ผลของสื่อการเรียนรู้วีดีทัศน์ภาษาอีสานต่อความรู้และทักษะของการจัดการอาการหอบกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
คำสำคัญ:
สื่อการเรียนรู้วีดีทัศน์ ความรู้ ทักษะ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษากึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสื่อการเรียนรู้วีดีทัศน์ภาษาอีสานและฝึกทักษะที่จำเป็นเพื่อจัดการอาการหอบกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด 24 ราย สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 ราย กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติและได้รับ สื่อการเรียนรู้วีดีทัศน์ภาษาอีสานและฝึกทักษะที่จำเป็นเพื่อจัดการอาการหอบกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยแบบสอบถามความรู้ แบบประเมินทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่าสื่อการเรียนรู้วีดีทัศน์ภาษาอีสานทำให้กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความรู้และทักษะสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ: สื่อการเรียนรู้วีดีทัศน์ ความรู้ ทักษะ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
References
WHO. Pocket guide to copd diagnosis, management, and prevention a guide for health care professionals [Internet]; 2020 [cited 2020 Aug 7]. Available from: www.goldcopd.org
Rodkantuk E, et al. Acute exacerbation symptoms among patients with COPD. Songklanagarind Journal of Nursing 2017;37(2): 1-13. (in Thai)
Wangsom A. Dyspnea management in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing 2016;(27)1: 2-12. (in Thai)
Sarai A. Effect of an Integrated program of discharge planning and symptom experience on dyspnea management ability and dyspnea status of patients with chronic obstructive pulmonary diseases. Prince of Songkla University; 2017. (in Thai)
Wachirawat W. Effects of a self-management support program in patients with chronic obstructive pulmonary disease on knowledge, selfmanagement behaviors, dyspnea, and lung function. Chon Buri: Burapha university; 2015. (in Thai)
Momalee K. Teaching program for patients with chronic obstructive pulmonary disease at chronic obstructive pulmonary disease clinic, Sichomphu Hospital. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2014. (in Thai)
McCabe C, McCann M, Brady AM. Computer and mobile technology interventions for self-management in chronic obstructive pulmonary disease. Cochrane Database Syst Rev 2017; 5(5): CD011425. doi: 10.1002/14651 858.CD011425.pub2
Suwannsang S, Chanthao R. Isan language inheritance. Journal of Graduate Study in Humanities and Social Sciences 2016; 5(2):72-88. (in Thai)
Buakanok FS. The development of multimedia to enhance skill and understanding of volunteers in health care for elderly people in Lampang municipality, Lampang Province. Abc journal [Internet]. 1 [cited 2020 Aug.7]; 7(4): 70-9. Available from: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/95741. (in Thai)
Leemapongpas B, Kokeeranan K, Thitipaisan N. Effects of preoperative instruction using multimedia in patients receiving spinal anesthesia. Journal of Health Science Research 2015; 9(1): 1-7. (in Thai)
Knowles MS. The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. Englewood Cliffs, NJ: Cambridge Adult Education; 1980.
Fineout-Overholt E, Melnyk BM, Stillwell SB, Williamson KM. Evidence-based practice, step by step: Critical appraisal of the evidence part III. Am J Nurs 2010; 110(11): 43-51.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
Teeranuch A, Surit P, Methakanjanasak N, Ruaisungnoen W, Saensom D, Somjaivong B. Effect of the first-aid workshop on knowledge, attitudes and practice skills of working-age people. Khonkean: Faculty of Nursing Khon Kean University; 2017. (in Thai)
Press VG, Kelly CA, Kim JJ, White SR, Meltzer DO, Arora VM, et al. Virtual teach-togoal adaptive learning of inhaler technique for inpatients with asthma or COPD. J Allergy Clin Immunol Pract 2017; 5(4): 1032-9.e1. doi:10.1016/j.jaip.2016.11.018.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ