รายงานเบื้องต้นความชุกทางซีรั่มต่อโรคบรูเซลโลซิสของแพะในจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2557 – 2561
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2022.3คำสำคัญ:
โรคบรูเซลโลซิส, ความชุก, แพะ, กาญจนบุรีบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการหาความชุกทางซีรั่มต่อโรคบรูเซลโลซิสของแพะ ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2561 จำนวน 1,437 ตัวอย่าง จากฝูงแพะจำนวนทั้งสิ้น 90 ฝูง ในพื้นที่ 6 อำเภอของจังหวัดกาญจนบุรี โดยออกแบบการศึกษาชนิด Retrospective descriptive study
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยวิธี Rose Bengal Test พบความชุกทางซีรั่มต่อโรคบรูเซลโลซิสของแพะรายตัวเท่ากับร้อยละ 7.44 พบความชุกทางซีรั่มต่อโรคบรูเซลโลซิสของแพะรายฝูงเท่ากับร้อยละ 40.00 พบความชุกทางซีรั่มต่อโรคบรูเซลโลซิสของแพะในฤดูร้อนมากที่สุดเท่ากับร้อยละ 9.45 พบความชุกทางซีรั่มต่อโรคบรูเซลโลซิสของแพะที่แสดงอาการทางคลินิกเท่ากับร้อยละ 53.33
ข้อมูลความชุกทางซีรั่มและการกระจายตัวของโรคบรูเซลโลซิสของแพะจากการศึกษานี้ ทำให้ทราบถึงสถานการณ์เบื้องต้นของโรคบรูเซลโลซิสของแพะในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีและสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคตต่อไป
References
กิติภัทท์ สุจิต, ตระการศักดิ์ แพไธสง, วรรณี สันตมนัส, คเชนทร์ วงศ์สถาพรชัย, และ การุณ ธนะชัย. (2551). การสำรวจประชากรแพะและความชุกของโรคแท้งติดต่อในแพะ จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ.2551. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 40(49), 821–825.
ช้องมาศ อันตรเสน, ตระการศักดิ์ แพไธสง, และ พิไลพร เจติยวรรณ. (2555). ความชุกทางซีรั่มวิทยาและปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ Brucella melitensis และ caprine arthritis-encephalitis virus ในแพะภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข., 23(1), 61–86.
ดุลยวัต กลัดเข็มเพชร, นิติศาสตร์ สมตัว, รักธรรม เมฆไตรรัตน์, วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา, และอนุชา สุธนวงศ์. (2560). การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อโรคแท้งติดต่อในแพะบริเวณพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่สัตวแพทยสาร, 15(2), 99–107.
ทวี พงษ์สุพรรณ์ และ พรศักดิ์ ประสมทอง. (2553). ความชุกทางซีรั่มของการติดเชื้อบรูเซลโลซิสในแพะเนื้อ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ.2553. Field Epidermiology for Veterinary report 2009- 2013, 1(1), 7-8.
สุวิมล ประทุมมณี, พิพัฒน์ อรุณวิภาส, และ สถาพร จิตตปาลพงศ์. (2557). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ Brucella spp. และ Neospora caninum ในแพะนมในจังหวัดนครปฐม. ในเรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52: สาขาสัตว์, สาขาสัตวแพทยศาสตร์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52, (หน้า 160-167). กรุงเทพมหานาคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิไลภรณ์ วงศ์พฤกษาสูง, ศณิษา สันตยากร, วาที สิทธิ, ธีรศักดิ์ ชักนำ, ณัฐกิจ พิพัฒน์จาตุรนต์, อภิชาติ กันทุ, ภาวินี ด้วงเงิน. (2555). การสอบสวนผู้ป่วยโรคบรูเซลโลซิสในอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ธันวาคม 2552. Outbreak, Surveillance and Investigation Reports, 5(1), 14–21.
อณัญญา สีนอเนตร และ วันประเสริฐ ทุมพะลา. (2556). ความชุกทางซีรัมและปัจจัยเสี่ยงของโรค Brucellosis ในแพะ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ฉบับพิเศษ, 507 - 518.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.