ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.32คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษา, ระยะสำเร็จการศึกษา, ระดับปริญญาโท, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาของการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาตามแผนการศึกษาและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเกินระยะเวลาแผนการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2560 – 2564 จำนวน 205 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคำนวณค่าทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาของการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) เป็นปัจจัยที่เป็นปัญหาในระดับมาก ทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงตามลำดับมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์และความสะดวกในการติดต่อหรือช่องทางการติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ( = 4.49) รองลงมาด้านนักศึกษา (
= 4.45) ด้านการดำเนินการทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์และการเผยแพร่ผลงานของนักศึกษา (
= 4.36) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร (
= 4.26) และด้านการบริการแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ (
= 4.16) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาตามแผนการศึกษาและเกินแผนการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติระดับ 0.05 ประกอบด้วย 1) ประสบการณ์ในการทำวิจัยก่อนเข้าศึกษาระดับปริญญาโท 2) ด้านการบริการแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ 3) ด้านการทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์และการเผยแพร่ผลงานของนักศึกษา
ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบระบบการสนับสนุนและติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษาเพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามแผนการศึกษาของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
References
ดิลกรัตน์ โคตรสุมาตย์ และ ชัญญา อภิปาลกุล. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 17-27.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565, 18 กันยายน). สถิตินักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. http://10.2.3.7/MIS/Statistic/Page_TH/Stat_menu.aspx
พวงเพชร วอนวัฒนา. (2563). ปัจจัยในการสำเร็จการศึกษาล่าช้าและสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(2), 50-64.
ภารดี เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา และ ธนายุส ธนธิติ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในระยะเวลาที่กำหนดของ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(3), 120-134.
วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์, ทรงธรรม ธีระกุล, เสาวนีย์ แสงสีดํา และ ศศิธร ดีใหญ่. (2557). ปัจจัยในการสำเร็จการศึกษาล่าช้าของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: หน่วยวิจัยสถาบันบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วัยณา เนียมนิล, มานพ เสนาพิทักษ์, สุนันทา เอมแย้ม และ กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน. (2556, 3-4 กันยายน ). สำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กรณีศึกษา : คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. [การนำเสนอผลงานวิจัย]. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 3. https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/masters/%E0%B8%9D%E0%B8%AA%E0%B8%AA/research/3nd/SSPoster.html.
ศศิธร สุพันทวี. (2561). ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา โครงการศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 198 – 203.
หอมหวล นาถ้ำเพชร. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬามหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 9(1), 187 -198
Best, W. (1977). Research in Education. 3rded. Englewood Cliffs, Prentice Hall.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. Wiley & Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.