ประสิทธิภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2023.34คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การดำเนินงาน, การประกันคุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อทราบถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ กำหนด กลุ่มประชากรแบบเจาะจง คือบุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุน คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งสิ้น 42 คน ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ทั้งสิ้น จำนวน 41 ชุด คิดเป็นร้อยละ 97.61 เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ตามวงจรคุณภาพ (เดมมิ่ง PDCA) 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน (Plan) ด้านการดำเนินงาน (Do) ด้านการติดตามประเมินผล (Check) และด้านการสรุปผล/พัฒนาปรับปรุง (Act) ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.58
สำหรับปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ผลการศึกษาพบว่า ควรมีการทบทวนแผนและปรับปรุงแผน การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งระดับหลักสูตร และระดับคณะ แบบมีส่วนร่วม ผู้ดำเนินงานทุกระดับควรได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้เกณฑ์มาตรฐาน AUN-QA ให้เป็นปัจจุบันเสมอ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานที่ชัดเจน ควรสร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กลางของคณะ มีระบบและกลไกที่ชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้ และนำประเด็นที่ควรปรับปรุงมาวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการวางแผนเพื่อประโยชน์ในการประกันคุณภาพในปีถัดไป
References
ขนิษฐา อุนะรัตน์. (2563). พัฒนาการการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน : กรณีศึกษาวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอม-เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37 (102), 240-250.
ชัยรัตน์ ต.เจริญ จินตนา จันทร์เจริญ เฌณิศา สุวรรณจินดา และ วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยเชียงราย. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 432-440.
ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle) PDCA (Demind Cyclr) Management Techniques. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพ การบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1. (3), 39-46.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
พัฒน์พล แก้วยม และ สิริพร เรืองสุรัตน์. (2556). สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง. งานวิจัย ทุนอุดหนุนจากเงินกองทุนส่งเสริมงานวิจัยสำนักคุณภาพการศึกษาศูนย์หันตรา เงินกองทุนส่งเสริมงานวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
เพ็ญสิริ วังหน้า. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์, 14(2), 281-293.
มหาวิทยาลัยพะเยา. (2563, 15 มิถุนายน). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2563. กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา, https://does.up.ac.th/public/storage/announce-detail/June2020/jL3zs5qTcTeQW4vMmkFq.pdf
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553. (2553, 16 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 44 ก หน้า 18.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, พฤษภาคม). ราชกิจจา-นุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก: หน้า 51.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561. กรุงเทพฯ.
ศิริชัย เปรมกาญจนา. (2555. 7 มิถุนายน). แผนผังก้างปลา (Cause and Effect Diagram). HR Leadership, https://perchai.wordpress.com/2012/06/07/25/
ศศิมา สุขสว่าง. (2560). การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วย 5W1H Analytical thinking with 5W1H. HCD Innovation CO.,Ltd., sasimasuk.com/17106171/การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย-5w1h-analytical-thinking-with-5w1h
สุริยา วงษา. (2556). การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของวิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี [การศึกษาอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.