การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุ ของบุคลากรโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สมสมัย ศรีประไหม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มยุรี ลี่ทองอิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อุไรวรรณ ใจจังหรีด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กนกกาญจน์ กองพิธี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เฉลิมชาติ แก้วอุดม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุภาภรณ์ รูปหล่อ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.30

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, บริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุ, บุคลากร

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุของบุคลากรของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามประเภทของกลุ่มปฏิบัติงาน บุคลากรสายสนับสนุน ประกอบด้วย กลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล ได้แก่ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานการแพทย์ พนักงานเวรเปล และกลุ่มเจ้าหน้าที่บริการโรงพยาบาล จำนวน 478 คน ระหว่าง กุมภาพันธ์ 2564 ถึง เมษายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินพฤติกรรมการบริการเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามกลุ่มปฏิบัติงาน 4 ฉบับมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.88-0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74.5) อายุระหว่าง 20 -30 ปี (ร้อยละ 31.2) ประสบการณ์ทำงานที่โรงพยาบาล 1-5 ปี (ร้อยละ 40.2) มีประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุ (ร้อยละ 65.9) ไม่เคยผ่านการอบรมการดูแลผู้สูงอายุ (ร้อยละ 79.5) มีความเชื่อมั่นในการบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุของตนเองทั้งระดับมากและระดับมากที่สุด (ร้อยละ 35.4 และ 35.4) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุของบุคลากรทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล และกลุ่มเจ้าหน้าที่บริการโรงพยาบาลในภาพรวมอยู่ในระดับบ่อยครั้ง โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ผู้ช่วยพยาบาล (M = 4.38, SD =0.53) พนักงานเวรแปล  (M = 4.34, SD =0.43)  พนักงานการแพทย์ (M = 4.20, SD =0.52) และเจ้าหน้าที่บริการโรงพยาบาล (M = 4.04, SD =0.82) ตามลำดับ

          บทสรุป พฤติกรรมบริการแบบเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามการรับรู้ของบุคลากร พบว่ามากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผลการศึกษานี้ควรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการบริการเอื้ออาทรผู้สูงอายุของบุคลากรของโรงพยาบาลต่อไป

 

References

คณะทำงานระบบบริการพยาบาลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4 แนวทางปฏิบัติที่เอื้ออาทรในการดูแลผู้สูงอายุ. [เอกสารอัดสำเนา]. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; [ม.ป.ป.]

งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. แบบคำบรรยายลักษณะงาน. [เอกสารอัดสำเนา]. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; [ม.ป.ป.]

หน่วยเวชระเบียนและสถิติ. (2563). รายงานสถิติประจำปี.ขอนแก่น: หน่วยเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลศรีนครินทร์. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิรา แก่นยะกูล. (2548). พฤติกรรมการดูแลของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้สูงอายุไทยพุทธที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ถนอม จันทกุล. (2544). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลจากประสบการณ์ของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิตยา จันทบุตร, อมรรัตน์ ถิ่นขาม, ปฑิตตา สิมานุรักษ์ และ อรัญญิการ์ สระบงกช. (2559). การพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล.การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1“สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2554). ระบบบริการพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุ: โมเดลของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น (Age-friendly nursing service system:KKU model). เอกสารประกอบการปฐมนิเทศนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณา กุมารจันทร์, กฤษณา คงเคล้า, จิราพร วัฒนศรีสิน, กนกพร สุคำวัง. (2560). การให้บริการที่เอื้อ อาทรต่อผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27, 144– 157.

วรรณภา ศรีธัญรัตน์ และ ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2550). การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรม: การพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

วรุณยุพา รอยกุลเจริญ. (2550). การปฏิบัติการพยาบาล: การดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์. วารสารสภาการพยาบาล, 22, 5-8.

วรัญศิญา จิตต์เพียร. (2552). การพัฒนาบริการพยาบาลที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สภาการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2561, 23 กุมภาพันธ์). นโยบายสภาการพยาบาลเกี่ยวกับกำลังคนในทีมการพยาบาล.

https://www.tnmc.or.th/images/userfil es/files/003(1).pdf

สุนิสา ยุคะลัง, & ประสบสุข ศรีแสนปาง. (2560). การพัฒนาบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนทอง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 196–203.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. วิทยพัฒน์.

Hatawaikarn, B., Aroonsang, P., & Phanphruk, W. (2012). Development of Age-friendly Nursing Care Scale perceptive by hospitalized older persons. Journal of Nursing’ Association of Thailand, North-Eastern Division, 30(2), 154-165

Krejcie, R. V, & Morgan, D, W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607–610.

Suliman., W.A., Welmann, E., Omer, T., & Thomas, L. (2009). Applying Watson’s nursing theory to assess patient perceptions of being cared for in a multicultural environment. Journal of nursing research, 22(4), 293-300.

World Health organization [WHO]. (2004). Towards Age-friendly Primary Health Care. Retrieved January 21, 2021, from https://iris.who.int/handle/10665/43030

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย