ประสิทธิผลของการกระตุ้นพัฒนาการเด็กสมองพิการต่อระดับความสามารถพัฒนาการ ของเด็กสมองพิการโดยใช้แบบประเมิน DSPM และ DAIM ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ยินดีมาก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.14

คำสำคัญ:

เด็กสมองพิการ, การกระตุ้นพัฒนาการ, Developmental Surveillance and Promotion Manual, Developmental Assessment For Intervention Manual

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของเด็กสมองพิการโดยใช้แบบประเมิน Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) และ Developmental Assessment For Intervention Manual (DAIM) ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเด็กสมองพิการ 24 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้ป่วยเด็กสมองพิการเพศชายและหญิง อายุแรกเกิด ถึง 15 ขวบ ที่มารับการกระตุ้นพัฒนาการ ณ คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยการสุ่มเฉพาะเจาะจงคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกพัฒนาการของเด็กสมองพิการ DSPM และ DAIM เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และทดลองกลุ่มตัวอย่างระหว่างเดือน สิงหาคม 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน ด้วย Paired-t-test

                ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเด็กสมองพิการจำนวน 60 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 34 ราย (ร้อยละ 56.66) และเพศหญิง 26 ราย (ร้อยละ 43.33), อายุเฉลี่ย (X±SD=49.18±22.99) เดือน,  BMI เฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ±SD=13.90±2.25) Kg/m2., อัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}±SD=84.0±8.52) ครั้ง/นาที, อัตราการหายใจเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}±SD=25.13±2.36) ครั้ง/นาที มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด 46 ราย (ร้อยละ 76.66) และมีการคลอดปกติ 14 ราย (ร้อยละ 23.33) การเปรียบเทียบระดับพัฒนาการของเด็กพิการหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ โดยใช้แบบประเมิน DSPM และ DAIM พบว่า เด็กสมองพิการที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการมีค่าการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของการเคลื่อนไหวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

                สรุปผลการวิจัย พบว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดในระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการเด็กสมองพิการเพิ่มขึ้น 1 ระดับ นอกจากนั้นการนำแบบประเมินพัฒนาการด้านการเคลื่อนของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำใช้ในการประเมินผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกรวดเร็วและสามารถเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

เขมภัค เจริญสุขศิริ และ สิริพิชญ์ เจริญสุขศิริ. (2559). การจำแนกประเภทสมองพิการ: มุมมองของ นักกายภาพบำบัด. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 3(3) ,1-9.

ณัฐธิดา ปัญญาธนคุณ, แสงทอง ธีระทองคำ, และ สมนึก สกุลหงส์โสภณ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลเด็กสมองพิการของญาติผู้ดูแลในกรุงเทพมหานคร. วารสารการปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ไทย, 6(1), 5-18.

ปิยรัตน์ เขียวฉ่ำ, ศิวพร วงศ์พิพัฒน์, ภาริส วงศ์แพทย์, และกาญจนา ทิพย์สุข (2559). ผลการรักษาเด็กสมองพิการด้วยวิธีวอยตาต่อการเดิน. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 26(3), 93-97.

ปัทมาวดี พาราศิลป์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, จิตลดา ประเสริฐนู, และพรรณี ปึงสุวรรณ. (2554). ประสิทธิผลของการผสมผสานการฝึกออกกำลังกายแบบความทนทาน และแข็งแรงต่อ การทำหน้าที่เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัด ใหญ่และขึ้น-ลง บันไดในเด็กสมองพิการ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 23(3), 304-315.

พรชัย งามธนวัฒน์ และ ศรีนวล ชวศิริ. (2559). การศึกษาระบาดวิทยาในผู้ป่วยเด็ก ที่มารับบริการรักษาที่ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 26(1), 31-38.

พวงรัตน์ มณีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งทึ่7).กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สมัย ศิริทองถาวร (2561).การพัฒนาคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. วารสาร สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(1), 3-12.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Small-Sample Techniques (1960). The NEA Research Bulletin, Vol. 38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย