การจัดการตนเองและการจัดการของครอบครัวบุคคลโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 จากโรคเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5, เบาหวาน, การจัดการตนเอง, ผู้ดูแลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา แบบพหุกรณีศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการตนเองและการจัดการของครอบครัวบุคคลโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 จากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดในช่วงเวลาที่ศึกษา คือ มิถุนายน – สิงหาคม 2562 ได้บุคคลและผู้ดูแลหลัก กลุ่มละ 29 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองและการจัดการของครอบครัวบุคคลโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 จากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และครอบครัว และแบบสัมภาษณ์ปลายเปิดการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการจัดการตนเองของบุคคลและการจัดการของครอบครัว อยู่ในระดับดี ( = 3.82, S.D. = 0.41 และ = 3.98, S.D.= 0.42 ตามลำดับ) ข้อมูลเชิงคุณภาพที่สะท้อนการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ได้แก่ เน้นรับประทานอาหารรสจืด บุคคลจัดการยาเอง ใช้สมุนไพร ขาดรูปแบบการออกกำลังกาย จัดการปัญหาการนอนโดยจัดห้องนอนและนวดผ่อนคลาย ลดบทบาทหน้าที่ของบุคคล ส่งเสริมให้บุคคลการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ดูแลอาการแทรกซ้อน และขาดทักษะการสื่อสารและวางแผนการรักษากับทีมสุขภาพ ผลการศึกษาจะช่วยบุคลากรสุขภาพสร้างแนวทางการส่งเสริมการจัดการตนเองและการจัดการของครอบครัว เพื่อลดผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อน ชะลอการเข้าสู่ไตวายระยะสุดท้าย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
References
Koye DN, Magliano DJ, Nelson RG, Pavkov ME. The global epidemiology of diabetes and kidney disease. Adv Chronic Kidney Dis 2018;25(2):121-32. doi:10.1053/j.ackd. 2017.10.011
Satirapoj B. Diagnosis and management of diabetic nephropathy. RTA Med J 2011; 64(1):53-63. (in Thai)
Pichaiwong W. Diabetic kidney disease. J DMS 2015;40(5):19-24. (in Thai)
Eckardt KU, Bansal N, Coresh J, et al. Improving the prognosis of patients with severely decreased glomerular filtration rate (CKD G4+): Conclusions from a kidney disease: Improving global outcomes (KDIGO) controversies conference. Kidney Int 2018;93(6): 1281-92. doi:10.1016/j.kint.2018.02.006
Mukdahan hospital. Medical record statistics of clinical patients with chronic kidney disease report 2019. Mukdahan: Hemodialysis unit; 2019. (in Thai)
Arora P, Batuman V. Chronic kidney disease. Medscape [Internet]; 2019. Available from: https://emedicine.medscape.com
American Diabetes Association. 11. Microvascular complications and foot care: Standards of medical care in diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43(Suppl 1): S135-51. doi:10.2337/dc20-S011
Chen YC, Chang LC, Liu CY, Ho YF, Weng SC, Tsai TI, et al. The roles of social support and health literacy in self-management among patients with chronic kidney disease. J Nurs Scholarsh 2018;50(3):265-75.doi:10.1111/jnu.12377
Wacharasin C. Nursing interventions for families experiencing chronic illness. Chonburi: Nursing Faculty of Burapha University;2017. (in Thai)
GreyM,Schulman-GreenD,KnaflK,Reynolds NR. A revised self- and family management framework. Nurs Outlook 2015;63(2):162-70.doi:10.1016/j.outlook.2014.10.003
Crowe et al. The case study approach. BMC Medical ResearchMethodology 2011;11:100. Availble from: http://www.biomedcentral.com/1471-2288/11/100
WareeM. Enhancingfamilyhealthmanagement amongendstage renaldiseaseperson withcontinuous ambulatory peritoneal dialysis. [Master Thesis in Family Nursing]. Khon Kaen: The GraduateSchool, KhonKaenUniversity; 2016. (in Thai)
Duvall EM. Marriage and family development. 5th ed.Philadelphia: Lippincott; 1977.
Lakiew A, Chaleekrua C. Health literacy and factorsrelatedtomedicationamongpatientswith hypertension BanPiangLuangsubdistricthealth promoting hospital, Chiangmai Province. In 6th nationalandinternationalconferenceandresearch presentation “Moving Towards World Class Research”; 28-29 April 2015;SuanSunandha Rajabhat University. Bangkok: SuanSunandha RajabhatUniversity; 2015:p.635-49.(inThai)
Baay S, Hemmelgarn B, Tam-Tham H, et al. Understandingadultswithchronickidneydisease and their caregivers’ self-management experiences: A qualitative study using the theoretical domains framework. Can J Kidney Health Dis 2019;6:2054358119848126. Published 2019 May 22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ