ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของทันตบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2023.27คำสำคัญ:
ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน, ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง, ทันตบุคลากรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของทันตบุคลากร และปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานของทันตบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 289 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi – square และ Fisher’s Exact Test
ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปัจจัยคุกคามด้านจิตสังคม คือ การปฏิบัติงานอย่างเร่งรีบเพื่อให้งานเสร็จทันเวลา ร้อยละ 37.00 ส่วนปัจจัยคุกคามสุขภาพด้าน การยศาสตร์ คือ การปฏิบัติงานในท่าทางการทำงานที่ซ้ำ ๆ เดิม ๆ ตลอดเวลา ร้อยละ 33.20 และการบิดเอี้ยวลำตัวในขณะปฏิบัติงาน ร้อยละ 30.10 สำหรับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงในส่วนความเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ได้แก่ อาการปวดแขน ข้อศอก มือ หรือข้อมือ ร้อยละ 55.40 มีไข้ น้ำมูกไหล ไอ จาม ร้อยละ 51.90 และปวดข้อเท้า ส้นเท้า เข่า หรือ ปวดขา ร้อยละ 46.70 ปวดหลัง ร้อยละ 34.90 ปวดไหล่ ร้อยละ 32.90 และมีความเครียด หรือกังวลจากการทำงานที่เร่งรีบให้เสร็จทันเวลา ร้อยละ 31.50
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ต่อการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน พบว่าปัจจัยด้านอายุ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานของทันตบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
References
จิราพรรณ กลางคาร. (2556). การปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัย ขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] .
ชลาลัย ทองพูล. (2552). การบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพของพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ มหาวิทยาลัย-มหาเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหา-บัณฑิต].
นิอัสมา สือนอ. (2563). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรในสถานบริการสุขภาพของรัฐ จังหวัดยะลา. วารสารทันตาภิบาล, 31(2), 17-26.
พรสวรรค์ ธนธรวงศ์. (2554). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานต่อการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้าม เนื้อกระดูกของทันตแพทย์กลุ่มหนึ่ง. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 16(2), 9-24.
วิลาสินี โอภาสถินกุล. (2558). ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่, พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 42(2), 49-61.
วีระพล วงษ์ประพันธ์. (2556). สถานการณ์โรคและสิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 1(1), 1-24.
สุนทร บุญบำเรอ. (2557). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 20(2), 82-92.
สุนิสา ชายเกลี้ยง และ รัชติญา นิติธรรมธาดา. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลัง ของ ทันตบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอน แก่น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(1), 105-111.
หน่วยค่าตอบแทนและข้อมูลทรัพยากรบุคคล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). ข้อมูลทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ 2564.
หน่วยบริหารความเสี่ยง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). สถิติการรายงานอุบัติการณ์ ประจำปีงบประมาณ 2564.
อัครชาติ ติณสูลานนท์. (2546). ความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรณีศึกษาในสายงานธุรกิจก่อสร้างและบำรุงรักษา มหาวิทยาลัย-เกษตรศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยา-ศาสตรมหาบัณฑิต].
Barghout, N., Habashneh, R., & AL-Omiri KM. (2011). Risk factors and prevalence of musculoskeletal disorders among Jordanian dentists. Jordan Med 45(2). 419-429.
Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychological. (3rd ed.). Harper and Row.
Tinubu, B. M., Mbada, C.E., Oyeyemi, A.L., & Fabunmi, A.A. (2010). Work-related musculoskeletal disorders among nurses in Ibadan, South-west Nigeria: Across-sectional survey. BioMed Central Musculoskeletal Disorders, 11(12). 1-8.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nded.). Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.