การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนในการบริหารกระบวนงานการจัดทำ มคอ.3 - มคอ.6 สาขากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.31คำสำคัญ:
ลีน, กายภาพบำบัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนงานการจัดทำ มคอ.3 - มคอ.6 ของส่วนงานสนับสนุน การจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้แนวคิดลีน เพื่อกำจัดความสูญเปล่า เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพของระบบงาน คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) กระบวนงานการจัดทำ มคอ.3 - มคอ.6 2) แบบฟอร์มการวิเคราะห์ความสูญเปล่าด้วยแนวคิดลีน แบบ DOWNTIME 3) แบบฟอร์มการวิเคราะห์คุณค่ากิจกรรมของกระบวนการ 4) แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ผลโดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนงานที่พัฒนาใหม่และกระบวนงานเดิม โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ นำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา ใช้ตารางโดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
จากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ขั้นตอนการจัดทำและระยะเวลารอคอยแก้ไขเอกสารตั้งแต่กิจกรรมแรกถึงกิจกรรมสุดท้ายใช้ระยะเวลานาน เกิดความสูญเปล่าทั้งค่าใช้จ่าย ระยะเวลา ระยะทาง ในการทำกิจกรรมที่ซ้ำซ้อน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการจัดทำ มคอ.3 - มคอ.6 นำมาซึ่งการปรับปรุงกระบวนงาน โดยการใช้แนวคิดและเครื่องมือของลีนร่วมกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ รวมทั้งเพิ่มขั้นตอนการสื่อสาร ให้มีประสิทธิภาพระหว่างบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบงาน ส่งผลให้กระบวนงานการจัดทำ มคอ.3 - มคอ.6 ที่พัฒนาใหม่นั้น ลดจำนวนกิจกรรมจาก 23 กิจกรรมเหลือ 17 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 26.09 ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่อรายวิชา จาก 42.5 ชั่วโมงต่อรายวิชาเหลือ 35.5 ชั่วโมงต่อรายวิชา คิดเป็นร้อยละ 16.47 ค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารและระยะทางในกระบวนงานลดลงร้อยละ 100
ซี่งผลจากการวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติงานการจัดทำ มคอ.3 - มคอ.6 ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และนำไปประยุกต์ใช้กับหลักสูตรอื่น ๆ ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาได้
References
กิตตวัฒน์ สิริเกษมสุข. (2565). การศึกษาการทำงานอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตแบบลีน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา รุ่งโรจน์พานิชย์. (2560). การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อพัฒนากระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยา. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 2(1), 31-35.
ดามธรรม จินากูล. (2559). การลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการทำงานด้วยแนวคิดลีน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(3), 44-58.
ประเสริฐ กิตติประภัสร์, อันทิรา เฮงจิตรตระกูล, ธารา ยาพรม. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขชุมชน จังหวัดแพร่ โดยใช้แนวคิดลีน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 11 (ฉบับพิเศษ), 269-276.
พิชญ์วดี กิตติปัญญางาม, อนัญญา จันทวุฒิ, กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข. (2565). การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนและโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อช่วยในการติดตาม ผลการดำเนินงานสสำคัญในสำนักงาน. วิศวสาร-ลาดกระบัง, 40(1), 10-26.
ลัดดา ผลรุ่ง, ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, อรอนงค์ วิชัยคำ. (2563). การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนในการปรับปรุงกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย หอผู้ป่วย อายุรกรรมหญิง 1 โรงงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. พยาบาลสาร, 47(2), 440-452
ศิริพร รัตตนเลิศ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ขนิษฐา ศรีวรรณยศ, โสภา บุญวิริยยะ, วราภรณ์ เสนาพิทักษ์กุล, เรือนขวัญ โชติรัตน์. (2556). การพัฒนาการให้บริการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารแบบผู้ป่วยนอกศัลยกรรม ตามแนวคิดแบบลีน. วารสารพยาบาล, 62(2), 18-25.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.