การพยาบาลเด็กโรค Spinal muscular atrophy ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • apinya rongmuang -

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาล, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, ผู้ป่วยเด็กใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน

บทคัดย่อ

บทนำ ผู้ป่วยเด็กโรค Spinal muscular atrophy (SMA) ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องให้การดูแลต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรค SMA ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน

วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาผู้ป่วยกรณีศึกษาผู้ป่วยเด็กโรค SMA ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน จำนวน 2 ราย เปรียบเทียบกัน

โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การซักประวัติจากผู้ดูแล การสอบถามข้อมูลจากบุคลากรประจำหอผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพ ประเมินปัญหาทางการพยาบาลโดยใช้แบบแผนการประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอน และใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์การพยาบาลใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟูและระยะวางแผนจำหน่าย

ผลการศึกษา พบข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรค SMA ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน เหมือนกันทั้งหมด 6 ข้อ ได้แก่ 1) มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ 2) มีภาวะพร่องสารน้ำ สารอาหาร 3) เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน 4) พัฒนาการล่าช้า 5) เสี่ยงต่อการการติดเชื้อของแผลเจาะคอ 6) ผู้ดูแลพร่องความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ผลลัพธ์การพยาบาลพบว่าทุกปัญหาได้รับการแก้ไขและวางแผนดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลรักษาจนกระทั่งอาการดีขึ้น และจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้

References

Saenmaneechai O. Get to know "muscle weakness", a rare disease with holistic care. Bangkok Business: Public health [Internet]. 2022. [cited 2022 Feb 1] Available from: https://www. bangkokbiznews.com/social/985789.

Information Technology Group in Khonkaen Hospital. SMA Patient Statistics in Khonkaen Hospital; 2550-2565.

Samitivej Hospital. “Musculoskeletal disease in children: SMA.” Health Choice [Internet]. 2019. [cited 2022 Feb 1] Available from: www.healthchoicebysamitivej.com/

Wattanapha P. "SMA", the silent threat that kills children, is known quickly and can be cured quickly. Bangkok Business: Public health [Internet]. 2021. [cited 2022 Feb 1] Available from: https://www. bangkokbiznews.com/social/public_health/973459

Public Health Nursing Division. Home health care guide. Bangkok: Health Office of Bangkok; 2012.

Rongmuang A. Development of a Nursing Model for Care of Pediatric Ventilated Patients at Home at Khon Kaen Hospital. Journal of Health and Environmental Education. 2020; 5(3): 69-78.

Punthasee P. Nursing process & functional health pattern: application in clinical practice. 22nd ed. Samut Prakan: Faculty of Nursing Hauchiew Chalermprakiet University; 2021

Department of Health. A Guide to Using the Growth Criteria for Children 6 - 19 Years Old. Bangkok: Made with Heart Co.,Ltd.; 2012.

Khunthong T, Santati S and Karoonboonyanan W. Development and Evaluation of Clinical Nursing Practice Guideline to Prevent Undesirable Outcomes in Caring for Children with Tracheostomy Tube at Home. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice. 2020; 7(2): 5-24.

Pichitpornchai, W. (2000) Discharge planning: Exploring current nursing practice in acute care setting in Thailand. Doctoral Dissertation, La Trobe University Australia.

Wongsamun C, Shokebumroong K. Laboratory and Nursing Examinations. 21th ed. Khon Kaen: Khon Kaen Printing; 2015.

Karnati A, Kollikonda S, Abu-Shaweesh J. Late preterm infants - changing trends and continuing challenges. International Journal of Pediatrics and Adolescent Medicine [Internet]. 2020 [cited 2021 Sep 8]; 7(1): 38-46. Available from: https://doi.org/10.1016/j.ijpam.2020.02.006

เผยแพร่แล้ว

2023-02-01