การประเมินสภาพความปลอดภัยและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้วย ESPReL Checklist และ BSL Checklist

ผู้แต่ง

  • วาทิศ วารายานนท์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.1

คำสำคัญ:

ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ, ESPReL Checklist, BSL Checklist, แนวปฏิบัติที่ดี

บทคัดย่อ

           ห้องปฏิบัติการปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงานทางการแพทย์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยการปฏิบัติงานภายในห้องปฏิบัติการจะมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รอบตัวที่อาจเกิดความเป็นอันตรายขึ้นได้ หากผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง หรือสภาพแวดล้อมภายในห้องปฏิบัติการมีความไม่ปลอดภัย อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน หรือห้องปฏิบัติการ หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก และส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ การแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการต้องอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อร่วมสร้างความตระหนักถึงการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย และร่วมกันสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยให้เกิดขึ้น สำหรับบทความนี้เป็นการนำเสนอความหมายและประเภทของอุบัติการณ์ การค้นหาแนวทางการลดการเกิดอุบัติการณ์และความไม่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการด้วยมาตรฐาน เครื่องมือ หรือระบบมาตรฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้ระบบ ESPReL Checklist และ BSL Checklist เพื่อจัดการด้านความปลอดภัย

           นอกจากนี้ มีตัวอย่างกรณีศึกษาวิจัยการประเมินสภาพความปลอดภัยและยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้วยเกณฑ์การประเมินจาก ESPReL Checklist และ BSL Checklist เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการให้สูงขึ้น สร้างแนวปฏิบัติที่ดีของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งพัฒนาและสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้านความปลอดภัย เพื่อให้ห้องปฏิบัติการเป็นสถานที่ปฏิบัติการที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน

References

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556. (2556, 29 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนที่ 113 ก. หน้า 9–19.

กาญจนา สุรีย์พิศาล. (2564). การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมี L–210 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. วารสาร Mahidol R2R e–Journal, 8(1), 49–62. http://doi.org/10.14456/jmu.2021.5

คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563, 5 สิงหาคม). แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จากhttps://www.shecu.chula.ac.th/data/boards/120/แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพฯ.pdf

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2564, 18 สิงหาคม). โครงการ/กิจกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [การนำเสนอโปสเตอร์]. Chula Safety 2021, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

จรรยา ชื่นอารมณ์. (2565). การพัฒนาสารรบบเคมีในห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสาร Mahidol R2R e–Journal, 9(1), 29–42. https://doi.org/10.14456/jmu.2022.4

จินดาวัลย์ เพ็ชรสูงเนิน, สาริณี ลิพันธ์, สุราณี อโณทัยรุ่งรัตน์, และ โกวิทย์ ปิยะมังคลา. (2559). การชี้บ่งอันตรายห้องปฏิบัติการเคมี: กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการเคมีอุตสาหกรรม. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(1), 21–34.

จิตมณี พ่วงปิ่น, วราภรณ์ บุญโต, และ โกวิทย์ ปิยะมังคลา. (2563). การประเมินความเสี่ยงของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน: กรณีศึกษาอาคารเก็บสารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มจพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(1), 111–119.

ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. (2558). การพัฒนาตัวอย่างห้อง-ปฏิบัติการวิจัยปลอดภัยในประเทศไทย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 37(64), 19–36.

ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. (2558). ห้องปฏิบัติการปลอดภัยต้นแบบ-ตั้งต้นได้อย่างไร (พิมพ์ครั้งที่ 5). เอสทีซี มีเดีย แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง.

ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. (2560). การสำรวจประเมินองค์ประกอบด้านลักษณะทางกายภาพของอาคารที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย: อาคารมหามกุฏ (รหัสอาคาร: SCI25) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 39(66), 19–36.

ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. (2561). ห้องปฏิบัติการปลอดภัย องค์ประกอบทางกายภาพ เครื่องมือและอุปกรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล, ขวัญนภัส สรโชติ, และ จุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์. (2562). การจัดทำเกณฑ์การพิจารณาศักยภาพห้องปฏิบัติการวิจัยปลอดภัยในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาปัตยกรรม-ศาสตร์, 41(68), 35–54.

ชนกานต์ สกุลแถว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการ เคมีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].

ชลภัทร สุขเกษม และ สุชาดา โทผล. (2553). มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับนักวิจัย(ทางชีวการแพทย์). วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(1), 105–117.

ชุติโชติ ปัทมดิลก, สุพจนา สิทธิกูล, และ วรกร วิวัชรากรกุล. (2560). การจัดการสารเคมีของภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการ ปขมท., 6(1), 15–20.

นันทวรรณ จินากุล, ดวงใจ จันทร์ต้น, และ รักษิณีย์ คำ-มานิตย์. (2560). การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ. บูรพา เวชสาร, 4(2), 20–34.

นันทวรรณ จินากุล. (2561). การประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา. บูรพาเวชสาร, 5(1), 36–51.

ปรดา เพชรสุก. (2563). การสำรวจสถานภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยอณูชีววิทยาและห้องปฏิบัติ-การวิจัยจุลชีววิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550. (2551, 22 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 15 ง. หน้า 5.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ลักษณะของสถานที่ผลิตหรือมีไว้ในครอบครอง และการดำเนินการเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2563. (2563, 19 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 117 ง. หน้า 44–52.

ปริศนา พันธ์งาม. (2563). การจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL กรณีศึกษา ห้องปฏิบัติการไมโครเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].

ปิติพร มโนคุ้น และ ภัทรมาศ เทียมเงิน. (2562). การจัดการสารเคมีและของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช-มงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 19(2), 95–104.

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558. (2558, 27 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 82 ก. หน้า 32–38.

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพ-แวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. (2554, 17 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนที่ 4 ก. หน้า 5–25.

พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. (2558). ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(4), 667–681.

พิจิตรา ปฏิพัตร และ ปวีณา มีประดิษฐ์. (2560). การศึกษาการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา : ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 26(1), 38–43.

พิจิตรา ปฏิพัตร และ ปวีณา มีประดิษฐ์. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับสถาบันอุดมศึกษา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 13(2), 120–139.

ลัดดาวัลย์ โยเหลา. (2562). การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณภา บุตรโคตร. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของเสีย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.วารสารวิชาการ ปขมท., 9(2), 91–101.

วราพรรณ ด่านอุตรา และ สุชาตา ชินะจิตร. (2559). ห้องปฏิบัติการปลอดภัย: จากนโยบายสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน การจัดการสารและของเสียอันตราย.

วราภรณ์ บุญโต, จิตมณี พ่วงปิ่น, และ โกวิทย์ ปิยะมังคลา. (2562). การใช้มาตรฐาน มอก. 2677–2558 เพื่อยกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน: กรณีศึกษา อาคารเก็บสารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มจพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 702–711.

วาทิศ วารายานนท์ และ ณัฐชยา แหวนวงศ์. (2563, 9 ตุลาคม). ผลการดำเนินงานยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [การนำเสนอโปสเตอร์]. งานประชุมประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

วิษิกตา เพ็ชรปูน. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินมาตรฐานห้องปฏิบัติการภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร. กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). ระบบบริหารการจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและ สิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิษิกตา เพ็ชรปูน. (2561). คู่มือความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีสำหรับนิสิตที่ทำวิจัยและนักวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิษิกตา เพ็ชรปูน. (2562, 1 ตุลาคม). คู่มือการสำรวจสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการโดยใช้ ESPReL Checklist. ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.shecu.chula.ac.th/data/boards/388/ESPReL%20manual–14102562.pdf

วิษิกตา เพ็ชรปูน. (2564, 12 มีนาคม). การประชุมเครือข่ายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ครั้งที่ 1/2564. ศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.shecu.chula.ac.th/data/boards/409/ประชุมเครือข่าย%20คปอ%202564-1-ขึ้นเว็บ.pdf

วิษิกตา เพ็ชรปูน. (2564, 1 กรกฎาคม). (ร่าง) คู่มือการตรวจติดตาม ระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://www.shecu.chula.ac.th/data/boards/638/คู่มือการตรวจติดตามฉบับปรับปรุง%ก.ค.%2563.pdf

วิษิกตา เพ็ชรปูน. (2564). คู่มือการใช้งาน ระบบฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ (CU Lab) และคลังกลางเก็บสารเคมี (CU Chem–Store) (พิมพ์ครั้งที่ 1). ศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย รุ่งเรือง และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในธุรกิจโรงแรม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย-ราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 166–182.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2555). แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สุรศักดิ์ บุญรุ่ง. (2561). การบริหารจัดการเพื่อลดของเสียกลุ่มที่ไม่ทราบชนิดในห้องปฏิบัติการ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วารสารวิชาการ ปขมท., 7(3), 99–104.

เสาวรัตน์ จันทะโร. (2561). การบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการปลอดภัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Wiriyakraikul, C., Sorachoti, K., Suppradid, J., Amatyakul, W., & Dhanakoses, K. (2022). Characteristics of Laboratory Safety Problems in Academic Laboratory Facilities in a Thai University, ACS Chemical Health & Safety, 29(2), 214–222. https://doi.org/10.1021/acs.chas.1c00077

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-12

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ