การวิเคราะห์ผลการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) ประจำปีการศึกษา 2564 กรณีศึกษา : คณะหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.33คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ผลประเมิน, เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ, คณะหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ผลการศึกษาวิเคราะห์ผลคะแนนการดำเนินงานด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ทั้ง 7 หมวด ประจำปีการศึกษา 2564 ของคณะหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง พบว่า มีคณะหน่วยงานที่ได้คะแนนผลประเมินภาพรวม (หมวด 1-7) สูงสุด ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 175 คะแนน คณะเทคโนโลยี 159 คะแนน คณะวิทยาการสารสนเทศ 145 คะแนน คณะเภสัชศาสตร์ 143 คะแนน และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ 136 คะแนน มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 128 คะแนน และมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ Band 1 2) ผลการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานจุดแข็งและการปรับปรุงด้านกระบวนการและผลลัพธ์จากผลประเมินด้วยเกณฑ์ EdPEx พบว่า 2.1) จุดแข็งด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ คณะหน่วยงานเริ่มแสดงให้เห็นถึงการนำองค์กรที่เป็นระบบ มีกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยและรองรับการเปลี่ยนแปลง แสดงถึงความมุ่งมั่นในการนำเกณฑ์ EdPEx ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ 2.2) การปรับปรุงด้านกระบวนการและผลลัพธ์ คณะหน่วยงานควรแสดงการดำเนินงานของกระบวนการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกันในทิศทางเดียวกัน เช่น การวางระบบการติดตามผลการดำเนินงานโดยวางระบบลำดับชั้นของการติดตามผลความถี่ของการติดตามที่ประกอบไปด้วยตัววัดผลที่ครอบคลุมทุกพันธกิจ (3) การศึกษาแนวทางการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะหน่วยงานในการยกระดับผลคะแนนการประเมินประกันคุณภาพเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdpEx) พบว่า คณะหน่วยงานควรมีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขององค์กร ใน 4 รูปแบบ คือ แบบที่ 1: แผนรวม (Master Plan) แบบที่ 2: แผนเฉพาะด้าน (Specific Area Plan) แบบที่ 3: แผนวัตถุประสงค์เดียว (Single Purpose Plan) และ แบบที่ 4: แผนกิจกรรมการปรับปรุง (Improvement Plan) ที่ช่วยให้คณะหน่วยงานมีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายด้านกระบวนการและผลลัพธ์ หมวดที่ 1 – 7 ที่ก้าวสู่เป้า EdPEx200 ต่อไป
References
ชยภร ศิริโยธา. (2564). การมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการ ปขมท, 10(1), 168 – 177.
ชิษณุพงศ์ ทองพวง. (2557). องค์ประกอบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 10(2), 121-134.
ถิรนันท์ ปาลี. (2553). การประเมินคุณภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2564). ประกาศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง แนวทางการตรวจประเมินคุณภาพด้วยเกณฑ์ EdPEx ระดับคณะ ปีการศึกษา 2564. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2553.) การใช้ฐานข้อมูล (up to Date) เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ Educational Criteria for Performance Excellence (EdPEx). กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) ฉบับปี 2563 – 2566. อมรินทร์พริ้นติง
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566, 23 กันยายน). เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเกณฑ์ EdPEx. http://www.edpex.org/p/edpex.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.