การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรายงานและติดตามตัวชี้วัดทางการพยาบาล
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบสารสนเทศ , ความพึงพอใจ , ตัวชี้วัดทางการพยาบาลบทคัดย่อ
องค์กรพยาบาลต้องพิจารณากำหนดตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนผลลัพธ์การบริหารองค์กร เพื่อยกระดับคุณภาพบริการการพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ ผู้บริหารสามารถติดตาม ประเมินผลได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศในการรายงานและติดตามตัวชี้วัดทางการพยาบาล 2) ศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลระดับบริหาร และพยาบาลสารสนเทศประจำหอผู้ป่วย (IT ward nurse : ITWN) ต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อรายงานและติดตามตัวชี้วัดทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลระดับบริหาร และ ITWN ต่อการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อรายงาน และติดตามตัวชี้วัดทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการเป็น 2 วงรอบ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นการสังเกต และขั้นการสะท้อนผล ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2565
กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารทางการพยาบาล จำนวน 40 คน และกลุ่มผู้วิจัยร่วม ประกอบด้วย ITWN ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 53 คน จาก 21 งานการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้วิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการประชุม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพระบบฯ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ การทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบฯและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฯ เท่ากับ 0.95 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่
ผลการวิจัยพบว่าระบบสารสนเทศเพื่อรายงานและติดตามตัวชี้วัดทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นเป็นระบบออนไลน์และรายงานผลทันเวลา ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการใช้ระบบของพยาบาลระดับบริหารและ ITWN ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.35, SD=0.498 และ =4.32, SD=0.512) ตามลำดับ ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่าควรเผยแพร่ระบบสารสนเทศเพื่อรายงานและติดตามตัวชี้วัดทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยนี้และเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น ๆ ภายในโรงพยาบาลหรือระดับคณะ เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้ข้อมูลร่วมกันมากที่สุด
References
Chanthasolid V. How to use the information communication technology case study in Mahachukalongkornrajavidyalaya University. A thematic paper submitted in partial fulfillment of the requirements [Dissertation]. Bangkok: Dhurakij Pundit University; 2017. (in Thai)
Taya K, Ngamsantivongsa P. Application of information technology as a tool for knowledge sharing and knowledge management in organizations. Def Technol Acad J 2022;3(9):4-15. (in Thai)
Sathira-Angkura T, Wongsuvansiri S, Kladjompong T. Development of guideline for nursing service development according to service plan policy: a report of the project implementation. JHS 2019;28:874-84. (in Thai)
Chaikulab T. A study of nursing outcomes indicators in acute stroke patients in community hospital [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2018. (in Thai)
Thailand Nursing and Midwifery Council. Nursing standards [Internet]. 2019 [cited 2023 Nov 1]. Royal Gazette 2019;336(47):30-6. Available from: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/A111.PDF (in Thai)
The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). Hospital and healthcare standards. 5th ed. Bangkok: K Thian Kuang Printing; 2022. (in Thai)
Jearrajinda U. Information technology that affects efficiency in operating of employees in Bangkok. JITD 2020;3(2):59-70. (in Thai)
Kankla M, Aekphet C, Charuensuk N. Development of cloud storage system for the administration of the school in Sri Lanta network under the Krabi primary educational service area office. RJPJ 2020;16(46):197-216. (in Thai)
Chinpong S, Boromtanarat C. Factors affecting the participation of personnel in service quality development according to hospital quality standards at Ronphibun hospital, Nakhon Si Thammarat province. J Health & Health Manag 2016;3(2):23-13. (in Thai)
Tunta-ariya U, Julkaew T. Development administration of public health database system in Phangnga province. Journal of Health Science 2016;25(2):315-23. (in Thai)
Baalbergen MM. Monitor KPIs with a performance dashboard. [Internet]. Enschede, Netherlands: University of Twente; 2020 [updated 2024 Jun 5; cited 2023 Dec 1]; Available from: http://essay.utwente.nl/81259/
McCance T, Lynch BM, Boomer C, Brown D, Nugent C, Ennis A, et al. Implementing and measuring person-centredness using an app for knowledge transfer: the impakt app. Int J Qual Health Care 2020;32(4):251–8.
Stair RM, Reynolds GW. Fundamental of information systems. 6th ed. USA: Course Technology, Cengage Learning; 2018.
Lamsiriwong O. System analysis and design. Bangkok: C-Education; 2017. (in Thai)
Yurarach S. Why likert?. JIM 2022;7(1):152-65. (in Thai)
Wongkasem N, Tharmmaphornphila W, Lohasiriwat H, Woratanarat T. Development of a key performance indicator reporting system for subdistrict health promoting hospital. JHSR 2014;8(3):281-91. (in Thai)
Boonkon P, Sridam U, Kumphakote A, Yongde U. Development of hospital performance indicator report system for 28-day unplanned re-admission. JHS 2019;28:131-41. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ