แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานภาควิชาทันตกรรมหัตถการ และวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ ชนะพันชัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กาญจนา เหล่ารอด คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.8

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, สำนักงานภาควิชา, นักศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิตชั้นปี 3-6 และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 485 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 444 คน (ร้อยละ 91.54) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ร้อยละ 89.6) และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ร้อยละ 10.6) เพศหญิง (ร้อยละ 64.9) ช่วงอายุ 22-23 ปี (ร้อยละ 34.9) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67– 1.00 และผ่านการทดลองใช้กับนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์จำนวน 30 คนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (T-test) ค่าเอฟ (F-test) ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

         ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานภาควิชา  ทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย 4.54) ด้านการบริการ (ค่าเฉลี่ย 4.53) ด้านคุณภาพการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย 4.52) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย 4.51) ผลการเปรียบเทียบระดับแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ พบว่า ผู้รับบริการ เพศ อายุ มีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ไม่แตกต่างกัน        ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p>0.05)  

References

กัลยา สร้อยสิงห์. (2559). ความคาดหวังและการรับรู้ต่อความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการโรงแรมในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานีปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2559. วิทยาลัยดุสิตธานี.

จุฑาทิพย์ โพธิลังกา. (2557). ความคาดหวัง ความพึง-พอใจและคุณภาพการให้บริการ: กรณีศึกษาสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ณัฐนันท์ พฤฒิจิระวงศ์. (2557). การรับรู้คุณภาพบริการ และความพึงพอใจในการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการกรณีศึกษานักท่องเที่ยวในสวนสัตว์เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน).

ตรีเพชร์ อ่ำเมือง. (2555). กระบวนการให้บริการของทีมเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2561, จาก http://www.op.mahidol.ac.th/orga/pdf.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (ฉบับปรับปรุงใหม่) พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพมหานคร. บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

บุญฤทธิ์ หวังดี. (2560). ความคาดหวังคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีในการใช้บริการ QR Code ในการเลือกซื้อสินค้าที่ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2561). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ปัณณวัชร์ พัชราวลัย.(2559). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และการรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารเฉพาะกิจที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อวันที่ วันที่ 31 มีนาคม 2561,จากhttps://www.gotoknow.org/posts/492001.

เพ็ญนภา จรัสพันธ์. (2557). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้าจีเนท โมบายเซอร์วิส เซ็นเตอร์จันทบุรี.หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาณุเดช เพียรความสุข และคณะ. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). เคล็ดลับการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: พีซี พริ้นทเทค์.

ศิริชัย พงษ์วิชัย.(2557). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 24 กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรทัย เลิศวรรณวิทย์ และณักษ์ กุลิสร์. (2554). คุณภาพการให้บริการ และความภักดีด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพทางการแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย