การศึกษาผลของการประคบด้วยแผ่นร้อนห่อด้วยผ้าที่มีความหนา 2 เซนติเมตร เป็นเวลา 20 นาที ต่ออุณหภูมิผิวหนังในผู้ป่วยทางกายภาพบำบัด

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุช ศรีไกรยุทธ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วรรณเฉลิม ชาววัง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.12

คำสำคัญ:

แผ่นประคบร้อน, เครื่องมือทางกายภาพบำบัด, แผลพุพอง, การรับความรู้สึกของผิวหนัง, อาการปวดหลัง

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุณหภูมิของผิวหนังขณะประคบด้วยแผ่นประคบร้อนที่ห่อด้วยผ้าหนา 2 เซนติเมตร ในผู้ป่วยทางกายภาพบำบัด เป็นระยะเวลา 20 นาที

         วิธีการวิจัย : ศึกษากับอาสาสมัครที่มีอาการปวดหลังในกลุ่ม Musculoskeletal system ที่มารักษาในหน่วยกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 50 คน งานวิจัยทำในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ ระหว่าง 22 ถึง 25 องศาเซลเซียส โดยใช้แผ่นประคบร้อนที่แช่ในหม้อต้ม Hydrocollator  ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 73.1 ±3.0 องศาเซลเซียส นานมากกว่า 30 นาที จากนั้นนำมาห่อด้วยผ้าขนหนูผ้าฝ้าย 100 % ขนาด 27 X 54 นิ้ว ที่ถูกพับครึ่งแล้ววางซ้อนทับกันให้ได้ความหนา 2 เชนติเมตร แล้วจึงนำมาวางบริเวณหลังของอาสาสมัคร โดยมี digital thermometer วางอยู่บริเวณกึ่งกลางของแผ่นประคบร้อน เริ่มใช้นาฬิกาจับเวลาและทำการวัดอุณหภูมิ พร้อมทั้งสอบถามความรู้สึกของกลุ่มทดลอง ในช่วงนาทีที่ 0, 5, 10, 15, 20 ตามลำดับ บันทึกอุณหภูมิในช่วงเวลาดังกล่าวพร้อมทั้งความรู้สึกของกลุ่มทดลอง นำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติ SPSS version PASW statistics 18  โดยใช้  One-Sample Kolmogorov-Smirnov Test   คำนวนค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Mean ± SD ) ของอุณหภูมิแผ่นประคบร้อน และใช้ Descriptive Statistics Frequencies ในการหาค่าเปอร์เซ็นต์ของการรับความรู้สึกในแต่ละช่วงเวลา

         ผลการศึกษา : ค่าอุณหภูมิของแผ่นประคบร้อนที่ความหนาของผ้า 2 เชนติเมตรกับเวลาที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิภายในกลุ่มตัวอย่าง ตั้งแต่นาทีที่ 0 ถึง นาทีที่ 20 มีค่าระหว่าง 24.9 ±1.8 องศาเซลเซียส ถึง 42.7 ±1.4 องศาเซลเชียส พบว่าค่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่เปลี่ยนไป จากผลการทดลองพบว่าในช่วงนาทีที่ 5 ถึงนาทีที่ 20 ค่าอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 37.9 ± 2.1 องศาเซลเซียส ถึง 42.7 ± 1.4 องศาเซลเซียส ซึ่งค่าอุณหภูมิเกือบมีค่าคงที่ และพบว่าแปรผันตามการรับรู้ความรู้สึกต่อความร้อนของอาสาสมัคร ได้แก่ ช่วงเวลาตั้งแต่นาทีที่ 5 ความรู้สึกอุ่นสบาย 84 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 16 เปอร์เซ็นต์ นาทีที่ 10 ความรู้สึกอุ่นสบาย 54 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 44  เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนมากทนได้ 2 เปอร์เซ็นต์  นาทีที่ 15 ความรู้สึกอุ่นสบาย 44 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 52 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนมากทนได้ 4 เปอร์เซ็นต์ ถึงนาทีที่ 20 ความรู้สึกอุ่นสบาย 72 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนกำลังดี 26 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกร้อนมากทนได้  2 เปอร์เซ็นต์  และอาสาสมัครทุกรายไม่มีแผลพุพอง 

         ดังนั้นจากผลการศึกษานี้ สรุปว่าแผ่นประคบร้อนต้มในน้ำที่อุณหภูมิเฉลี่ย 73 องศาเซลเซียส และห่อด้วยผ้าขนหนูที่มีความหนา 2 เซนติเมตร ใช้เวลาในการรักษา 20 นาที มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมสำหรับใช้รักษาผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดที่มีอาการ lower back pain

References

กันยา ปาละวิวัธน์. (2543). เรื่องการรักษาด้วยเครื่องไฟฟ้าทางกายภาพบำบัด กรุงเทพ: บริษัทสำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด. หน้า 260-294.

ฉลวย เหลือบรรจง และ เนตรนภิศ จินดากร. (2560). แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก.วารสารการพยาบาลและการศึกษา, ปีที่ 10 (ฉบับที่ 3), หน้า 14-22https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/issue/view/9970

วรรณเฉลิม ชาววัง และ ชมพูนุช ศรีไกรยุทธ. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิของแผ่นประคบร้อนที่สัมพันธ์กับความหนาของผ้าห่อแผ่นประคบร้อนในช่วงนาทีที่ 1–20. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 5 (ฉบับที่ 1), หน้า 48-60.https://doi.org/10.14456/jmu.2018.5

Marvin, J.A. Burn and thermal injuries. In Emergency nursing (3 ed).St.Louis:Mosby Year Book; 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย