การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ กรณีการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • วาสนา สีลาภเกื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.20

คำสำคัญ:

ข้อเสนอแนะ, คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ, ประเมินผลงานทางวิชาการ, ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อผลงานทางวิชาการประเภทงานวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รวบรวมข้อมูลจากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแบบสรุปผลการประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจคุณลักษณะสำคัญและความหมายของข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อผลงานทางวิชาการประเภทงานวิจัยของคณาจารย์ผู้ที่ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ รวม 70 คน ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2563 จำนวน 202 รายการข้อเสนอแนะ นำมาจัดรายการหมวดหมู่ กลุ่มคำ แจกแจงความถี่ เพื่อหาค่าความถี่และค่าเฉลี่ยร้อยละ และนำมาจัดลำดับรายการสำคัญตามค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด 5 ลำดับแรก

          ผลการวิจัยพบว่าข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อผลงานทางวิชาการประเภทงานวิจัยของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่ได้รับการแต่งตั้งและไม่ได้รับการแต่งตั้ง ในหมวดหมู่รายการสำคัญที่เหมือนกัน ได้แก่ การเขียนงานวิจัยในบทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การนำเสนอเนื้อในบทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ข้อมูลในบทที่ 3 ของงานวิจัย สำหรับหมวดหมู่รายการสำคัญที่ต่างกัน ได้แก่ การเรียบเรียงเนื้อหา ประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง บทที่ 4 ผลการวิจัย และบทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย ซี่งผลจากการวิเคราะห์ครั้งนี้ทำให้ทราบว่าในการพิจารณาผลงานทางวิชาการประเภทงานวิจัยของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อข้อมูลในบทที่ 5 การสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ข้อมูลในบทที่ 3

          ซึ่งข้อมูลสำคัญดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยมีข้อมูลสนับสนุนให้แก่คณาจารย์ผู้ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อสร้างความตระหนักในคุณภาพของผลงานวิจัย และข้อพึงระวังในการทำผลงานทางวิชาการประเภทงานวิจัยต่อไป

References

การเขียนรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์ (2564, 1 มกราคม). researcherthailand. https:// researcher thailand.co.th.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ชำนาญ ปาณาวงษ์. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฐพัชร์ อภิรุ่งเรืองสกุล และ ประสพชัย พสุนนท์. (2562). อภิปรายผลการวิจัยเชิงปริมาณสำหรับนักวิจัยมือใหม่. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(6), 234-243.

นคร เสรีรักษ์ และ ภรณี ดีราษฎร์วิเศษ. (2555). วิจัยไม่ใช่เรื่องยาก. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559. (2559, 21 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 53 ก หน้า 17.

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550. (2550, 2 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนพิเศษ 39 ง หน้า 1 - 11.

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560. (2560, 31 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 265 ง หน้า 43 - 55.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทัย หามนตรี. (2560). ศึกษาข้อเสนอแนะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพัฒนาระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(3), 158-183.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย