การพัฒนาระบบอีเลิร์นนิง เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือดสำหรับพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • สุดถนอม กมลเลิศ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นุชจรีย์ หอมนาน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สัญพิชา ศรภิรมย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัศมี ภะวะพินิจ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภาสกร เงางาม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บุษบา บุญกระโทก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุมาลี ศิริศิลป์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล , การให้เลือด , ความพึงพอใจ , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , อีเลิร์นนิง

บทคัดย่อ

ระบบอีเลิร์นนิง เป็นเครื่องมือที่หลายองค์กรนำมาใช้ในการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ของบุคลากร เนื่องจากเข้าสู่เนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว สามารถพัฒนาความรู้และทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรในรูปแบบการฝึกอบรม ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง และมีข้อจำกัดด้านบุคลากรที่ปฏิบัติงานเป็นผลัด เช้า บ่าย ดึก ไม่สามารถจัดอบรมพร้อมกันได้อย่างทั่วถึง

การวิจัยนี้ เป็นวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบอีเลิร์นนิง เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพยาบาลก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพและความพึงพอใจของพยาบาลที่มีต่อระบบอีเลิร์นนิงที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการเป็น 2 วงรอบ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นการสังเกต และขั้นการสะท้อนผลสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าศึกษา ซึ่งประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพระดับบริหาร คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต 3 ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ระหว่างเดือนมกราคม ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2566

เครื่องมือที่ใช้วิจัย ประกอบด้วย บทเรียนเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด แบบบันทึกผลการประชุม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบ และความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ พบว่า แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบอีเลิร์นนิง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนาโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพยาบาลก่อนและหลังเรียน ด้วยการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (paired t-test)

ผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์การพัฒนาได้ระบบอีเลิร์นนิงเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือดเป็นระบบออนไลน์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของพยาบาลก่อนและหลังเรียนด้วยระบบฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 พยาบาลมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของระบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation=4.22, SD=0.670) และความพึงพอใจต่อการใช้ระบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation=4.28, SD=0.654) เช่นกัน

ข้อเสนอแนะ ควรนำผลการวิจัยไปใช้ด้านการบริหารในการวางแผนพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลและติดตามการปฏิบัติจริงในหอผู้ป่วย และควรมีการศึกษาประสิทธิผลของระบบอีเลิร์นนิงเปรียบเทียบกันการเรียนรู้ระบบอื่นในด้านผลลัพธ์การเรียนรู้

References

Thacha W, jariyawat P, Pongpinyo R. E-learning development for professional learning community in mahamakut Buddhist university, Isan campus: a participatory action research. JEIL 2018;20(1):139-50. (in Thai)

Takaree S, Janthanakul P, Niwasanon, Ngamjuntratip K, Samsee S. Outcome of online learning practice management in nursing students during the epidemic situation of coronavirus 2019: case study of the comprehensive nursing. JNSU 2022;23(45):73-88. (in Thai)

Khuana K, Khuana T. Develop the online lesson (e-learning) of learning management courses for the 3rd year educational graduate student’s department of education of kamphaeng phet rajabhat university. JMND 2020;7(12):295-306. (in Thai)

Bradley VM. Learning management system (LMS) use with online instruction. IJTE 2021;4(1):68-92.

Setakhun O, Ongthongdee S. Factors affecting effectiveness of electronic learning. KUPSRJ 2018;5(1):73-92. (in Thai)

Rouleau G, Gagnon MP, Cote J, Payne-Gagnon J, Hudson E, Dubois CA, et al. Effects of e-learning in a continuing education context on nursing care: systematic review of systematic qualitative, quantitative, and mixed-studies reviews. J Med Internet Res 2019;21(10):e15118.

Lapcharoen S. Education e-learning system to develop the potential of learners in Bangkok to international standards. JMPS 2020;8(1):295-307. (in Thai)

James JMP. E-learning in nursing education. Acta Scientific Women's Health 2022;4(7):58-64.

Bismala L, Manurung YH, Sirager G, Andriany D. The impact of e-learning quality and students’ self-efficacy toward the satisfaction in the using of e-learning. Malaysian Online Journal of Educational Technology 2022;10(2):141-50.

Khon Kaen University. Faculty of Medicine. Srinagarind Hospital. Personnel database system. [Internet]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2023 [updated 2023; cited 2023 Nov 1]. Available from: https://it-nurse.kku.ac.th/person/ (in Thai)

Dechawatanapaisal D. Human resource management conceptual basis for practice. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2016. (in Thai)

Wu I, Hsieh P, Wu S. Developing effective e-learning environments through e-learning use mediating technology affordance and constructivist learning aspects for performance impacts: Moderator of learner involvement. Internet High Educ 2022;5:1-16.

World Health Organization. Educational modules on clinical use of blood. Geneva: WHO; 2021.

Khon Kaen University. Faculty of Medicine. Srinagarind Hospital. Healthcare risk management system [Internet]. 2023 [updated 2023; cited 2024 February 26]. Available from: http://164.115.42.129/hrms13777 (in Thai)

Coloccini A, Rodriguez BG, Fichman M, Mayer HF. E-learning in plastic surgery training in a developing country: Is it possible after the COVID-19 pandemic?. J Plast Reconstr Aesthet Surg 2024;88:119-21.

Chen CJ, Tsai HJ, Lee MY, Chen YC, Huang SM. Effects of a moodle-based e-learning environment on e-collaborative learning, perceived satisfaction, and study achievement among nursing students: A cross-sectional study. Nurse Educ Today 2023;130:1-9.

Meenasantirak A, Wangwun P, Siripitakchai C, Plodpluang U, Muenthaisong S. Development of wound dressing e-learning lesson for nursing student in Srimahasarakham nursing college. NJPH 2018;28(3):145-55. (in Thai)

Stair RM, Reynolds GW. Fundamental of information systems. 6th ed. USA: Course Technology, Cengage Learning; 2018.

Lamsiriwong O. System analysis and design. Bangkok: C-Education; 2017. (in Thai)

Yurarach S. Why likert? Journal of Innovation and Management 2022;7(1):152-65. (in Thai)

Klinhom N, Binheem A, Noppakhunwong T, Petsangsri S, Tuntiwongwanich S. The development of multimedia on e-learning with blended learning in e-commerce lesson for undergraduate students. IJITE 2019;1(1):90-7. (in Thai)

Ongor M, Uslusoy EC. The effect of multimedia-based education in e-learning on nursing students’ academic success and motivation: a randomised controlled study. Nurse Educ Pract 2023;71:103686.

Bunmachu D, Klungchunan T, Kaewlee P. Effects of e-learning on learning achievements of nursing student in child and adolescent nursing I, Faculty of Nursing, Ubon Ratchathani University. RHPC9 Journal 2021;15(37):352-64. (in Thai)

Bahrambeygi F, Roozbahani R, Shojaeizadeh D, Sadeghi R, Nasiri S, Ghazanchaei E, et al. Evaluation of the effects of e-learning on nurses’ behavior and knowledge regarding venous thromboembolism. Tanaffos 2019;18(4):338-45.

Kimsungnoun N, Pethtang, S. The effect of e-learning courseware media on the learning achievement of nursing students at the school of nursing, Rangsit University. TRC Nurs J 2016;9(1): 63-74. (in Thai)

Amara NB, Atia L. E-training and its role in human resources development. Global Journal of Human Resource Management 2016;4(1):1-12.

Fontaine G, Cossette S, Heppell S, Boyer L, Mailhot T, Simard MJ, et al. Evaluation of a web-based e-learning platform for brief motivational interviewing by nurses in cardiovascular care: a pilot study. J Med Internet Res 2016;18(8):e224.

Salem A. Apply of e-learning in the teaching process minburi bangkok business administration technological college [dissertation]. Bangkok: Mahanakorn University of Technology; 2017.

Binhosen V, Namjuntra R. A development of e-Learning course ware media of BNS 405: elderly nursing on student’s readiness for nursing licensing examination school of nursing Rangsit University. JONAE 2015;8(4):114–25. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-22