ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี แย้มศรีบัว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง https://orcid.org/0000-0001-6624-0689

คำสำคัญ:

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ , ความเครียด, ผลกระทบต่อสุขภาพกาย , ผลกระทบต่อการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์ กับผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวน 232 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการใช้สื่อสังคมออนไลน์ แบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกายและการเรียน และแบบประเมินความเครียดด้วยตนเองสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20,SPST-20) โดยเครื่องมือแบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกายและการเรียน ผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ อยู่ระหว่าง  0.67-1.00 ทุกข้อ และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และแบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกายและการเรียน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.80 และ 0.66 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับคลั่งไคล้ มีผลกระทบต่อสุขภาพกายอยู่ในระดับน้อย มีผลกระทบต่อการเรียนอยู่ในระดับน้อยที่สุด และมีผลกระทบต่อความเครียดอยู่ในระดับสูง เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับผลกระทบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ผลกระทบต่อสุขภาพกาย ผลกระทบต่อการเรียน และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<.05) ดังนั้น สามารถนำผลการวิจัย ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้สื่อสังคมออนไลน์และป้องกันผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์

References

Daigle A. Social media and professional boundaries in undergraduate nursing students. J Prof Nurs 2020;36(2):20-3.

Kaur A, Kaur A. Impact of mobile phone usage on academic stress among nursing students. Nursing & Midwifery Research Journal 2022;18(3):157-65.

Giroux CM, Moreau KA. Nursing students’ use of social media in their learning: a case study of a Canadian School of Nursing. BMC nursing 2022;21(1):195.

Sarawanawong J, Fyeted K, Ngernpoolsap D, Chantrdee W. Online social media usage behaviors of undergraduate student, Kasetsart University. Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University 2017;10(2):16-31. (in Thai)

Alharbi M, Kuhn L, Morphet J. Undergraduate nursing students' adoption of the professional identity of nursing through social media use: a qualitative descriptive study. Nurse Educ Today 2020;92:104488.

Chupradit PW, Chupradit S. The influences of social media addiction on mental health status among university students in Thailand. Suthiparithat Journal 2022;36(3),188-207. (in Thai)

Thamduengsri S. Social network usage behaviors of Rajabhat Mahasarakham University’s students [Dissertation]. Mahasarakham: Mahasarakham University; 2019.

Nowell SB, Thompson K. Relationship between social media use and sleep quality of undergraduate nursing students at a Southeastern University[dissertation]. TN: University of Tennessee;2020.

Kitisri C, Nokham R, Phetcharat K. A smartphone using behavior and health status perception of nursing students. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University 2017;5(1):19-34. (in Thai)

Vannucci A, Ohannessian CM. Social media use subgroups differentially predict psychosocial well-being during early adolescence. J Youth Adolesc 2019;48:1469-93.

Hou Y, Xiong D, Jiang T, Song L, Wang Q. Social media addiction: its impact, mediation, and intervention. Cyberpsychology: Journal of psychosocial research on cyberspace 2019;13(1):article4.

Thongmeekhaun T, Saetiaw S, Juntaveemuang V, Kitrungrote T, Paenkaew J. Online social network using behavior among nursing students of Boromarajonanicollege of Nursing, Songkhla. Journal of Nursing, Siam University 2020;21:67-77. (in Thai)

O'Connor S, Odewusi T, Smith PM, Booth RG. Digital professionalism on social media: The opinions of undergraduate nursing students. Nurse Education Today 2022;111:105322.

Zhu X, Hu H, Xiong Z, Zheng T, Li L, Zhang L, et al. Utilization and professionalism toward social media among undergraduate nursing students. Nurs Ethics 2021;28(2):297-310.

Pornnoppadol C, Vasupanrajit A. Internet addiction. Bangkok: Prayoonsanthai Printing Limited Partnership;2013. (in Thai)

Best JW. Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall;1977.

Mahatnirunkul S, Pumpaisalchai W, Tapunya P. The construction of Suan Prung Stress Test for Thai population. Journal of Suanprung Psychiatric Hospital 1998;13(3):1-20. (in Thai)

Taber KS. The use of Cronbach’s alpha when developing and reporting research instruments in science education. Res Sci Educ 2018;48:1273-96. (in Thai)

Jun-up P. Behavior and aftermath of social media usage of senior high school students in Phitsanulok [Dissertation]. Phitsanulok: Naresuan University; 2017. (in Thai)

Fauzi R, Saaiddin NI, Ibrahim NS, Abdullah SS. Effect of Social Media Addiction on Academic Performance among Nursing Students. MJN 2021;13(1):3-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-12