การปฏิบัติงานหมุนเวียนของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยคริสเตียน : การแลกเปลี่ยนแนวความคิดจากชุมชนการปฏิบัติการบริหารงานบุคคล

ผู้แต่ง

  • อิทธิพร ขำประเสริฐ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.22

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานหมุนเวียน, ชุมชนการปฏิบัติ, มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

           บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้นิยาม และรูปแบบการปฏิบัติงานหมุนเวียน รวมทั้งค้นหาแนวปฏิบัติงานหมุนเวียนของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน โดยมีการศึกษาทบทวนแนวคิดการปฏิบัติงานหมุนเวียนจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากชุมชนการปฏิบัติด้านการบริหารงานบุคคล ของมหาวิทยาลัยคริสเตียน ซึ่งมีสมาชิกจากทุกคณะวิชาและฝ่ายสนับสนุนวิชาการที่ร่วมแบ่งปันแนวคิด และประสบการณ์

            จากการศึกษาพบว่า การปฏิบัติงานหมุนเวียนเป็นการยกระดับคุณภาพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ในหลายทักษะ โดยรูปแบบการปฏิบัติงานหมุนเวียนนั้นสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานที่ตนเองสังกัดและการปฏิบัติงานข้ามหน่วยงาน สำหรับแนวปฏิบัติที่บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการจะใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานหมุนเวียน ควรประกอบไปด้วย การเตรียมการปฏิบัติงานหมุนเวียน การถ่ายทอดความรู้ระหว่างการปฏิบัติงานหมุนเวียน วิธีการปฏิบัติงานหมุนเวียน และแนวทางการแก้ไขปัญหาระหว่างการปฏิบัติงานหมุนเวียน

References

กรกมล กิจคงชีพ และมณฑล สรไกรกิติกุล. (2559). มุมมองใหม่ต่อการหมุนเวียนงาน. Journal of HR intelligence, 11(1), 38-58.

กรมที่ดิน. (2564). การหมุนเวียนงาน. กรุงเทพฯ: กองฝึกอบรมกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย.

จุไรรัตน์ เพียวริบุตร และปริศนา ปทุมอนันต์. (2559). ผลการรับรู้ของการหมุนเวียนงานของบุคลากรสายวิชาชีพพยาบาลในมุมมองของ ผู้หมุนเวียน และผู้รับผลงาน กรณีศึกษา กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 1(3), 4-14.

ชยาพล สุนทรวิวัฒนา และมณฑล สรไกรกิติกูล. (2561). การพัฒนาความรู้ด้วยการ หมุนเวียนงานภายในโรงพยาบาลนันอาและโพลีคลินิก จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ.สสอท, 7(2), 26-38.

ปวริศร ทิมาสาร ภาวิน ชินะโชติ และภูริพฒน์ ชาญกิจ. (2562). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างการหมุนเวียนงานแบบเต็มรูปกับแบบแบ่งกลุ่มย่อยของนักรังสีการแพทย์ แผนกรังสีวินิจฉัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(2), 244-256.

มณีกัญญา นากามัทสึ. (2564). การศึกษาแนวคิดอิคิไกเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น กรณีศึกษาการโยกย้ายหมุนเวียนงาน. Journal of Business Administration and Languages, 9(2), 1-17.

รัตติยา ปริชญากร. (2556). ทัศนคติต่อการนำระบบการหมุนเวียนงานมาใช้กับเจ้าหน้าที่ในสายงานเดียวกัน กรณีศึกษาผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 9(1), 41-56.

สำนักบริหารงานบุคคล. (2565). คู่มือการปฏิบัติงานหมุนเวียนของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ