การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่รับเข้าทั้ง 4 แบบจากระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบ TCAS คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2023.33คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ระบบรับเข้าศึกษา, นิสิต, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา, อุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 2 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ตามวิธีการรับเข้าทั้ง 4 รูปแบบ ประกอบด้วยระบบเรียนดีและผลิตบุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (TCAS 1) ระบบโควตาภาคเหนือ (TCAS 2) ระบบรับตรงร่วมกัน (TCAS 3) และระบบกลาง (TCAS 4) โดยทำการศึกษาในนิสิตชั้นปีที่ 2 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) จำนวน 117 คน
นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
จากผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตตามวิธีการรับเข้าทั้ง 4 รูปแบบ พบว่านิสิตหลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิตที่มาจากการรับเข้าที่ต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนิสิตที่รับเข้าผ่านระบบ TCAS 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่สุดในขณะที่นิสิตที่รับเข้าผ่านระบบ TCAS 1
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับนิสิตที่รับเข้าผ่านระบบ TCAS 2-4 และจากการศึกษาในนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) พบว่านิสิตที่ผ่านการรับเข้าที่ต่างกันจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่นเดียวกับนิสิตในหลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต แต่นิสิตที่รับเข้าผ่านระบบ TCAS 4 จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่สุด
References
กาญจนา แย้มเสาธง. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(2), 121-129.
ชาลี จิตรีผ่อง. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่เข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS และระบบรับตรง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญสิตา ทองสุข. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกตามประเภทรับเข้าศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี-ราชมงคลธัญบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ราตรี ธรรมคำ. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่สอบคัดเลือกระบบมหิดลรับตรง และระบบกลาง กรณีศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 4(2), 9-17.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.
วรกมล บุณยโยธิน, ศรีวรรณ พรมกัณฑ์, และ พนิตนาฏ จักรเพชร. (2561). ความแตกต่างของระบบการรับเข้าศึกษาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12 (ฉบับพิเศษ), 138-149.
วรวิทย์ กุลตังวัฒนา. (2552, 9 ธันวาคม). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิม-พระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ระหว่างนิสิตที่รับตรงและรับผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. [การนำเสนองานวิจัย]. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 6, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.
สุทธิวรรณ พีรศักดิ์โสภณ, และ เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่เข้าศึกษาด้วยวิธีรับตรงและวิธีระบบรับกลางปีการศึกษา 2558. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(18), 220-229.
งานทะเบียนนิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา. (2563, 9 มีนาคม). รายงานข้อมูลผลการเรียนนิสิต. ระบบบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. https://reg.up.ac.th
ระบบรับทราบหลักสูตร CHECO กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). (2563, 10 ธันวาคม). หลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. http://202.28.55.154/checo/
ระบบรับทราบหลักสูตร CHECO กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). (2563, 10 ธันวาคม). หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. http://202.28.55.154/checo/
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561, 5 กุมภาพันธ์). TCAS ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษารูปแบบใหม่. https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2561/hi2561-046.pdf
JJH Lin & PY Liou (2019). Assessing the learning achievement of students from different college entrance channels: a linear growth curve modelling approach. Assessment & Evaluation in Higher Education, 44(5), 732-747.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.