การศึกษาผลกระทบต่อการจัดการเรียนออนไลน์ของนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ในสถานการณ์โรคระบาด COVID – 19

ผู้แต่ง

  • วราพงษ์ คล่องแคล่ว คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สัณห์ชัย หยีวิยม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นครินทร์ ชัยแก้ว คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.9

คำสำคัญ:

ผลกระทบ, COVID–19, การจัดการเรียนออนไลน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบต่อการจัดการเรียนออนไลน์ของนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา 2) ศึกษาการเรียนออนไลน์ที่ส่งผลประสิทธิผลการศึกษาของนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง นิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2564 จำนวนนิสิตทั้งหมด 316 คน โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล
          ผลการวิจัยสามารถสรุปผลกระทบต่อการจัดการเรียนออนไลน์ของนิสิต ได้ดังนี้ 1) ด้านการใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ พบว่า มีผลกระทบในระดับมาก 2) ด้านผลการเรียนในช่วงการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่า มีผลกระทบในระดับมาก 3) ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่า มีผลกระทบในระดับปานกลาง 4) ด้านเนื้อหาบทเรียนในการเรียนออนไลน์ พบว่า มีผลกระทบในระดับปานกลาง 5) ด้านการจัดกิจกรรมออนไลน์ของนิสิต (อบรมและสัมมนา) พบว่า มีผลกระทบในระดับปานกลาง 6) การเรียนออนไลน์ที่ส่งผลประสิทธิผลการศึกษา พบว่า ระดับผลการเรียนแต่ละภาคการศึกษาของนิสิต จำนวน 51.2% มีผลการเรียนอยู่ระดับปานกลาง

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564, 17 เมษายน). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (ฉบับที่ 11). ข่าวสารและประกาศ. https://www.mhesi.go.th/images/Pusit2021/pdfs/CCF_000006.pdf

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย-พะเยา. (2565, 15 มกราคม). หลักสูตรที่เปิดสอน. หลักสูตร www.ict.up.ac.th/admission/curriculum

ณิชกานต์ แก้วจันทร์ และ ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2564, 1 มีนาคม). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนและความคาดหวังประสิทธิผลการศึกษาในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ในทรรศนะของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 9, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. Veridian E-Journal SU, 4(1), 252–266.

ธรรมรัตน์ แซ่ตัน, โภไคย เฮ่าบุญ, โสภณ จันทร์ทิพย์, ธงชัย สุธีรศักดิ์ และ วัชรวดี ลิ่มสกุล. (2564). ความพร้อมต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของนักศึกษาภายใต้สถานการณ์การระบาดไวรัส COVID-19 : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 3(1), 23-37.

พิเชษฐ แซ่โว, ชูศักดิ์ ยืนนาน, และ นัฐิยา เพียรสูงเนิน. (2563). การเรียนการสอบแบบออนไลน์ในการศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 26(2), 189-202.

สายสมร เฉลยกิตติ, จินตนา อาจสันเที๊ยะ และ มักเดลานา สุภาพร ดาวดี. (2563). ผลกระทบโรคระบาด COVID-19:การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(2), 255-262.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย