การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรกเข้าของนักศึกษาเข้าศึกษาภายใต้ระบบ TCAS กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.23คำสำคัญ:
ปัจจัยแรกเข้า, วิธีการรับเข้า, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรกเข้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การรับนักศึกษาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (ระบบTCAS) ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแรกเข้าของนักศึกษา ข้อมูลการรับนักศึกษา และข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เข้าศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2561-2564 จำนวน 2,299 คน
ผลการศึกษาพบว่า ขนาดของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ทั้งระดับคะแนนเฉลี่ยทุกรายวิชา (GPAX) และคะแนนเฉลี่ยของวิชาเฉพาะกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน จำนวน 4 รายวิชา ประกอบด้วยวิชาฟิสิกส์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาเคมี และวิชาชีววิทยา (PMCB : Physics, Mathematics, Chemistry, Biology) นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับเข้าด้วยระบบ TCAS รอบต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ทั้ง GPAX และ PMCB เช่นเดียวกันกับวิธีการรับเข้า และกรณีที่นักศึกษามีผลการเรียนเฉลี่ยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสูงส่งผลให้มี GPAX และ PMCB สูงเช่นกัน ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อกำหนดกลยุทธ์การรับนักศึกษา กล่าวคือ ควรมุ่งเน้นการเพิ่มแผนจำนวนรับนักศึกษาใน TCAS1 การรับแบบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) TCAS2 การรับแบบโควตา (Quota) และวิธีการรับเข้าแบบการจัดโควตาและทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนที่มีขนาดกลางขึ้นไป เพื่อที่จะได้นักศึกษาที่มีศักยภาพทางการศึกษาจนสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลากำหนดของหลักสูตร
References
กิตติชัย สุธาสิโนบล และ ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพครูของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ที่จบสาขาวิชาชีพครูกับที่ไม่ได้จบสาขาวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ชาลี จิตรีผ่อง. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่เข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS และระบบรับตรง. ปทุมธานี: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปานจิต บูรณสมภพ, รัชฎาภรณ์ ขอเจริญ, อรุณี พันธุรักษ์, ทัศนีย์ วรรณสาธพ, และ นวียา เลาหะจินดา. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย-เกษตรศาสตร์ที่ผ่านการคัดเลือกจากระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ปีการศึกษา 2561.รายงานวิจัยสถาบัน. ฝ่ายรับสมัครและพัฒนาการรับเข้าศึกษา สำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้. (2564). รายงานข้อมูลสถิตินักศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2561-2564. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.
พจมาน เตียวัฒนรัฐติกาล, อุษณีษ์ คำพูล, และ นพณรงค์ ศิริเสถียร. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและระบบการคัดเลือกระดับปริญญาตรี.วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(3), 122-132
สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ทปอ. (2561, 9 ตุลาคม). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่. (Thai University Central Admission System: TCAS). https://reg.kmitl.ac.th/TCAS_old/news/files/2562_1_news1_492_2018_10_31-14-27-44_151c2.pdf
สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ทปอ. (2565, 27 ตุลาคม). ประกาศสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประกาศ เรื่อง ระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2565 (Thai University Central Admission System: TCAS). https://assets.mytcas.com/d/TCAS66-manual-v5-27otc65.pdf
สิทธิกรณ์ คำรอด และ กิตติพงษ์ ศรีแขไตร. (2561). แบบการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณสำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของนักศึกษาเจเนอเรชัน วาย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 7(1), 92-103.
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2561, 1 กรกฎาคม). TCAS ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดศึกษารูปแบบใหม่. https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/533050.
อนันต์ ปินะเต. (2564). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกอันดับสาขาวิชาในระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (TCAS) โดยกฎความสัมพันธ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 41(1), 29-39
Elaine Rico-Briones, Ph. & David Cababaro Bueno,Dc. (2019). Factors Affecting the Decision of First Year Students in Choosing their Degree Program 295 and School. Institutional Multidisciplinary Research and Development Journal, 2, 130-135.
McClelland, D.C. (1985). Human Motivation. New York: Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.