การวิเคราะห์ผลงานวิชาการระดับสากลของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ทัศน์วรรณ เทพสุวรรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิเชษฐ์ เทพสุวรรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.34

คำสำคัญ:

ผลงานทางวิชาการ, คุณภาพวารสารวิชาการ, สถิติพรรณนา

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลงานวิชาการระดับสากลของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอบเขตการวิจัยคือ ผลงานวิชาการของบุคลากรภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมที่ได้รับการเผยแพร่ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2561-2565 ในฐานข้อมูลสากล Scopus เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ โปรแกรมค้นหาของฐานข้อมูล (search engine) ด้วยขอบเขตข้อมูลสังกัด (affiliation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ เรียงลำดับข้อมูล แสดงผลด้วยกราฟและตาราง

          ผลการวิจัยพบว่า ผลงานวิชาการของบุคลากรภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูลสากล Scopus มีจำนวน 80 เรื่อง ผลงานได้รับการอ้างอิงต่อเรื่องคิดเป็นร้อยละ 5.2 ส่วนใหญ่เป็นบทความวิจัยในวารสาร สูงสุดร้อยละ 56.25 เป็นงานในสาขาวิชาวัสดุศาสตร์กลุ่มแบตเตอรี่ลิเธียม นิยมตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับดัชนีคุณภาพกลุ่มกลาง - ล่าง (Q3) และกลุ่มล่าง (Q4) ร่วมกับนักวิจัยภายในภาควิชาเดียวกันและกับหน่วยงานอื่นภายในคณะวิทยาศาสตร์และภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นสูงสุดคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไม่พบผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรือทรัพย์สินทางปัญญา

References

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2565,12 กรกฎาคม). รายงานบุคลากรสายวิชาการ สรุปจำนวนจำแนกตามวุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการ ประจำเดือนกรกฎาคม ปี 2565. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://epg.science.cmu.ac.th/sciemployment/index.php/

ทัศน์วรรณ เทพสุวรรณ์. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การผลิตบัณฑิตและแนวทางการเพิ่มจำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารวิชาการ ปขมท., 11(2), 103-110.

ประกาศ ก.พ.อ. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2564. (2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 4 ง. 22-50.

พิเชษฐ์ เทพสุวรรณ์. (2564). การวิเคราะห์บทความวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูล Scopus และ Web of Science. วารสารวิชาการ ปขมท., 10(3), 186-194.

ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2565). เอกสารประกอบการสัมมนาภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม ประจำปี 2565 [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มาเกรตตา โจแอน. (2562). หลักคิดเรื่องกลยุทธ์และการแข่งขัน (ฉบับปรับปรุง). เอ็กซเปอร์เน็ท.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2565, 12 กรกฎาคม). มช.ปรับแผนพัฒนาการศึกษาฯ ระยะที่ 12 มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย SDGs. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.https://sdgs.cmu.ac.th/

ศรัณย์ วีรเมธาชัย. (2565). การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ภาวะซึมเศร้า และภาวะหมดไฟจากการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสระบุรี ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 12(1), 65-81.

ศรีสกุล เฉียบแหลม และ เพ็ญนาภา แดงด้อมยุทธ์. (2562). ภาวะหมดไฟในการทํางาน. แพทยสารทหารอากาศ, 65(2), 44-52.

สัญญา เคณาภูมิ. (2562ก). ถอดรหัสการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยและการสร้างกลยุทธ์จากฐานการวิจัย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญญา เคณาภูมิ. (2562ข). หลักการและแนวทางการสังเคราะห์งานวิชาการ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 3(2). 89-106.

สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2565, 12 กรกฎาคม). ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://library.cmu.ac.th/DatabaseStore/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย