การให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: โอกาสด้านสุขภาพ และความเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • ปฐมา เทพชัยศรี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.12

คำสำคัญ:

เภสัชกรรมทางไกล, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การบริบาลทางเภสัชกรรม

บทคัดย่อ

         จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นผลให้มีการปรับเปลี่ยนของระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย ระบบการดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลหลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบการแพทย์ทางไกล ควบคู่ไปกับระบบการพบแพทย์ปกติ รวมถึงการใช้ระบบเภสัชกรรมทางไกลควบคู่กับการรับยาช่องทางปกติ เป็นผลให้เภสัชกรมีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นในการให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้ยาผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกล และจัดส่งยาให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้องและปลอดภัย ถึงแม้ว่าการใช้ระบบเภสัชกรรมทางไกลทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดในเรื่องความรับรู้ความเข้าใจของผู้ป่วยในการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง   

         การศึกษานี้เป็นการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลทั้งในและต่างประเทศ นำมาวิเคราะห์และสรุปเพื่อให้เห็นถึงโอกาสทางสุขภาพและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบเภสัชกรรมทางไกล พบว่าโอกาสทางสุขภาพ ได้แก่ ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น ลดโอกาสการติดเชื้อ/แพร่กระจายเชื้อ ผู้ป่วยมีความร่วมมือการใช้ยาดีขึ้นและการลดความคลาดเคลื่อนทางยา เป็นต้น แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึง เช่น ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาทางยา ความปลอดภัยในข้อมูลความลับของผู้ป่วย การสื่อสารที่ไม่สมบูรณ์ การจัดส่งยา การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และหลักฐานทางกฏหมายที่อาจจะไม่สมบูรณ์ เป็นต้น มีการเสนอแนะแนวทางและประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญที่ควรมีของระบบเภสัชกรรมทางไกลในอนาคตเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วย ลดการติดเชื้อหรือการแพร่กระจายของเชื้อโรค และการประหยัดทรัพยากร ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565, 2-3 พฤษภาคม). ผลงานชุมชนนักปฏิบัติ CoPs ระบบยาการพัฒนาระบบบริการสุขภาพใน

สถานการณ์ COVID-19 [การนำเสนองานวิจัย]. งานมหกรรมทุ่งพญาไท ครั้งที่ 9 ประจำปี 2565. โรงพยาบาลสงฆ์.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หมวดความรู้ทั่วไป. กรมควบคุมโรค.https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564, 12 ตุลาคม). รายงานผลการทบทวนผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กองโรคไม่ติดต่อ. http://thaincd.com/2016/media-detail.php?id=14113&gid=1-015-005

กฤษฎิ์ วัฒนธรรม, ธีรพล ทิพย์พยอม, และ อัลจนา เฟื่องจันทร์. (2564). รูปแบบกิจกรรมและผลลัพธ์การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล: บทความปริทัศน์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 17(3), 1-15.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์สุขภาพแนวหน้ารามาธิบดี. (2561). โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ป้องกันได้ด้วยตนเอง. ศูนย์สุขภาพแนวหน้ารามาธิบดี. https://www.rama.mahidol.ac.th/frontier/th/kmfever

จิราพร ลิ้มปานานนท์, วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร, รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์, วิไลลักษณ์ ตันตะโยธิน, กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย, นุศราพร เกษสมบูรณ์, มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ, สิริลักษณ์ บัวเจริญ, อาทิตย์ สอดแสงอรุณงาม, และ ศิริรัตน์ ตันปิชาติ. (2564, 30 กันยายน). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานบริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) ในประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/13614

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์, ณัฏฐนิชา สวยสม, ณิชากร เชี่ยวชาญธนกิจ, เจนสุดา ศุภรพันธ์, และ ตวงรัตน์ โพธะ. (2565) การวิเคราะห์ระบบยาในโรงพยาบาลเพื่อรองรับระบบเภสัชกรรมทางไกล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 9(1), 1–15.

แพทยสภา. (2563, 23 กรกฎาคม). แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิกออนไลน์. แพทยสภา. https://tmc.or.th/index.php/News/News-and-Activities/Telemedicine

วริษา ณ ลำปาง. (2521). ความก้าวหน้าของ Telepharmacy ที่มีผลกระทบต่อการให้บริการเภสัชกรรม แบบ new normal ในประเทศไทย [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต].

วิรุณ เวชศิริ. (2565, 3 พฤษภาคม). รายงานการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการกำกับดูแลระบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลและการขายยาออนไลน์ (Telepharmacy and Online Pharmacy). Pharm Connection. https://pharmconnection.net/2022/06/04/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84/

สภาเภสัชกรรม. (2565). ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม. สภาเภสัชกรรม. https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_search&menuid=67

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564, 21 มกราคม). สปสช. หนุนป้องกันโควิด-19 จัดบริการส่งยาทางไปรษณีย์ เผย 9 เดือน รพ. 217 แห่ง ร่วมส่งยาให้ผู้ป่วย 1.77 แสนครั้ง. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. https://www.nhso.go.th/news/2988

Alexander, E., Butler, C.D., Darr, A., Jenkins, M.T., Long, R.D., Shipman, C.J., & Stratton, T.P. (2017, May 1). ASHP statement on telepharmacy. American Journal of Health-System Pharmacy, 74(9), 236-241. https://doi.org/10.2146/ajhp170039

Cieri-Hutcherson, N. (2021, February 4). How pharmacists can find telehealth opportunities. GoodRx. https://www.goodrx.com/hcp/providers/telehealth-opportunities-for-pharmacists

Dasgupta, A., & Deb, S. (2008). Telemedicine: Telemedicine: A New Horizon in Public Health in India. Indian Journal of Community Medicine, 33(1), 3–8.

General Pharmaceutical Council. (2023). What does a pharmacist do?. General Pharmaceutical Council. https://www.pharmacyregulation.org/raising-concerns/raising-concerns-about-pharmacy-professional/what-expect-your-pharmacy/what-does-0

Hedima, E. W., & Okoro, R. N. (2021). Telepharmacy: An opportunity for community pharmacists during the COVID-19 pandemic in Sub Saharan Africa. Health Policy and Technology. 10, 23-24. https://doi.org/10.1016/j.hlpt.2020.10.013

Ibrahim, O.M., Ibrahim, R.M., Abdel-Qader, D.H., Al Meslamani, A.Z., & Al Mazrouei, N. (2021, June 7). Evaluation of Telepharmacy Services in Light of COVID-19. Telemedicine and e-Health. 27(6), 649-656. https://doi.org/10.1089/tmj.2020.0283

Kemery, D.C., & Goldschmidt, K. (2020) Can You See Me? Can You Hear Me? Best Practices for Videoconference-Enhanced Telemedicine Visits for Children. Journal of Pediatric Nursing, 55, 261-263. https://doi.org/10.1016/j.pedn.2020.08.015

Nye, A.M. (2017). A clinical pharmacist in telehealth team care for rural patients with diabetes. North Carolina Medical Journal, 78(3), 183-184. https://doi.org/10.18043/ncm.78.3.183

Poudel, A., & Nissen, L. M. (2016). Telepharmacy: a pharmacist's perspective on the clinical benefits and challenges. Integrated Pharmacy Research and Practice, 5, 75-82.

Unni, E.J., Patel, K., Beazer, I.R., & Hung, M. (2021, November 11). Telepharmacy during COVID-19: A Scoping Review. Pharmacy. 9(4), 183. https://doi.org/10.3390/pharmacy9040183

World Health Organization. (2020, March 11). WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020. WHO. https://www.who.int/director-general/speeches/detail/who-director-general-s-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19---11-march-2020

Zhang, L., Zakharyan, A., Stockl, K.M., Harada, A.S., Curtis, B.S., & Solow, B.K. (2011). Mail-order pharmacy use and medication adherence among Medicare Part D beneficiaries with diabetes. Journal of Medical Economics, 14(5),562-7. https://doi.org/10.3111/13696998.2011.598200

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ