm
https://www.youtube.com/channel/UCwcqnzqJTIZ1flBj8PH6SAg/videos (วิดีโอ TEDA 4I )
https://www.youtube.com/watch?v=sfW2mKtf9BM&list=PLOk5UpV98jPBXnbMMkTB6-EP0ZVzhE2b8 (วิดีโอ dspm)
https://www.youtube.com/watch?v=Qy-CF5NXHJI
https://www.youtube.com/watch?v=Uxubg0hcJXo
https://www.youtube.com/watch?v=okPqUw2imQU
https://www.youtube.com/watch?v=h1kEGf2zPpo
https://www.youtube.com/watch?v=JkzEs73J9I8
http://www.coachatwork.in.th/coach_knowledge4.php
https://www.leadershipforfuture.com
https://coachnapoleonhill.com/blog/coaching/coaching
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ กลุ่มภารกิจด้านพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลขอนแก่น หรือบุคลากรในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว