ทัศนคติและความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุนในการใช้ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.24คำสำคัญ:
ระบบ New GFMIS Thai, ทัศนคติ, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุนในการใช้ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นประชากรบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้ระบบ New GFMIS Thai จำนวนทั้งสิ้น 45 คน โดยเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ตอบแบบสอบถาม ทัศนคติและความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยในส่วนข้อมูลทั่วไปพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 80 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 20 เป็นเพศชาย เมื่อพิจารณาประสบการณ์ในการใช้งานระบบ พบว่ามีประสบการณ์ในการใช้งานระบบ มากที่สุดคือ มากกว่า 7-12 เดือน ผลการวิจัยในด้านทัศนคติพบว่า บุคลากรสายสนับสนุนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับประเด็น ควรมีการจัดอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานในระบบ New GFMIS Thai ก่อนนำมาใช้งานจริง คิดเป็นร้อยละ 97.78 (X bar = 2.98, S.D. = 0.15) กรณีศึกษาความพึงพอใจพบว่า (1) ความพึงพอใจด้านการใช้งานต่อระบบ New GFMIS Thai โดยเฉลี่ยมีระดับความพึงพอใจมาก (X bar = 3.45, S.D. = 0.73) (2) ด้านประสิทธิภาพของการใช้ระบบ/ด้านคุณภาพระบบ บุคลากรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับพึงพอใจมาก โดยความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความโปร่งใส ตรวจสอบได้ (X bar =3.93, S.D.=0.75) รองลงมาคือ ความครบถ้วน ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลและเชื่อถือได้ (=3.87, S.D.=0.69) (3) ด้านความปลอดภัยของระบบ มีความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X bar =3.35, S.D.=0.93) (4) ด้านการให้บริการ Help Desk มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 3.50 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.70) (5) ด้านการสนับสนุนการปฏิบัติงานโดยภาพรวมบุคลากรสายสนับสนุนมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X bar =3.27, S.D.=0.88)
ข้อเสนอแนะจากผู้ตอบแบบสอบถาม คือ การกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานระบบมีจำกัด และไม่สามารถเข้าใช้งานได้พร้อมกันหลายสิทธิ์ ระบบขาดความเสถียร หลุดบ่อย ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบ New GFMIS Thai ที่ยังไม่เคยได้รับการอบรมและมหาวิทยาลัยควรมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญให้ความช่วยเหลือการใช้งานระบบในเบื้องต้นได้
References
ไกรทพนธ์ เติมวิทย์ขจร, ศิริชัย นามบุรี, และ นิมารุนี หะยีวาเงาะ. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาระยะที่ 1. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
จิรารัตน์ สุนทรอาคเนย์. (2549). เสียงสะท้อนจากผู้ปฏิบัติงานระบบ GFMIS. วารสารกรมประชาสัมพันธ์, 11(122), 25-26.
จิราพร เวชพันธ์ และ ดาระกา ศิริสันติสัมฤทธิ. (2552). ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพประสิทธิผล และความสามารถในการตรวจสอบได้ของการดำเนินงานการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เนตรน้อง หาญลิพงศ์. (2552). ประสิทธิภาพจากการใช้ระบบ GFMIS ของหน่วยราชการในเขต อ.เมือง จ.พิษณุโลก [การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร].
ปาลิดา เชษฐ์ขุนทด, อุสารัตน์ เจนวณิชยานนท์, อาทิตยา เลี้ยงวัฒนหิรัญ, ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี, และ วิลาวรรณ ชูกลาง. (2565). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 14(1), 41-56.
พิมปภัค เล็กใจซื่อ และ พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีด้านการเบิกจ่ายในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของกรมการเงินทหารบก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(8), 291-308.
วนิดา ชุติมากุล. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรการเงินและการบัญชี:กรณีศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 2(1), 1-8.
วิภาภรณ์ นวลเลิศ. (2564). ความพึงพอใจต่อการใช้งานในระบบเบิกจ่ายเงินของโปรแกรม PSU Management Accounting System (PSU-MAS) ของบุคลากรกองคลัง มหาวิทยาลัย-สงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท, 10(3), 195-203.
สมใจ แสนโคตร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการใช้ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ในการบริหารจัดการทางการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 14(1), 204-215.
สิริมา เพ็ชรรัตน์. (2565). ความพึงพอใจของผู้ใช้งานการรับและนำส่งเงินในระบบบัญชีและการเงินเพื่อการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการ ปขมท, 11(3), 88-96.
สุกันทา สะเอียบคง. (2558). การศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการใช้ระบบการเงินและบัญชีภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แบบจำลองความสำเร็จของระบบสารสนเทศของ DeLone และ McLean (2003) กรณีศึกษากรมตรวจบัญชีสหกรณ์ [การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
อาพร สุนทรวัฒน์ และ ทัดทอง พราหมณ์. (2560). การประยุกต์ใช้ Google Sheet ในการบริหารงบประมาณ Applying Google Sheet in Budget Administration. PULINET Journal, 4(3), 24-33.
อุ่นเรือน ขยัน. (2550). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการรับบริการภายใต้การปฏิบัติงานในระบบ GFMIS ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้. กองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.