การวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Web of Sciences ที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้แต่งร่วมในระหว่างปี ค.ศ. 2001-2021

ผู้แต่ง

  • ปฐมพร นิพัทธสัจก์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สมศรี หลีวิจิตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.6

คำสำคัญ:

บัณฑิตวิทยาลัย, บัณฑิตศึกษา, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, ผลงานการตีพิมพ์, ฐานข้อมูลเว็บออฟไซน์

บทคัดย่อ

            ผลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนของผลงานตีพิมพ์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในฐานข้อมูล Web of Sciences (WOS) ที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเป็นผู้แต่งร่วม ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาและผลงานตีพิมพ์ของมหาวิทยาลัย และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความโดดเด่นเรื่องผลงานตีพิมพ์ใน WOS การศึกษาสืบค้นผลงานของมหาวิทยาลัยในฐานข้อมูล WOS ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 ถึง 5 พฤศจิกายน 2021 จำนวน 10,888 ชิ้น หลังจากนั้นสืบค้นบทความด้วยชื่อของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกรายซึ่งสำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ.1998- 2021 และนักศึกษาที่กำลังศึกษาทุกคน บทความที่ถือว่ามีนักศึกษาเป็นผู้แต่งร่วมก็ต่อเมื่อเป็นบทความที่ตีพิมพ์หลังจากเข้าศึกษาไปแล้วอย่างน้อย 1 ปี และตีพิมพ์หลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้วไม่เกิน 1 ปี

            ผลการวิเคราะห์พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีส่วนช่วยผลิตผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล WOS ร้อยละ 38.8 ทั้งนี้นักศึกษามีส่วนร่วมในการผลิตผลงานร้อยละ 42.5 ถึง 55.6 สำหรับ 5 สาขาวิชาการแรกที่มหาวิทยาลัยมีผลงานมากที่สุด หลักสูตรปริญญาโทเพียงร้อยละ 14 สามารถผลิตผลงานได้ร้อยละ 53.0 ของผลงานทั้งหมดที่นักศึกษาปริญญาโทมีส่วนร่วม หลักสูตรปริญญาเอกเพียงร้อยละ 29 สามารถผลิตผลงานได้ร้อยละ 71.8 ของผลงานทั้งหมดที่นักศึกษาปริญญาเอกมีส่วนร่วม การที่นักศึกษาปริญญาเอกสำเร็จการศึกษาเพิ่มขึ้น 1 ราย มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของผลงานในฐานข้อมูล WOS ที่นักศึกษาเป็นผู้แต่งร่วมจำนวน 1.37 เรื่อง อย่างไรก็ตาม จำนวนนักศึกษาปริญญาโทที่สำเร็จการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนผลงานที่นักศึกษาเป็นผู้แต่งร่วม หลักสูตรระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยที่มีผลงานการตีพิมพ์มากที่สุด 5 อันดับแรกคือหลักสูตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร เภสัชศาสตร์ ระบาดวิทยา เคมี และจุลชีววิทยา

            จากการศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ บัณฑิตวิทยาลัยควรสืบค้นฐานข้อมูลประจำปี (active search) เพื่อให้ทราบจำนวนผลงานที่นักศึกษามีส่วนร่วมที่แท้จริง และควรปรับระบบการรายงานผลงานตีพิมพ์เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบ ตลอดจนสร้างแรงจูงใจในรายงาน ในภาวะที่มีความจำกัดของทรัพยากรและจำนวนผู้เรียนที่ลดลง มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนทรัพยากรแบบมุ่งเป้าแก่หลักสูตรที่มีความโดดเด่นในเรื่องการผลิตผลงานวิชาการในระดับนานาชาติดังที่พบในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้

References

กฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564. (2564 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 21 ก. หน้า 1-11.

ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร และ วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย. (2564). การวิเคราะห์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสหศาสตร์, 21(1), 166-180.

Canadian Institute for Knowledge Development. (2020 March 5). Scopus vs ISI WOS; Which one? Industrial Engineering and Operation Research Blog. ieconferences.cikd.ca/scopus-vs-isi-wos-which-one/

Bekhradnia, B. (2016). International university rankings: For Good or Ill?. Retrieved January 9, 2021 from www.hepi.ac.uk/2016/12/15/3734/.

Kwon, K.S. (2011). Are scientific capacities and industrial funding critical for Universities’ knowledge-transfer activities in a catch-up Country? The case of South Korea. Journal of Contemporary Eastern Asia. 10(1): 15–23.

Ryu, H. and Pae, J. (1997). An analysis of the determinants of research productivity among professors of science and engineering. Journal of Tecnology and Innovation. 5(1):4–66

Salter, A., D'Este, P., Pavitt, K., Scott, A., Martin, B., Geuna, A., Nightingale, P., and Patel, P. (2000 Mar 6). Talent, not technology: Publicly funded research and innovation in the UK. Ingenio [CSIC-UPV]. https://www2.ingenio.upv.es/en/talent-not-technology-publicly-funded-research-and-innovation-uk.

Song, H. (2001). A study on research productivity of college professors in Korea [Master’s thesis]. Yonsei University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย